คำชนิดใดบ้างที่ต้องประวิสรรชนีย์


685 ผู้ชม


 คำชนิดใดบ้างที่ต้องประวิสรรชนีย์

        บทนำ
        กระทรวง ไอซีที ร่วมประชุมคณะทำงาน ร่วมต้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ณ   เมือง เสียมราฐ 
กัมพูชาเน้นสาระตาม  AIM 2015

        https://www.thairath.co.th/content/tech/172576  ข่าววันที่ 19 พค2554

        ประเด็นข่าว 
กระทรวง ไอซีที ร่วมประชุมคณะทำงาน ร่วมต้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ 
ณ   เมือง เสียมราฐ กัมพูชาเน้นสาระตาม  AIM 2015

        เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
        มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษา การเปลี่ยนแปลงของภาษา
และพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

        จากประเด็นข่าวพบคำที่ประ วิสรรชนีย์ อยู่  4 คำคือคำว่า กระทรวง ประชุม คณะ  สาระ สามารถนำมาเป็น
เนื้อหาสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องคำที่ประวิสรรชนีย์
 เนื่องจากปัญหาในการอ่านและเขียนคำที่ประวิสรรชนีย์ยังพบอยู่มากทั้งในการเรียนการสอนเเละการสื่อสารทั่วไป  เพราะคนส่วนมากยังไม่เข้าใจในหลักภาษาอย่างแท้จริงจึงมีการอ่านและเขียนไม่ถูกต้องคำที่ประประวิสรรชนีย์
มีหลักในการสังเกต  ดังนี้
        1.1  คำพยางค์เดียวที่ออกเสียง อะ  จะประวิสรรชนีย์เสมอ  เช่น  กะ  จะ  ปะ  ละ  นะ        
        1.2  คำไทยแท้ที่ออกเสียง อะ  ทั้งพยางค์ที่ลงน้ำหนักและไม่ลงน้ำหนัก  เมื่อเขียนต้องประวิสรรชนีย์  เช่น
                              มะม่วง  มะดัน  มะนาว  มะขาม  มะยม
                              ละมั่ง  ละอง  ตะกวด  ตะขาบ  กระจง
                              ตะกร้า  ตะโพน  กระดาน  กะดัง  ชะลอม
        1.3  คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต  คำพยางค์ท้ายของคำที่ออกเสียง  อะ  จะประวิสรรชนีย์  เช่น  ศิลปะ
               ศีรษะ  ลักษณะ  สาธารณะ  สุขะ
        1.4  คำที่มาจากภาษาสันสกฤต  ที่พยางค์หน้าออกเสียง  กระ  ตระ  ประ  จะต้องประวิสรรชนีย์ 
               แม้ว่าพยางค์ที่ตามมาจะออกเสียงอย่างอักษรนำ  เช่น
                              กระ          กระษัย  กระษิร  กระษาปณ์
                              ตระ          ตระกูล  ตระการ
                              ประ          ประวัติ  ประโยชน์  ประมาท  ประกาศ
          1.5  คำที่ไทยรับมาจากภาษาชวาและอ่านออกเสียง  อะ  ที่พยางค์หน้า  เช่น
                 มะเดหวี  ประไหมสุหรี  มะงุมมะงาหรา
                    1.6  คำซ้ำประเภทคำอัพภาสที่ใช้ในบทร้อยกรอง  เช่น
                              จะเจื้อย - เจื้อยเจื้อย
                              วะวาว - วาววาว
                              คะคล้าย – คล้ายคล้าย
         ประเด็นคำถาม   
1.    คำชนิดใดบ้างที่ต้องประวิสรรชนีย์   
2.   ยกตัวอย่างคำที่มาจากภาษาอื่น ที่ประวิสรรชนีย์

         กิจกรรมเสนอแนะ
      แบ่งกลุ่มนักเรียน ช่วยกันหาคำที่ประวิสรรชนีย์ มานำเสนอและร่วมกันอภิปราย
ถึงหลักการสังเกตคำแต่ละคำว่ามีที่มาอย่างไร

         การบูรณาการ
บูรณาการกับสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาเรื่องการทำงานเป็นกลุ่ม

        แหล่งอ้งอิง  :
         https://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php
         https://www.thairath.co.th/content/tech/172576?mul_content_id=2899
         https://www.kroobannok.com/blog/35092
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3974

อัพเดทล่าสุด