เพิ่มความรู้ ดูโฆษณา


748 ผู้ชม


พิจารณาโฆษณา   

เพิ่มความรู้ ดูโฆษณา

         ที่มาของภาพ:https://www.thaipr.net

     เพิ่มความรู้..ดู..โฆษณา

        โฆษณา  ที่มีศิลปะ ควรนำมาเป็นวรรณกรรมได้ โดยเฉพาะโฆษณาที่เลือกรูปแบบ การใช้ภาษาโน้มน้าวใจที่น่าสนใจ  มีการสรรคำ  มีการนำเสนอที่ชวนติดตาม   โฆษณาที่ทำหน้าที่เหมือนวรรณกรรมได้โดยเฉพาะสภาพสังคม  โฆษณาที่ดีมีสารจรรโลงใจทำให้ได้รับข้อคิดที่มีประโยชน์และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
        ที่มา: https://sites.google.com/site/wiwithphasam3
        ประเด็นจากข่าวเพื่อนำเข้าสู่เนื้อหาหลัก
               มองโฆษณาอย่างวรรณกรรม  
        เนื้อหา  สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย  ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

        ท ๑.๑ ม ๓/๑  อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้องและเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน                  
        ท ๑.๑ ม ๓/๓  ระบุใจความสำคัญและรายละเอียดของข้อมูลที่สนับสนุนจากเรื่องที่อ่าน
        ท ๑.๑ ม ๓/๙  ตีความและประเมินคุณค่าและแนวคิดที่ได้จากงานเขียนอย่างหลากหลายเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต
       ท ๑.๑ ม๓/๑๐ มีมารยาทในการอ่าน


        เนื้อเรื่อง
             การโฆษณา  เป็นการสื่อสารโน้มน้าวใจประเภทหนึ่ง    มุ่งจูงใจเพื่อประโยชน์ในการขายสินค้าและบริการต่างๆ ทั้งยังจูงใจให้ผู้รับสารประพฤติปฏิบัติตามความมุ่งหมายของผู้โฆษณาด้วย  


        ส่วนประกอบของโฆษณา
           โฆษณามีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เนื้อหา รูปแบบการนำเสนอ ภาษาที่ใช้และการโน้มน้าวใจ

        ๑. เนื้อหา  เนื้อหาของการโฆษณาจะชี้ให้เห็นแต่ความดีพิเศษของของสินค้า   การบริการหรือกิจกรรมที่โฆษณา

เพิ่มความรู้ ดูโฆษณา

             ที่มาของภาพ : https://btgsf1.fsanook.com/album/files/jpg/200/1004795.jpg


          เช่น   แสดงความดีพิเศษของสินค้า     
         

เพิ่มความรู้ ดูโฆษณา

                                  ที่มาของภาพ : https://t0.gstatic.com

            ความทันสมัยสำหรับวัยรุ่น
            บ้านทุกหลังออกแบบตามสไตล์ที่ท่านพอใจ
            ผลผลิตจากธรรมชาติ  สะอาด  ปลอดสารพิษ
                 
แสดงความดีความพิเศษของการบริการ
            ท่องเที่ยวสุดหรรษา  ราคาประหยัดกระเป๋า
            มีอาจารย์เจ้าของภาษาดูแลตัวต่อตัว
            ออกแบบทันสมัย  เสร็จเร็วทันใจ
                 
แสดงความดีความพิเศษของกิจกรรม
                 คอนเสิร์ตรวมนักร้องขวัญใจ
                 
แสดงผลงานวิจัยสาขาต่าง  ๆที่ได้รับรางวัล
                 พบคนกล้าท้าประลองความสามารถ

เพิ่มความรู้ ดูโฆษณา

ที่มาของภาพ : https://t1.gstatic.com

          ๒.รูปแบบการนำเสนอ การนำเสนอโฆษณามีรูปแบต่างๆ เช่น เป็นคำขวัญ เป็นข้อความสั้น ๆ   เป็นบทสนทนา  เป็นเรื่องราวแบบละคร  คือมีตัวละคร  ฉากและบทสนทนา  เป็นตำนาน นิทาน เป็นต้น
           ๓.ภาษาโฆษณา โฆษณาจะใช้ทั้งคำพูดและภาษาที่สื่อด้วยสิ่งอื่น ๆ   เช่น  ท่าทาง  รูปภาพ  เป็นต้น
           ในการโฆษณามักใช้ถ้อยคำแปลกใหม่เพื่อให้สะดุดหู สะดุดตา  สะดุดใจ   ใช้ภาษาที่มีสัมผัสเพื่อให้จำง่าย  ใช้ประโยคหรือวลีสั้น  ๆ   เพื่อให้ผู้รับสารรับรู้ได้รวดเร็ว  เช่น

เพิ่มความรู้ ดูโฆษณา

ที่มาของภาพ : https://t1.gstatic.com


           รูปลักษณ์โดนใจ
           เบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทย
           หวานเต็มร้อยแคลอรีน้อยกว่าครึ่ง


   ๔.การโน้มน้าวใจ  การโน้มน้าวใจของการโฆษณามีหลายวิธี  เช่น 

  
            การอ้างสถิติบุคคลหรือองค์กร  เช่น  
            คุณสุดสวยดารายอดนิยมตลอดกาลรักษาสุขภาพด้วยสาหร่ายทองเป็นประจำ  
            ชากลิ่นหอม รสชาติชวนดื่มจากเทือกเขาเมืองเหนือ  แหล่งปลูกชาลือชื่อ     
            

            การตอบสนองธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์  ซึ่งห่วงเรื่องสุขภาพ ความปลอดภัยธรรมชาติ  ความสุข  

           ความมั่นคงในชีวิต  เช่น   


             ผักสดปลอดสารพิษ เพื่อชีวิตที่ดีกว่า
             อาหารอร่อย ดนตรีไพเราะ ราคากันเอง

 เพิ่มความรู้ ดูโฆษณา

                                 ที่มาของภาพ : https://www.google.co.th

               กิจกรรมเสนอแนะ
               รวบรวมคำ สำนวนที่สละสลวยจากภาษาโฆษณา

 
              การบูรณาการ
           ๑.  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากโฆษณา
           ๒.  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ศิลปะการออกแบบโฆษณา
           ๓.  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ค่านิยมของสังคมไทย

         ร่วมกันคิด พิจารณา โฆษณา
             นักเรียนคิดว่าทำไมมองโฆษณาว่าเป็นวรรณกรรม
             การดูโฆษณาได้รับประโยชน์อย่างไรและอาจจะเกิดโทษอย่างไร
             อิทธิพลค่านิยมที่นักเรียนได้รับจากโฆษณา           

        อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
          
ที่มา: https://sites.google.com/site/wiwithphasam3 
          ที่มาของภาพ:https://www.thaipr.net

          ที่มาของภาพ : https://t0.gstatic.com

          ที่มาของภาพ : https://t1.gstatic.com

          ที่มาของภาพ : https://www.google.co.th

          ที่มาของภาพ : https://btgsf1.fsanook.com/album/files/jpg/200/1004795.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3721

อัพเดทล่าสุด