ความรู้กินได้ ตอนอ่านในใจ


1,027 ผู้ชม


การอ่านที่มีประสิทธิภาพ ผู้อ่านจะใช้ทักษะอ่าน คิด ตัดสิน ประเมินค่า ไปพร้อมๆ กัน   


ความรู้กินได้  ชาติไทยรุ่งเรือง
                        ความรู้กินได้ ตอนอ่านในใจ
                                                                    ภาพจาก : wearehappy.in.th

ประเด็นข่าว   ศูนย์ความรู้กินได้
                        ความรู้กินได้ ตอนอ่านในใจ
                                           ภาพจาก : libraryhub.in.th

    ได้พบ Blog ของ คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์  ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุด
และบรรณารักษ์  พบข้อความที่กระตุกหัวใจ  ขออนุญาตนำมาเล่าให้ฟัง ดังนี้
    โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ของสมุดประชาชน จังหวัดอุบลราชธานี้ ให้ฟังว่า 
สถานการณ์เศรษฐกิจในปี ๒๕๕๒ หลายๆ คงได้เรียกสถานการณ์นี้ว่า
 “เศรษฐกิจเผาจริง” จำนวนคนตกงานกว่า ๒ ล้านคน นักศึกษาจบใหม่ 
กว่า ๗ แสนคนไม่มีงานทำ  ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าว  คนก็จะกลับ
สู่ต่างจังหวัดบ้านเกิด
                           ความรู้กินได้ ตอนอ่านในใจ
                                              ภาพจาก : boonlert.in.th

    อ่านมาถึงตรงนี้อย่าพึ่งงง นะคะว่า มันเกี่ยวอะไรกับ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ 
คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์  เล่าว่าบทบาทของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ คือ
กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ โดยการเสนอ และสนับสนุนองค์ความรู้
ที่คัดสรรตามความจำเป็นและความต้องการของกิจกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่บนแนวความคิด
 “เศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ (Creative economy)”  แล้วลองคิดต่อซิคะว่า
เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีคุณภาพ ก็จะทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ (คนมีงานทำ)
พอคนมีงานทำก็จะเกิดการจับจ่ายเพื่อการบริโภค และทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ไม่หดตัว

      สโลแกนของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ที่กระตุกใจก็คือ
                           “เพราะความรู้ ใช้ทำมาหากินได้”

                             ขอบคุณ : https://www.libraryhub.in.th

                               ความรู้กินได้ ตอนอ่านในใจ 
                                               ภาพจาก : vcharkarn.com
      การอ่านในใจเป็นทักษะสำคัญในการเก็บสะสมความรู้  สมองของคนเรามีความซับซ้อน
และอัตโนมัติยิ่งกว่าเทคโนโลยีใดๆ  เพราะถ้าเราฝึกฝนในการอ่านในใจ คือการฝึกให้เกิด
ทักษะอ่าน คิด ตัดสิน ประเมินค่า ไปพร้อมๆ กัน 
      เมื่ออ่านจนเป็นนิสัยแล้ว จึงเกิดผลจากการอ่าน สามารถคิด ตัดสิน และประเมินค่าได้
อย่างรวดเร็ว  อัตโนมัติ สามารถเรียกข้อมูลมาใช้ในชีวิตประจำวัน ประกอบอาชีพ แก้ปัญหา
ตอบคำถาม  ฯลฯ เสริมทักษะความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์และมีคุณภาพ 
                             ความรู้กินได้ ตอนอ่านในใจ
                                             ภาพจาก : learn2gether.com

      ในการอ่านแต่ละครั้งจะถูกเก็บไว้ในสมอง และสามารถเรียกใช้ได้รวดเร็ว  
      การอ่านในใจ  ภาพคือการนิ่ง ตาจับจ้องอยู่กับตัวหนังสือ  แต่มีกระบวนการภายใจ
ภาพนั้นมากมายซึ่งเป็นกลไกทางสมอง  เด็กทุกคนต้องฝึกอ่านในใจ ให้เป็นนิสัย  เพราะ
นี่คือทักษะชีวิตที่สำคัญ  นำไปสู่การสร้างคุณภาพของตนเอง ของสังคม และประเทศ
ชาติ

