การอ่านในยุคสังคม สื่อสารไร้พรมแดน


1,322 ผู้ชม


การอ่านในยุคสังคมสื่อสารที่ไร้พรมแดน ตัดสินใจผิด ชีวิตอาจหักเหรวนเรไปทั้งชีวิต   

การอ่านในยุคสังคมสื่อสารไร้พรมแดน

 ประเด็นข่าว เผยผลวิจัยเด็กไทย ๓๐ % ไม่สามารถอ่านวิเคราะห์ได้ 
                 การอ่านในยุคสังคม สื่อสารไร้พรมแดน

                             ภาพจาก : dek-d.com
ค่า เฉลี่ยยิ่งสูงขึ้นในเด็กไทย 3 จังหวัดชายแดนใต้ นักวิชาการแนะ“ครูยุคปฏิรูป”
ต้องเปลี่ยนเป็น “วิทยากรกระบวนการ” และเป็น “ครูประชาธิปไตย” 
สอนความเป็นพลเมือง ด้าน สสค.ให้ทุนพัฒนาสมรรถนะการอ่าน

      เมื่อไม่นานมานี้    สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน
(สสค.) จัดงานแถลงข่าวเปิดโครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้
ระดับประถม ศึกษาครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ และร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสถานการณ์เด็ก 
(ประถม) ไทย “อ่านได้ แต่ไร้การวิเคราะห์” ณ โรงเรียนวัดปทุมวนาราม 
ในพระราชูปถัมภ์

รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
กล่าวว่า ในยุคปฏิรูปการศึกษา เด็กนักเรียนวัยประถมศึกษาต้องจัดการศึกษา
ที่เรียกว่า “เรียนปนเล่น” ฉะนั้น “ครูยุคปฏิรูป” จะต้องเปลี่ยนวิธีคิดจาก

นักวิจัย ชาวอเมริกันได้เปรียบเทียบว่า เด็กใช้เวลาเรียนรู้ทักษะการอ่านเฉลี่ย
ตลอดชีวิตเพียง ๐.๒% ขณะที่ทักษะนี้จะส่งผลระยะยาวต่อชีวิตที่เหลืออยู่มากถึง
๙๘% สะท้อนให้เห็นว่า เด็กช่วงวัยประถมศึกษานั้นเป็นอีกช่วงเวลาที่สำคัญในการ
พัฒนาทักษะพื้น ฐาน"รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว และว่า ขณะ ที่เด็กประถมไทย
มีผลวิจัยชี้ชัดว่า กว่า ๓๐% ไม่สามารถอ่านวิเคราะห์ได้

         โดย  สาธินีย์ วิสุทธาธรรม  ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฎิรูปประเทศไทย สถาบันอิศรา 
                           ที่มา :  https://forum.02dual.com
 
                การอ่านในยุคสังคม สื่อสารไร้พรมแดน
                                               ภาพจาก : dooqo.com 
 

 การอ่านวิเคราะห์  เป็นทักษะการอ่านที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ที่จำเป็นในยุคสังคมสื่อสารที่ไร้พรมแดน  การแยกแยะข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องสำคัญ
ในวิถีชีวิต    การตัดสินใจอย่างมีคุณภาพในแต่ละครั้ง ย่อมมาจากการวิเคราะห์
ที่มีประสิทธิภาพ   
          ตัดสินใจผิด  ชีวิตอาจหักเหรวนเรไปทั้งชีวิต  
          ตัดสินใจถูกชีวิตอาจรุ่งเรืองทั้งชีวิต
นั่นเกิดจากทักษะการวิเคราะห์   ซึ่งเราฝึกได้ง่ายๆ  จากการอ่านวิเคราะห์

ประเด็นการเรียนรู้  การอ่านวิเคราะห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

การอ่านวิเคราะห์

            การอ่านวิเคราะห์ หมายถึง การอ่านเพื่อแยกแยะข้อความที่อ่านอย่างถี่ถ้วน
 เพื่อให้ทราบถึงโครงสร้าง องค์ประกอบ หลักการและเหตุผลของเรื่อง จนสรุปได้ว่า
แต่ละส่วนเป็นอย่างไร สัมพันธ์กันอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
                   การอ่านในยุคสังคม สื่อสารไร้พรมแดน
                                          ภาพจาก : crystal-publishing.com

             วิธีอ่านแบบวิเคราะห์ อาจวิเคราะห์องค์ประกอบของคำและวลี 
การใช้คำในประโยค  วิเคราะห์สำนวนภาษา จุดประสงค์ของผู้แต่ง ไปจนถึง
การวิเคราะห์นัย หรือเบื้องหลัง  การจัดทำหนังสือหรือเอกสารนั้น

