อิเหนา ศึกกะมังกุหนิง ตอนที่ ๑


18,595 ผู้ชม


ก่อนเรียนบทละครรำเรื่องอิเหนา นักเรียนทุกคนควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวละคร เพื่อลำดับเรื่องได้ถูกต้อง   

อิเหนา  ศึกกะหมังกุหนิง ตอนที่ ๑
ประเด็นข่าว
                        อิเหนา ศึกกะมังกุหนิง ตอนที่ ๑
                         ภาพนางฟ้ามาเฟีย(ฉายา) จาก : https://www.google.co.th
            คุณคิดยังไงกับฉายาของดารา ปี 2554 แต่ละคนคะ
           ๑.พิงกี้ สาวิกา ไชยเดช  ฉายา ส่าหรีลี้รัก 
           ๒.ธัญญ่า ธัญญาเรศ เองตระกูล  ฉายา เมียหลวงลวงสังหาร
           ๓.ฟิล์ม – รัฐภูมิ  ฉายา  พ่อฟิล์มฉึกฉึก
           ๔.แอนนี่ บรู๊ค  ฉายา ม่ายดีเอ็นเอ
           ๕.มาช่า วัฒนพานิช  ฉายา ซุป’เบอร์รี่
           ๖.กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์ ฉายา ปลิงปากหวาน
           ๗.พลอย เฌอมาลย์  ฉายา  นางฟ้ามาเฟีย
         ๘.ได๋ – ไดอานา  ฉายา หมวยแอ๊บแตก
         ๙.เวียร์ ศุกลวัฒน์  ฉายา กวน มึน เมา
       ๑๐.ณเดชน์ คุกิมิยะ ฉายา ซุปตา’พันธุ์ข้าวเหนียว
                             ที่มา :  https://guru.google.co.th
                        
                      เห็นฉายาของดารา แล้วทำให้นึกถึงบทละครรำเรื่องอิเหนา
          ที่ตัวละครเอกของเรื่อง ทำเรื่องวุ่นวายมากมาย  จนเกิดเป็นสำนวน
          ที่ใช้ในภาษาไทย  "ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง"  ซึ่งหมายความว่า
         ตีแต่ว่าคนอื่นเขา แต่ตัวเองกลับทำเสียเอง  

 
ประเด็นการศึกษา
 บทละครรำเรื่องอิเหนา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
เรื่อง  อิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง
จุดประสงค์ เพื่อให้นักเรียนอ่านและทำความเข้าใจเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเรียนเรื่องอิเหนา
คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาบทละครรำเรื่องอิเหนา แล้วเติมคำ ข้อความเพื่อให้เรื่องสมบูรณ์

๑. ผู้ทรงนิพนธ์คือ…พระสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย…. 
     ลักษณะคำประพันธ์คือ…กลอนบทละคร……
     คำประพันธ์นี้     มีลักษณะเด่นคือขึ้นต้นด้วย…ขึ้นต้นด้วย “เมื่อนั้น,บัดนั้น,มาจะกล่าวบทไป”
     ขึ้นต้นด้วย เมื่อนั้น  สำหรับตัวละครที่เป็นกษัตรย์ , ตัวเอกของเรื่อง
     ขึ้นต้นด้วย บัดนั้น สำหรับตัวละครที่เป็นทหาร 
     ขึ้นต้นด้วย มาจะกล่าวบทไป  สำหรับกล่าวถึงเรื่องใหม่
๓. เรื่องอิเหนา มีครั้งแรกตั้งแต่สมัย…กรุงศรีอยุธยา….ผู้ทรงนิพนธ์คือ…
      เจ้าฟ้ากุณฑล   พระราชนิพนธ์  อิเหนาใหญ่
      และเจ้าฟ้ามงกุฎ  พระราชนิพนธ์  อิเหนาเล็ก
๔. เรื่องอิเหนานี้ มีเค้าความจริงจาก …ประวัติศาสตร์ชวา… 
      แต่เดิมมีชื่อ…นิทานปัญหยี…และ...ดาหลัง.........
๕. วรรณคดีสโมสรยกย่องบทละครเรื่องอิเหนาว่า …ยอดของบทละครรำ……
      เพราะดีเด่นในด้าน…
             ๑) บทกลอนไพเราะ
             ๒) มีสุนทรียภาพ(สุนทรียภาพคือความงามในการแสดงจินตนาการของกวี)
             ๓) ดีเด่นด้านการละคร(ท่ารำงาม เครื่องแต่งกายงาม ทำนองเพลงไพเราะ ฉากสวย)
๖. จุดมุ่งหมายในการแต่งอิเหนาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คือ……เพื่อใช้แสดงละครรำ 
     หรือละครใน…
๗. กษัตริย์วงศ์เทวัญมี……องค์ คือ…ท้าวกุเรปัน,ท้าวดาหา, ท้าวกาหลัง และ
      ท้าวสิงหัดส่าหรี…………………
๘. อิเหนาเป็นโอรสของ…ท้าวกุเรปันกับประไหมสุหรี….มีลักษณะ…รูปงาม มีความเก่งกล้า
     สามารถด้านการรบ…
๙.  บุษบาเป็นพระราชธิดาของ…ท้าวดาหากับประไหมสุหรี…. มีลักษณะ…มีความงาม กลิ่นกาย
      หอมกลิ่นดอกไม้…
            อิเหนา ศึกกะมังกุหนิง ตอนที่ ๑
                                            ภาพจาก :   https://guru.google.co.th
๑๐. อิเหนาและบุษบาเป็น…ตุนาหงัน…..(…คู่หมั้น..) ตั้งแต่ยังเด็ก
๑๑. อิเหนาอายุได้ ๑๕  ต้องเดินทางไป งานศพพระอัยกี..ที่เมือง…หมันหยา…
       