ประเด็นการเรียนรู้   การอ่านในใจ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ม. ๔ (ม.๑-๖)


การอ่านในใจ  เก็บข้อมูลไว้ในสมอง
การอ่านใจในถือว่าเป็นการอ่านเพื่อพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ อันได้แก่
-   พัฒนาด้านความรู้ คือ ได้ทั้งความรู้รอบตัวและความรู้เฉพาะด้าน
-   พัฒนาด้านอารมณ์ ช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน บันเทิงใจคลายความขุ่นมัวต่าง ๆ
-   พัฒนาคุณธรรม การมีคุณธรรมย่อมเกิดมาจากความจรรโลงใจซึ่งได้จากการอ่าน 
     หนังสือประเภทธรรมะ ชีวประวัติ สารคดี ฯลฯ
                                   ความรู้กินได้ ตอนอ่านในใจ
                                            ภาพจาก : blog.eduzones.com
การอ่านในใจจึงเป็นวิธีการศึกษาอย่างหนึ่ง เพื่อเรียนรู้และเข้าใจประสบการณ์ใหม่ ๆ 
     ซึ่งช่วยให้มนุษย์เกิดการปรับตัวเพื่อการดำรงชีวิตอย่าง เป็นสุข
                      ความรู้กินได้ ตอนอ่านในใจ
                                      
 ภาพจาก : thoentoday.com


หลักการอ่านในใจ
๑. ตั้งสมาธิให้แน่วแน่
๒. กะระยะช่วงสายตาแต่ละคราวให้กว้างที่สุด จะทำให้อ่านได้รวดเร็ว 
    ไม่ควรมองเป็นคำ ๆ เพราะทำให้อ่านช้าและจับใจความไม่ได้
      ๓. การเคลื่อนไหวสายตาจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งไม่ควรบ่อยครั้ง 
     แต่ควรเป็นไปอย่างมีจังหวะและแน่นอน ไม่ควรส่ายตาไปตามเส้นบรรทัด
                      ความรู้กินได้ ตอนอ่านในใจ                             
                                ภาพจาก : wearehappy.in.th
๔. ไม่ควรอ่านย้อนกลับเพื่อทบทวนใหม่บ่อย ๆ ทำให้อ่านช้า
๕. การเปลี่ยนบรรทัดต้องให้แม่นยำ พยายามอย่ากลับไปอ่านซ้ำบรรทัดเดิมอีก
๖. ไม่ทำปากขมุบขมิบหรือออกเสียงในเวลาอ่าน
๗. ไม่ใช้นิ้ว ปากกา หรือดินสอ ชี้ที่ตัวหนังสือทีละตัว
๘. จับใจความสำคัญและใจความประกอบให้ได้ พิจารณาให้เข้าใจ
๙. บันทึกความรู้ ความเข้าใจ และความคิดไว้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

                ความรู้กินได้ ตอนอ่านในใจ                                       
                                                ภาพจาก : dek-d.com

คุณสมบัติของนักอ่านที่ดี
         ๑.  มีความสนใจในการอ่าน
         ๒.  อ่านเป็นกิจวัตรประจำวัน
         ๓.  อ่านอย่างมีความสุข
         ๔.  อ่านเป็นเวลานาน
         ๕.  อ่านหนังสือทุกประเภท
         ๖.  ติดตามวงการหนังสืออยู่เสมอ
         ๗.  รู้ลักษณะและประเภทของหนังสือ
                       ความรู้กินได้ ตอนอ่านในใจ
                            ภาพจาก : bookandreading.com

         ๘.  มีวิจารณญาณในการอ่าน
         ๙.  มีความเข้าใจเรื่องที่อ่าน
        ๑๐. ใจกว้างในการรับฟัง
        ๑๑. เชื่ออย่างมีเหตุผล
        ๑๒. รู้จักวิธีอ่าน