             การวิเคราะห์เรื่องที่อ่านทุกชนิด สิ่งที่จะละเลยเสียมิได้ก็คือ การพิจารณาถึง
การใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาว่า  มีความเหมาะสมกับระดับ และประเภทของงานเขียน
หรือไม่ เช่น ในบทสนทนาก็ไม่ควรใช้ภาษาที่เป็นแบบแผน ควรใช้สำนวนให้เหมาะสมกับ
สภาพจริงหรือเหมาะ แก่กาลสมัยที่เหตุการณ์ในหนังสือนั้นเกิดขึ้น เป็นต้น ดังนั้น 
 
              การอ่านวิเคราะห์จึงต้องใช้เวลาอ่านมาก และยิ่งมีเวลาอ่านมากก็ยิ่งมีโอกาส
วิเคราะห์ ได้ดีมากขึ้น    การอ่านในระดับนี้ ต้องรู้จักตั้งคำถามและจัดระเบียบเรื่องราว
ที่อ่าน เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องและความคิดของผู้เขียนต้องการ
                           การอ่านในยุคสังคม สื่อสารไร้พรมแดน

                                     แพท : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต   

         การอ่านวิเคราะห์ช่วยให้เห็นภาพรวมและรวยละเอียดของเรื่องที่อ่าน 
ฝึกให้อ่านอย่างรอบคอบ ช่วยให้เข้าใจเรื่องนั้นอย่างแท้จริง ช่วยพัฒนาสติปัญญา
เพราะต้องใช้เหตุผลในการอธิบายแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งทักษะในการอ่านนี้สามารถ
นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และจะนำไปใช้ในการอ่านประเมินค่าต่อไป

การอ่านวิเคราะห์มีสาระสำคัญที่จะต้องพิจารณาอยู่ ๔ ประเด็น ดังนี้

      ๑. รูปแบบคำประพันธ์ พิจารณาเกี่ยวกับลักษณะคำประพันธ์ที่ใช้ ขนบนิยม
ในการดำเนินเรื่อง และรูปแบบของภาษาที่ใช้ 
      ๒. เนื้อหา หรือเนื่อเรื่อง พิจารณาโครงสร้างของเนื้อหา ถ้าเป็นงานเขียน
ประเภท….. พิจารณาเกี่ยวกับ โครงเรื่อง แนวคิด จุดมุ่งหมาย เนื้อเรื่อง ข้อขัดแย้ง
และข้อคิดเห็นของผู้เขียน ส่วนงานเขียนบันเทิงคดี จะพิจารณาเกี่ยวกับ 
โครงเรื่อง แนวคิด เนื้อเรื่อง ตัวละคร ฉาก บรรยากาศและบทเจรจา 
      ๓. กลวิธีแต่ง พิจารณาถึงความชำนาญในการเขียน เช่น การตั้งชื่อเรื่อง วิธีเล่าเรื่อง 
วิธีการดำเนินเรื่อง การจบเรื่อง การนำเสนอที่แปลกใหม่ 
      ๔.  การใช้ภาษา พิจารณาถึง ความสามารถในการใช้ภาษา เช่น การใช้คำ + ประโยค 
สำนวนโวหาร เป็นต้น 
                            การอ่านในยุคสังคม สื่อสารไร้พรมแดน

                                 แพท : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต   

กระบวนการวิเคราะห์
            ๑.ดูรูปแบบของงานประพันธ์ว่าใช้รูปแบบใด อาจเป็นนิทาน บทละคร 
นวนิยาย เรื่องสั้น บทร้อยกรอง หรือบทควมจากหนังสือพิมพ์
             ๒.แยกเนื้อเรื่องออกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร
                            การอ่านในยุคสังคม สื่อสารไร้พรมแดน
                                          ภาพจาก : facebook.com           

              ๓.แยกพิจารณาแต่ละส่วนให้ละเอียดลงไปว่าประกอบกันอย่างไร
หรือประกอบด้วยอะไรบ้าง
             ๔.พิจารณาให้เห็นว่าผู้เขียนใช้กลวิธีเสนอเรื่องอย่างไร
         

