ไม่ว่าจะเป็นยอดขุนพลหรือโคถึกในส่วนใดของสังคมเมื่อเสร็จกิจแล้วทั้งโคถึกและขุนพลก็ไร้ค่าเป็นส่วนมาก
ภาพจาก nobra-mebra.hi5.com (โคถึก)
"เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล" แปลว่า การละทิ้ง ปล่อยปล่ะ ละเลย ไม่เลี้ยงดู ไม่รู้จักให้รางวัล ไม่มีความระลึกนึกถึง แก่บุคคลที่เคยทำงานให้ ที่ได้ช่วยเหลือตนเอง เมื่อหมดประโยชน์หรือภารกิจงานนั้นๆ แล้ว ถ้าพูดแบบขวาผ่าซากก็คือ "ไล่/เฉดหัวทิ้งเมื่อหมดประโยชน์เป็นการกระทำของคนเลวๆทำกันนั่นแล" ซึ่งตัวอย่างก็มีให้เห็นทั่วไปครับ
ทั้งนี้สุภาษิต คำพังเพยของไทยบทนี้ ตรงกับสุภาษิตจีนบทหนึ่งกล่าวว่า "Butcher the donkey after it finished his job on the mill." แปลว่า "ฆ่าลาเมื่อเสร็จงาน (โม่แป้ง)"
ซึ่งสุภาษิต คำพังเพย บทนี้ เขาเอ่ยเพื่อเป็นคำ/ข้อเตือนใจในการทำงานว่า ให้รู้จักเลี้ยงดูคน ให้รางวัลแก่คนที่เขาได้ทำงานช่วยเหลือตน แม้จะหมดภารกิจนั้นๆ แล้ว ก็ต้องมีความระลึกถึงความดีต่อกัน ไม่ไปทำร้ายเขา แต่ตรงกันข้ามต้องแสดงน้ำใจตอบ ความเป็นคนเอื้ออารีตอบต่อผู้คนที่เขาได้ช่วยงานตนนั้น ไม่ว่าจะเป็นลูกน้อง หรือลูกจ้าง เป็นคุณธรรมที่สำคั คนที่ทำดีนั้นควรจะได้ดี และการส่งเสริมคนที่ทำดีมีประโยชน์นั้น แม้คนๆ นั้นจะไม่มีประโยชน์โดยตรงกับเราต่อไป แต่ความระลึกถึงคุณความดีของเขาและให้การตอบแทนอันควรนั้น จะสร้างคุณค่าส่งเสริมให้คนเห็นความสำคัของการทำดี
ภาพจาก thaigundam.com (ขุนศึก)
สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบัน ซึ่งเราจะพบว่า มีเจ้านาย หรือเจ้าของกิจการที่อยากให้คนมาช่วยงาน ก็จะพูดจาดี ยอมจ่ายค่าตอบแทนอย่างแพง จ้างเขามาเพื่อให้ได้งาน แต่เมื่อหมดความต้องการแล้ว ก็ผละทิ้งโดยไม่ต้องรับผิดชอบอีกต่อไป มากยิ่งกว่านั้น ถ้าเห็นเขามีความสามารถที่สักวันพร้อมจะกลับมาเป็นคู่แข่งได้ ก็จะต้องหาทางทำลาย หรือหยุดโอกาสของเขา ทำให้เขาไม่มีโอกาสเจริก้าวหน้าต่อไป
วัฒนธรรมการค้าและการแข่งขันในโลกยุคใหม่นั้น เป็นการทำให้คนละทิ้งค่านิยมบางอย่างที่ดีแต่เดิมไป และเมื่อคนมีความไม่มั่นใจในอนาคตของตนเอง ก็ไม่อยากทำอะไรอย่างทุ่มเทอย่างสุดใจให้กับองค์กร สำหรับนักบริหาร หรือผู้ประกอบการแล้ว การประพฤติตนอย่างยึดมั่นในคุณธรรม ควบคู่กับการสร้างวัฒนธรรมให้คนอุทิศตนให้มีความเชื่อมั่นต่อองค์กรนั้น เป็นส่วนประสมที่จะนำความสำเร็จมาสู่งานและองค์กรนั้นๆ
ภาพจาก soccersuck.com
ข้อคิดเตือนใจ ที่มาของสำนวน “เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล”
v วันนี้ทำอะไรอยู่ก็ตาม อย่าเมามันกับงานจนลืมชีวิตของตนเอง
v ทุกคนเกิดมามีเส้นทางชีวิต มีเริ่มต้น เดินทาง สิ้นสุด
v ขอให้พิจารณาว่าขณะนี้อายุเท่าไร เหลือเวลาอีกมากเท่าไร ที่จะอยู่ในงานนี้
v หากชีวิตคนเราโดยเฉลี่ยสูงสุดที่ ๑๐๐ ปีแล้วชีวิตท่านเหลือเท่าไร
v ตั้งแต่เกิดมาท่านมีสุขหรือทุกข์อะไรบ้าง
v สิ่งที่เป็นทุกข์นั้นยินดีที่จะให้อยู่กับชีวิตเราที่ยังเหลืออยู่
v จะเปลี่ยนเส้นทางหรือเดินย้อนกลับไม่ได้มีเพียงต้องเดินไปข้างหน้าหากมีชีวิตอยู่
v ทุกย่างก้าวที่เดินไปเป็นเส้นทางที่ยาวขึ้นและเส้นทางที่เหลือก็ลดลง
v ตอบตนเองซิว่า “เกิดมาเพื่ออะไร”
v เกิดมาเพื่ออะไรตอบได้หรือยัง
v จะเป็นผู้กำกับชีวิตให้กับตนเองหรือให้เป็นไปตามยถากรรม
v การกำหนดชีวิตให้ตนเองแม้จะไม่ดีกว่าก็คุ้มค่าที่ได้ต่อสู้
v การต่อสู้ต้องไม่ลืมอาวุธ อาวุธแห่งปัญญาคือ “การศึกษา”
v หากไม่ได้กำหนดวิถีให้ตนเอง ไม่ว่าจะเป็นยอดขุนพลหรือโคถึกในส่วนใดของสังคม
v เมื่อเสร็จกิจแล้วทั้งโคถึกและขุนพลก็ไร้ค่าเป็นส่วนมาก
v จึงเป็นที่มาของ “เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล”
ขอบคุณ ที่มา:
https://www.itie.org/eqi/modules.
https://www.9anant.com/
https://www.tpa.or.th/w
ประเด็นศึกษา ; สำนวนภาษา
กลุ่มสารการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
เรื่อง สำนวนชวนคิด ใช้ในชีวิตประจำวัน
ข้อเสนอแนะ สำนวน “เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล”เปรียบเทียบกับการทำงานทุกระดับ
โดยเฉพาะประเด็นการเมือง การแข่งขันกีฬา ฯลฯ
กิจกรรมบูรณาการ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
ที่มา : นัทธมน คำครุฑ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3200