คำนาม เพิ่มความสง่างามในการใช้ภาษา


637 ผู้ชม


คำแต่ละชนิดก็มีความสำคัญต่างกัน ผู้ที่ใช้คำได้ถูกต้องในการสื่อสารถือเป็นความสง่างาม และเป็นเสน่ห์   

เรียนเรื่องคำนาม เพิ่มความสง่างามในการใช้ภาษา


                                               เพลงชนิดของคำไทย
                                                                                                     ทำนอง หลงเสียงนาง

                           สร้อย  ล่า  ลา ลา ลา ล่า ล่า ล้า ลา   (ซ้ำ 4 เที่ยว)
    เรามาเรียนวิชาภาษาไทย       ต้องทำใจทุกคนให้เริงร่า
           การอ่านเขียนต้องแม่นในตำรา หลักภาษาต้องจำให้สำคัญ(สร้อย)
    การจำแนกคำในภาษาไทย โปรดจำไว้แยกได้เจ็ดคำนั่น
          มีคำนาม กริยา อีกสันธาน  คำอุทาน  วิเศษณ์ และบุพบท(สร้อย)
    มีอีกคำนั่นหรือคือสรรพนาม ใช้แทนนามทุกนามได้ทั้งหมด
                        เรานักเรียนต้องเพียรเขียนจำจด อนาคตสดใส ก้าวไกลเอย(สร้อย)

     
       จากบทเพลงข้างต้น  เป็นผลงานของนักเรียน ที่นำมาร้อง เพลงชนิดของคำไทย  
ปรากฏคำในภาษาไทยทั้ง ๗ ชนิด  แต่ละชนิดก็มีความสำคัญต่างกัน  การเรียนรู้เรื่อง
ชนิดของคำ จนเข้าใจ และนำไปใช้ในการสื่อสารทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนได้ดี 
ถือเป็นความสง่างามของ และเป็นเสน่ห์ กับผู้นั้น

ประเด็นการศึกษา  ชนิดของคำไทย ตอนคำนาม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

คำชี้แจง ให้นักเรียนเติมคำ หรือข้อความในช่องว่างเพื่อให้ได้คำนามและหน้าที่ของคำนามที่สมบูรณ์

๑. คำนาม  คือ คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่    เช่น (ให้นักเรียนช่วยเติมตัวอย่าง)
 เรียกคน เช่น  พยาบาล ....…………………………………………………………………………………….
 เรียกสัตว์ เช่น..ปลา……………………………………………………………………………………………….
 เรียก สิ่งของ เช่น ปากกา……………………………………………………………………………………….
 เรียกสถานที่ เช่น……………………………………………………………………………………………………
รวมทั้งสิ่งที่ไม่มีตัวตนด้วย เช่น ..………………………………………………………………………………………….
 คำนามแบ่งเป็น  ๕  ชนิด ได้แก่
 ๑) สามานยนาม  หมายถึง ………………... ไม่ชี้เฉพาะ เช่น  ……………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
 ๒) วิสามานยนาม หมายถึง ………............ เช่น ……………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
 ๓)  อาการนาม หมายถึง นามที่บอก.…………. มักจะมีคำว่า   "………."   
            และ  "…………" นำหน้า
             การ จะนำหน้าคำ……………. เช่น …….……………………………………………………… 
…………………………………………………………………………………………………………………………………………… 
            ความจะนำหน้า คำ…………. และคำกริยาที่หมายถึง…………………………………………...
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
  ๔)  ลักษณะนาม  หมายถึง นามที่ใช้บอกลักษณะของสิ่งของ เช่น ปากกา ๑ ด้าน
   ดินสอ  เรียกเป็น  ......................
   เข็ม  เรียกเป็น  ......................
   สมุด  เรียกเป็น  ......................
   บ้าน  เรียกเป็น  ......................
   คน  เรียกเป็น  ......................
   สัตว์  เรียกเป็น  ......................
   ขนมจีน  เรียกเป็น  ......................
   พลู  เรียกเป็น  .....................
   ขลุ่ย  เรียกเป็น  ......................
   ช้าง  เรียกเป็น  ......................
   เลื่อย  เรียกเป็น  ......................
   งาช้าง  เรียกเป็น  ......................
   เกวียน  เรียกเป็น ........................
   วัด  เรียกเป็น ........................
   ห้อง  เรียกเป็น ........................
   ตลาด  เรียกเป็น ........................
   ถนน  เรียกเป็น ........................
   ซุง  เรียกเป็น ........................
   พัดลม  เรียกเป็น ........................
   โต๊ะ  เรียกเป็น .......................
   เทียน  เรียกเป็น ........................
   รถ  เรียกเป็น ........................
   ร้านค้า  เรียกเป็น ........................
   ห้างสรรพสินค้า เรียกเป็น ........................
   พวงหรีด เรียกเป็น ........................
   ช่อดอกไม้ เรียกเป็น ........................
   รองเท้า  เรียกเป็น ........................
   ตะเกียบ  เรียกเป็น ......... .................
   ช้อนส้อม เรียกเป็น ........... ..............