การอ่านเชิงวิเคราะห์ในขั้นต่างๆ
            ๑.การอ่านวิเคราะห์คำ
              การอ่านวิเคราะห์คำ เป็นการอ่านเพื่อให้ผู้อ่านแยกแยะถ้อยคำในวลี ประโยค
 หรือข้อความต่างๆ โดยสามารถบอกได้ว่า คำใดใช้อย่างไร  ใช้ผิดความหมาย 
 ผิดหน้าที่  ไม่เหมาะสม ไม่ชัดเจนอย่างไร  ควรจะต้องหาทางแก้ไข ปรับปรุงอย่างไร 
เป็นต้น เช่น
                           ๑) หนังสื่อพิมพ์ไม่สะอาด
                           ๒) ที่นี่รับอัดพระ
                           ๓) เขาท่องเที่ยวไปทั่วพิภพ
                           ๔) เจ้าอาวาสวัดนี้มรณกรรมเสียแล้ว   
                     การอ่านในยุคสังคม สื่อสารไร้พรมแดน
                                        ภาพจาก : matichon.co.th
                            
             ๒.การอ่านวิเคราะห์ประโยค
             การอ่านวิเคราะห์ประโยค เป็นการอ่านเพื่อแยกแยะประโยคต่างๆ ว่า
                           เป็นประโยคที่ถูกต้องชัดเจนหรือไม่ 
                           ใช้ประโยคผิดไปจากแบบแผนของภาษาอย่างไร 
                           เป็นประโยคที่ถูกต้องสมบูรณ์เพียงใดหรือไม่ 
                           มีหน่วยความคิดในประโยค  ขาด  เกิน  หรือไม่ 
                           เรียงลำดับความในประโยคที่ใช้  ถูกต้องชัดเจนหรือไม่ 
                           ใช้ฟุ่มเฟือย โดยไม่จำเป็น  
                           หรือใช้รูปประโยคที่สื่อความหมายไม่ชัดเจนหรือไม่
                            การอ่านในยุคสังคม สื่อสารไร้พรมแดน

                                                       แพท : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต   

             ๓.การอ่านวิเคราะห์ทัศนะของผู้แต่ง
              ผู้อ่านต้องพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบว่าผู้เขียนเสนอทรรศนะมีน้ำหนัก
เหตุผลประกอบข้อเท็จจริงน่าเชื่อถือเพียงใด เป็นคนมองโลกในแง่ใด เป็นต้น


             ๔.การอ่านวิเคราะห์รส
              การอ่านวิเคราะห์รส หมายถึง การอ่านอย่างพิจารณาถึงความซาบซึ้งประทับใจ
ที่ได้จากการอ่าน วิธีการที่จะทำให้เข้าถึงรสอย่างลึกซึ้ง คือการวิเคราะห์รสของเสียง
และรสของภาพ
                          ๔.๑ ด้านรสของเสียง ผู้อ่านจะรู้สึกได้ชัดจากการอ่านออกเสียงดังๆ
ไม่ว่าจะเป็นการอ่านอย่างปกติหรือการอ่านทำนองเสนาะ จึงจะช่วยให้รู้สึกถึงความไพเราะ
ของจังหวะ และความเคลื่อนไหว ซึ่งแฝงอยู่ในเสียง ทำให้เกิดความรู้สึกไปตามท่วงทำนอง
ของเสียงสูงต่ำจากเนื้อเรื่องที่อ่าน
                          ๔.๒ ด้านรสของภาพ เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วเกิดความเข้าใจเรื่อง 
ในขณะเดียวกันทำให้เห็นภาพด้วย เป็นการสร้างเสริมให้ผู้อ่านได้เข้าใจความหมาย
 การเขียนบรรยายความด้วยถ้อยคำไพเราะ ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ก่อให้เกิดภาพขึ้น
ในใจผู้อ่าน ทำให้เกิดความเพลิดเพลินและเข้าใจความหมายของเรื่องได้ดียิ่งขึ้น
                         การอ่านในยุคสังคม สื่อสารไร้พรมแดน 
                               แพท : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต   


ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
 
       ๑. ในชีวิตประจำวันเราต้องวิเคราะห์สิ่งใดบ้าง  วิเคราะห์อย่างไร ผลจากการวิเคราะห์
คืออะไรไร  ให้เขียนแนวคิดที่ได้เคยปฏิบัติ  โดยยกตัวอย่าง คนละ ๑ เรื่อง
       ๒. ให้สรุปการอ่านวิเคราะห์ ที่สามารถนำไปเป็นแนวปฏิบัติได้  (รายบุคคล)
บอกเป็นข้อ ๆ

กิจกรรมเสนอแนะ
       ๑.  ให้เลือกวิเคราะห์เพลง คนละ ๑  เพลง

สรรถนะที่ต้องการเน้น
       ๑. มีความสามารถในการคิด
       ๒. มีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

กิจกรรมบูรณาการ   
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  เรื่องการอ่าน

          ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล   แผนการจัดการเรียนรู้  ภาษาไทย  ชั้นม.๔
          ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล  คู่มือการสอนภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
          ขอบคุณ : https://www.panyathai.or.th

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3644

อัพเดทล่าสุด