ของแถม
เคล็ดลับในการอ่านหนังสือสอบ
    ปัจจุบันมักกรำศึกหนักกับการอ่านหนังสือ บางคนไม่ได้พักผ่อนร่างกายทรุดโทรม 
พอถึงวันสอบจริงๆ อาจต้องป่วยซะงั้น พี่มิ้งเลยเอาเคล็ดลับการอ่านหนังสืออย่างไร
ให้ไม่เสียสุขภาพ อ่านได้นาน และจำแม่นด้วย
ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
        ๑. การอ่านสร้างคุณภาพชีวิตของนักเรียนอย่างไร 
        ๒. ทำไมเราจึงต้องฝึกอ่านในใจ
                ความรู้กินได้ ตอนอ่านในใจ
                                            ภาพจาก : dek-d.com


   ดูแลตัวเองก่อนอ่าน
      การเตรียมร่างกาย ก่อนการอ่านหนังสือก็ถือเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจ
 เริ่มกันตั้งแต่เครื่องแต่งกันกายกันเลย ควรสวมชุดสบายๆ ไม่แน่นคับเกินไป

   วิธีการหักโหมอ่านหนังสือ จนท้องหิวก็ยังไม่หยุด ไม่ส่งผลดี เพราะในสภาวะนี้
จะทำให้ผู้อ่านขาดสมาธิ ขาดพลังงานในการไปเลี้ยงสมอง และขณะอิ่มใหม่ๆ 
ก็ไม่ควร เพราะร่างกายจะใช้พลังงานไปกับการย่อยอาหาร เลือดที่ไปเลี้ยงสมอง
อาจทำให้ระบบการย่อยทำงานไม่เต็มที่ ขณะที่สมองก็ใช้ประสิทธิภาพได้ไม่เต็มร้อย

   ท่านั่งหลังตรงตั้งฉาก บนเก้าอี้ที่มีพนักพิงให้พอเหมาะกับสรีระร่างกาย ไม่ฝืนเกร็ง 
จะให้อ่านได้นานขึ้น

   ควรอ่านหนังสือในสภาวะอารมณ์ปกติ ไม่มีอาการเครียด มีจิตใจผ่องใส
 จะทำให้มีสมาธิดี จำได้มาก และเข้าใจได้รวดเร็ว แล้วไม่เครียดจนเสียสุขภาพ
                                 ความรู้กินได้ ตอนอ่านในใจ
                                          ภาพจาก : dek-d.com

 

   ดูแลตัวเองขณะที่อ่าน
 
   ถือหนังสือให้ห่างจากดวงตา ประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ไม่ควรนอนอ่านหนังสือ
 เพราะจะทำให้ปวดหลังทำให้เมื่อยแขนและสายตายังต้องปรับระดับมากด้วย

   อ่านหนังสือในที่ที่แสงสว่างเพียงพอ ไม่มืดหรือแสงมากไป และไม่ควรอ่านหนังสือ
บนรถเพราะสายตาจะจับโฟกัสได้ยาก

   พยายามกะพริบตาอยู่บ่อยๆ ป้องกัน อาการตาแห้ง,การอ่อนล้าสายตา

    ดูแลตัวเองหลังการอ่านหนังสือ
   
   หลังการอ่านหนังสือนานๆ ควรพักสายตา โดยมองไปที่ไกลๆ หรือร่มไม้สีเขียว 
เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ดวงตา

   เราสามารถบริหารดวงตา ได้หลายวิธีเช่น การกรอกตาไปมาหรือการใช้ฝ่ามือ
คลึงเป็นวงกลมเบาๆ บริเวณดวงตาด้วยฝ่ามือ

กิจกรรมเสนอแนะ
       ๑.  ประกวดบทความเรื่อง ความรู้กินได้

สรรถนะที่ต้องการเน้น
       ๑. มีความสามารถในการคิด
       ๒. มีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

กิจกรรมบูรณาการ   
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ  เรื่อง สมาธิ

          ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล   แผนการจัดการเรียนรู้  ภาษาไทย  ชั้นม.๔
          ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล  คู่มือการสอนภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3622

อัพเดทล่าสุด