ไม่น่ามีเรื่องก็กลายเป็นเรื่อง วาทกรรม


616 ผู้ชม


วาทกรรม (discourse) คือรูปแบบของความคิด หรือกรอบความคิด เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นสถาบันและมีการสืบทอด ซึ่งแสดงออกผ่านทางการพูดและเขียนอย่างจริงจัง (จากประเด็นข่าว รัฐบาลปู 1)   


 1. บทนำ        วาทกรรม   "ดีแต่พูด"ระวัง อาจตามหลอน พท.
ยังไม่ทันจะได้แถลงนโยบาย"รัฐบาลปู1"ที่กำหนดไว้คร่าวๆ  เป็นวันที่ 24 สิงหา.  ที่จะถึงนี้
กลับปรากฏข่าวรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 โดยกระทรวงการต่างประเทศ เตรียมพิจารณาคืนพาสปอร์ต
เล่มแดง ให้กับ "พ.ต.ท. ทักษิน  ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี  ที่อยู่แดนไกล รวมทั้งเตรียมแต่งตั้ง
นายห้างดูไบห่อ  ให้มาเป็นผู้แทนทางการค้า.................
         แหล่งที่มา : ไทยรัฐออนไลน์   วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2554
2.  ประเด็นข่าว   จากการอ่านข่าว  พบคำว่า   "วาทกรรม"   แต่เป็นวาทกรรมทางข่าวการเมือง
      ถ้าแปล “วาทกรรม” ตรง ๆ ก็คงจะแปลว่า “กระทำการพูด”    “วาทกรรม” เมื่อเรานำมา
ใช้ทางการเมือง โดยเฉพาะ การเมืองที่ไม่คงเส้นคงวาอย่างการเมืองไทย  ดังนั้นจึงกลายเป็นคำ
ที่ส่อไปใน ทางไม่ดีนักหรือไม่ก็ไม่น่านับถือไปเลย โดยคำพูดจะมี เจตนาแฝงอยู่ เช่น การใส่ร้ายป้ายสี 
หรือคำพูดนั้น ทำให้คนพูดดูดีอะไรทำนองนั้นแหละ........การพูดในทางการเมือง เป็นการพูดที่ไม่แน่นอนนัก เนื่องจาก
 อาจ เปลี่ยนแปลง หรือ เลื่อนไหล ไปตามสถานการณ์ แต่ก็ยังถือได้ว่าไม่ใช่ การพูดโกหกหลอกลวง
3.   เนื้อหา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
       มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษา  การเปลี่ยนแปลง
       ของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญา  ทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
4.   เนื้อเรื่อง 
      วาทกรรม คือรูปแบบของความคิด หรือกรอบความคิด เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 
ที่มีลักษณะเป็นสถาบันและมีการสืบทอด "ซึ่งแสดงออกผ่านทางการพูดและเขียนอย่างจริงจัง
ประโยคหรือนิยามที่ใช้บ่อยๆ" เพื่อที่จะคงไว้ซึ่งลักษณะของวาทกรรม และการปรับเปลี่ยน
ลักษณะของวาทกรรมนั้น ๆวาทกรรมแต่ละเรื่องมีระบบความคิด และเหตุผลของตน 
ในการอธิบายหรือมอง "ความจริง" ซึ่งวาทกรรมเรื่องเดียวกัน แต่ต่างระบบความคิดและ
เหตุผลก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ในการให้อรรถาธิบายต่อเรื่องนั้น ๆ ดังนั้นใน
เรื่องเดียวกันจึงมีวาทกรรมหลายชุดที่เกี่ยวข้องและวาทกรรมแต่ละชุดก็มีความขัดแย้ง
 หรือปฏิเสธ "ความจริง" ของวาทกรรมอีกชุดหนึ่งได้นอกจากนี้แล้วการเกิดขึ้นของ
วาทกรรมแต่ละชุดในแต่ละเรื่องย่อมมีจุดประสงค์ ตัวอย่างเช่นวาทกรรมของกลุ่มที่ต่อต้านเกย์
 ก็มีจุดประสงค์เพื่อที่จะต่อต้านชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ และพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่า
พฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นพฤติกรรมที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของสังคม และยังเป็นการละเมิด
บรรทัดฐานของสังคม ตลอดจนถือว่าพฤติกรรมเช่นนี้เป็นสิ่งผิดปกติและสมควรที่จะได้รับ
การแก้ไขให้ถูกต้อง เป็นต้น
      วาทกรรมทางการเมืองไม่ใช่เรื่องผิด แต่การจะสร้างวาทกรรมใด ๆ ควรคำนึงถึงประโยชน์
และอุดมการณ์อันแท้จริงของคนส่วนใหญ่ โดยนายแพทย์ ประเวศ วสี เคยกล่าวถึงวาทกรรม
ทางการเมืองไว้ว่า     “การพูดไม่เป็น ทำให้ขัดข้อง ขัดแย้ง ที่ไม่ควรมีเรื่องก็กลายเป็นมีเรื่อง
ที่มีเรื่องก็กลายเป็นรุนแรง สิ่งที่ควรแก้ปัญหาได้ก็แก้ไม่ได้ และสามารถก่อให้เกิดความ
รุนแรงขึ้นมาได้ การพูดอย่างถูกต้องถือเป็นเรื่องสำคัญมาก วาทกรรมทางการเมืองก็ควร
ปรับเปลี่ยนจากมิจฉาวาจาไปสู่สัมมาวาจาให้มากขึ้น”
5.    ประเด็นคำถาม 
       แบ่งกลุ่มนักเรียนและปฏิบัติกิจกรรมดังนี้      
        กลุ่มที่ 1   ให้นักเรียนระดมความคิดและเขียนอธิบายความหมายของคำว่า  วาทกรรม
       กลุ่มที่ 2    ให้นักเรียนนำคำว่าวาทกรรม   มาวิเคราะห์ว่านอกจากใช้คำว่าวาทกรรม
                           กับทางการเมืองแล้ว  ยังใช้คำ  วาทกรรมกับเรื่องใดได้อีกบ้าง  เขียนอธิบายเหตุผล
                           พอเข้าใจ
                         ( การจัดกิจกรรมอยู่ในดุลพินิจของครูผู้สอนแล้วแต่จะเห็นสมควรค่ะ)
6.     กิจกรรมเสนอแนะ
         6.1   นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปเป็นการสร้างองค์ความรู้ความหมายของคำว่า  วาทกรรม
          6.2  นำผลงานทุกชิ้นตามขั้นตอนของกิจกรรมติดแสดงป้ายนิเทศน์เพื่อเป็นการเผยแพร่
                 ความรู้แก่นักเรียนชั้นอื่นๆ
7.      การบูรณาการ
         บูรณาการกับสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  เรื่องการอธิบายแสดงความคิดเห็น 
         และฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม   การแบ่งปันความรู้  การฝึกระดมความคิด และสร้างองค์ความรู้
          ฝึกการยอมรับการเปรียบเทียบทางเหตุ ผลและการอ้างอิง

8.        แหล่งอ้างอิง : : ไทยรัฐออนไลน์   วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2554 
                        :https://www.pchannel.org/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=424
                        :https://th.wikipedia.org/wiki/
                        :https://www.rsunews.net/Did%20you%20know/Discourses/DYNpage.htm
           ภาพไอคอนจาก :   https://www.kroobannok.com/blog/35092
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4291

อัพเดทล่าสุด