ได้พบกับ…จินตหรา  เกิดหลงรัก และไม่ยอม…เมืองกุเรปัน…..
๑๒. ท้าวกุเรปันมีหนังสือให้อิเหนากลับเมืองเพื่อ…เตรียมอภิเษกกับบุษบา……
๑๓. อิเหนาออกอุบาย…ขอประพาสป่า….แล้วปลอมตัวเป็น…โจรป่า…..ชื่อ…มิสาระปันหยี…
       ตั้งใจจะเดินทางไป…เมืองหมันยา….
       ระหว่างทางได้สู้รบกับ…กษัตริย์หลายเมือง(ท้าวปัญจรากัน,ท้าวปักมาหงัน,ท้าวบุศสิหนา
        และมีชัยชนะ
   และได้โอรส ธิดาเมืองต่างๆ มาเป็นเชลย คือ…
        นางสะการะวาตี  พระธิดาท้าวปัญจรากัน      รับไว้เป็นชายา
        นางมาหยารัศมี…พระธิดาท้าวปักมาหงัน     รับไว้เป็นชายา…
         และสังคามาระตา อิเหนารับมาเลี้ยงอย่างอนุชา
๔. อิเหนาเดินทางถึงเมืองหมันหยา และได้…นางจินตหรา เป็นชายา…..บอกตัดรอนบุษบา
๑๔. ท้าวดาหาโกรธมาก ประกาศว่า…ถ้าใครมาขอบุษบาจะยกให้….
        ผู้ทีมาสู่ขอนางบุษบาคือ…จรกา..
๑๕. ผู้ที่ให้ช่างไปวาดรูปนางบุษบาคือ…จรกา…ช่างวาด วาดรูปจำนวน…๒..รูป ระหว่างเดินทาง
        กลับถูกลักรูปภาพไป ผู้ที่ลักรูปวาดของนางบุษบาคือ…ปะตาระกาหลา……(ปู่ของอิเหนา)
๑๖. ท้าวกะหมังกุหนิงมีพระราชโอรสชือ…วิหยาสะกำ……และ
       ท้าวกะหมังกุหนิงมีพระอนุชา ๒ องค์        คือ…ท้าวปะหยัง  และท้าวปะหมัน………
๑๗. วิหยาสะกำตามกวางมาถึงต้นไทรได้พบกับภาพวาดของนางบุษบาเกิดความรู้สึก…
        คลั่งไคล้ใหลหลง
๑๘. ท้าวกะหมังกุหนิงส่งราชทูตไปเมืองดาหาเพื่อ…สู่ขอนางบุษบา……
        ผลคือ…ท้าวดาหาไม่ยกให้  เพราะได้ยกให้จรกาแล้ว
๑๙. ท้าวกะหมังกุหนิงต้องการยกทัพไปเมืองดาหาเพื่อ……ทำสงครามแย่งชิงนางบุษบา 
      (ศึกชิงนาง)…
๒๐. โหรทำนายว่าอย่างไรบ้าง (เขียนให้ชัดเจน)   
       ๑) ถ้ายกกองทัพไปในขณะนี้จะแพ้ และได้รับอันตรายถึงชีวิต  
       ๒) ให้งดก่อน ๗  วัน 
       ๓) พ้นจาก ๗ วันแล้วค่อยมาดูฤกษ์ใหม่.......
๒๑. เพราะเหตุใดท้าวกะหมังกุหนิงจึงไม่เปลี่ยนพระทัย(ทั้งที่รู้คำทำนายจากโหร)…
         ๑) เกรงว่าทหารจะติฉินว่ากลัวข้าศึก และ
         ๒) ถ้ายกกองทัพช้าไป กองทัพใหญ่ของวงศ์เทวัญจะมาถึง กลายเป็นทัพใหญ่ 
              จะต่อสู้ยากยิ่งกว่า....     และเอาชนะได้ยาก
         ๓) ถ้าไม่ได้บุษบา วิหยาสะกำต้องตาย เมื่อลูกตาย ท้าวกะหมังกุหนิงก็ต้องตาย
         ๔) ปล่อยให้เป็นเรื่องของเวรกรรม
๒๒. เมื่อรู้ข่าวศึก ท้าวดาหาขอความช่วยเหลือจากเมืองใดบ้าง…จากเมืองกุเรปัน,เมืองกาหลัง 
       และเมืองสิงหัดส่าหรี…………และส่งให้ปะหรัดกะติกา(โอรสท้าวดาหากับมะเดหวี) เตรียม
       การป้องกันพระนคร