 ๕)  สมุหนาม หมายถึง นามที่เรียกสิ่งต่าง ๆ ที่มา………..กัน  เช่น คนหลายคนมารวมกัน
       เรียกเป็น  …………………..   ก็ได้  นกบินมาหลายตัว  ก็เรียกเป็น.....................
       ช้างหลายเชือกมารวมกัน เรียกเป็น....................... 
     *แต่มีข้อสังเกตว่า คำที่ใช้เป็นสมุหนามนี้ต้องไม่อยู่หลังคำนาม และหลังจำนวนนับ*
       ถ้าคำเหล่านี้ตามหลังจำนวนนับ หรือตามหลังคำนาม จะเป็นลักษณนาม* เช่น
              มีโขลงช้าง  จำนวน ๒ โขลงอาศัยอยู่บริเวณนี้
              คำอธิบาย        โขลงช้าง   เป็นสมุหนาม         
                                   
๒ โขลง เป็นลักษณนาม

 หน้าที่ของคำนาม  คำนามมีหน้าที่ดังนี้
 ๑)  เป็นประธานในประโยค   เช่น .....คุณหมอตรวจคนไข้ ,  ครูสอนนักเรียน,
       นักเรียนทำการบ้าน  นกบิน   น้องร้องไห้    แม้ไปตลาด.................
 ๒)  เป็นกรรมในประโยค เช่น  .....ครูสอนนักเรียน   นกจิกหนอน  ฉันทำการบ้าน 
      แม่ปิดประตู  น้องตัดดอกไม้..................
 ๓)  เป็นคำขยาย เช่น  บ้านไม้อากาศดี    รองเท้าหนังสีดำ  ถนนคอนกรีต ....หม้อดิน.......
       .รองเท้าแก้ว  ไม้บรรทัดเหล็ก   ไม้กวาดพลาสติก  เสื้อกระดาษ  เสื้อหนัง  
 ๔)  เป็นคำขยายกริยาเพื่อบอกสถานที่และทิศทาง  เช่น น้องไปโรงเรียน    ฉันไปตลาด
      ......บ้านอยู่ใกล้ถนน  โรงเรียนไกลบ้าน   แม่ไปโรงพยาบาล............
 ๕)  เป็นส่วนเติมเต็ม  (ตัวเติมเต็มคือส่วนที่ตามหลัง วิกตรรถกริยา)
      เช่น    เขาเป็นนักร้อง     น้องคล้ายแม่      ฉันสูงเท่ากับเธอ       โอรสแปลว่าลูก 
 ๖)  บอกลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่  เช่น ....นกตัวนี้   รถคันนี้   
     ช้าง ๒ เชือก   โต๊ะ ๒ ตัว  บ้าน ๑ หลัง  พลู  ๒ จีบ.............
 ๗)  ใช้เป็นคำเรียกขาน  เช่น  นักเรียน  อย่าเสียงดัง   .....มุก คิดออกไหม         
     .........นิด ทำอะไร,   ป๋อง  อย่าคุย ,  เล็ก ช่วยยกของที่ ฯลฯ.........................


ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
       ๑. คำนามมีประโยชน์ในการสื่อสารอย่างไรบ้าง

  
กิจกรรมเสนอแนะ
       ๑. แต่งเพลงอธิบายคำนาม 
  
คุณลักษณะที่ปลูกฝัง
       ๑. รักความเป็นไทย
       ๒. มุ่งมั่นในการเรียน

กิจกรรมบูรณาการ   
      
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  เรื่อง noun


ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล  แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล  คู่มือการสอนภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3055

อัพเดทล่าสุด