๒๓. ท้าวสิงหัดส่าหรีส่งใครไปช่วยท้าวดาหา…ส่งสุหรานากง (เป็นโอรสของท้าวสิงหัดส่าหรี
        กับมะเดหวี) ไปช่วยเมืองดาหา
๒๔. ท้าวกาหลังส่ง…เสนา ตำแหน่งตำมะหงง กับดะหมัง….ไปช่วยเมืองดาหา
๒๕. ท้าวกุเรปันทำอย่างไรเมื่อรู้ข่าวศึก…
           ๑) ให้เขียนจดหมาย ๒ ฉบับ ส่งไปที่เมืองหมันหยา  
                      ฉบับหนึ่งกำชัดให้ส่งให้อิเหนา อีกฉบับส่งให้ท้าวหมันหยา
           ๒) สั่งกะหรัดตะปาตี(โอรสของท้าวกุเรปันกับลิกู)ยกทัพไปรอสมทบกับทัพอิเหนา
                ที่จะยกมาจากเมืองหมันหยา 
 (ด้วยความมั่นใจว่าอิเหนาจะยกไปช่วยดาหา)
๒๖. ในขณะเกิดเรื่องนี้อิเหนาประทับอยู่เมืองใด....  เมืองหมันหยา......
๒๗. ในการทำสงครามครั้งนี้ สังคามาระตาทูลขออะไรกับอิเหนา ...ขอต่อสู้กับวิหยาสะกำ…
๒๘. จากข้อ ๒๗ อิเหนาวินิจฉัยว่า …ฝีมือการใช้ทวนของสังคามาระตาจะเอาชนะได้……
        จึงอนุญาตให้…สังคามาระตาต่อสู้กับวิหยาสะกำ ได้….
         ผลการต่อสู้ คือ……สังคามาระตาสังหารวิหยาสะกำ ด้วยทวน………
๒๙. ผู้ที่เข้าสะกัดท้าวกะหมังกุหนิงมิให้ไล่ล่าสังคามาระตาคือ……อิเหนา…………
๓๐. คู่ต่อสู้ที่เหมาะสมกัน ฝีมือทัดเทียมกัน คือ……อิเหนา…..กับ…ท้าวกะหมังกุหนิง……………
๓๑. การต่อสู้ของอิเหนากับท้าวกะหมังกุหนิง จบลงด้วย 
……อิเหนา…สังหาร…
        ท้าวกะหมังกุหนิง.ด้วย   อาวุธ …กริช…
๓๒. ศึกกะหมังกุหนิง ผู้พ่ายแพ้คือ…
ท้าวกะหมังกุหนิง……  และ ระตู…ปาหยัง…และ
       ท้าวประหมันขอส่ง…เครื่องราชบรรณาการให้อิเหนา ทุกปี…
๓๓. ………อิเหนา….เป็นผู้อนุญาตให้นำศพของ…ท้าวกะหมังกุหนิง และวิหยาสะกำ…ไปจัดพิธี
        ตามประเพณี
๓๔. ท้าวดาหา มีความคิดว่า ศึกครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะ…อิเหนา………………
๓๕. การที่ท้าวดาหา ยกบุษบาให้กับจรกานั้น ทำได้เพื่อ…ประชดอิเหนา
๓๖. วิเคราะห์ตามสถานการณ์แล้ว เหตุที่ท้าวกะหมังกุหนิง และวิหยาสะกำต้องมาตาย
      เพราะเหตุใด …
ไม่รู้จักประมาณตน
๓๗. ท้าวกะหมังกุหนิงทำศึกด้วยแนวคิดอย่างไร จึงเป็นเหตุให้ต้องพบจุดจบตามเนื้อเรื่อง 
       อารมณ์ มุ่งที่จะเอาชนะ…….
๓๘. ใครมีส่วนทำให้เกิดศึกกะหมังกุหนิง บ้าง……
ท้าวกะหมังกุหนิง, อิเหนา,
         ท้าวดาหา……………
๓๙.  ให้บอกลักษณะความไพเราะงดงาม และวรรณศิลป์ที่ปรากฏของบทละครเรื่องอิเหนา 
       
๑)…การเล่นคำ……………      ๒)…การใช้รสในวรรณคดี…………………
       ๓)…ใช้โวหารภาพพจน์ เช่นอุปมาโวหาร อุปลักษณ์  สัญลักษณ์ อธิพจน์ ฯลฯ…………
๔๐. ตำแหน่งเสนาจากเรื่องอิเหนา มี…….ตำแหน่ง คือ…
ตำมะหงง, ดะหมัง ,ยาสา, 
        ปาเตะ……
๔๒. ตำแหน่งมเหสีในวงศ์เทวัญ มี…๕…..ตำแหน่ง คือ…
ประไหมสุหรี,มะเดหวี, มะโต, ลิกู,
        และ   เหมาหลาหงี…
๔๓. ละครใน คือ…ละครที่แสดงในราชสำนักวรรณคดีที่ใช้แสดงละครในมี……เรื่อง      
        คือ…
อิเหนา,    รามเกียรติ์  และอุณรุท…
๔๔. เพลงหน้าพาทย์ คือ.... เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยา พฤติกรรมต่างๆ และอารมณ์
         ของตัวละคร ……

๔๕. เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในบทละครเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง มีอะไรบ้าง
        แต่ละเพลง   ใช้อย่างไร
           ๑)  เพลงเสมอ  
ใช้ประกอบกิริยาการเดินทางระยะใกล้ ไปช้าๆ ไม่รีบร้อน
           ๒) เพลงเชิด   
ใช้ประกอบกิริยาการเดินทางระยะไกลไปมาอย่างรีบร้อน
           ๓) เพลงเชิดฉิ่ง    
ใช้ประกอบการรำก่อนที่จะใช้อาวุธสำคัญหรือก่อนกระทำกิจสำคัญ
          ๔)  เพลงโอด   
 สำหรับการร้องไห้
          ๕)  เพลงพญาเดิน  
ประกอบกิริยาการเดินไปมาของตัวละครสูงศักดิ์
          ๖)  เพลงกลอนโยน 
การเดินทางเป็นริ้วขบวน หรือประกอบการยกทัพ หรือขบวน
                 พยุหยาตรา   ที่มีศักดิ์ศรี พรั่งพร้อม  ด้วยเครื่องอิสริยยศทั้งหลาย
          ๗) เพลงกลอง (เชิดกลอง) สำหรับการต่อสู้ การรุกไล่ฆ่าฟันกันโดยทั่วไป ...
ที่มา :  เพลินพิศ  สุพพัตกุล  แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น ม.๔

ที่มา :  เพลินพิศ  สุพพัตกุล คู่มือการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น ม.๔
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3402

อัพเดทล่าสุด