อิเหนา ศึกกะหมังกุหนิง ตอนที่ ๒


13,975 ผู้ชม


การอ่านจับใจความสำคัญจากเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง   

อิเหนา ศึกกะหมังกุหนิง ตอนที่ ๒

ประเด็นข่าว  สำนวนไทยที่มาจากวรรณคดี

       ที่มาของสำนวนไทยหลายสำนวนเกิดจากเรื่องอิเหนา เช่น ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง  
คู่ตุนาหงัน          ไม่ดูผี            วิลิศมาหรา
           วันนี้ขอสนทนา สำนวน   คู่ตุนาหงัน  ไม่ดูผี  และวิลิศมาหรา  ดังนี้
   สำนวน  คู่ตุนาหงัน      แปลว่า คู่หมั้น 
   สำนวน     วิลิศมาหรา 
                    คำว่า วิลิศมาหรา (อ่านว่า วิ-ลิด-สะ-มา-หฺรา) เป็นคำชวาที่ปรากฏในวรรณคดี
เรื่องอิเหนา   เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์อยู่นอกเมืองดาหาไปทางตะวันออก ต้องเดินทางวันหนึ่งจึงจะถึงภูเขาวิลิศมาหรามีศาลเทพารักษ์ที่เป็นทองทั้งหลัง และประดับประดาด้วยลวดลายฉลุงดงามอลังการ บริเวณโดยรอบมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม
        ในภาษาไทย คำว่า วิลิศมาหรา ใช้ในความหมายว่า สวยงามอย่างหรูหรา เช่น การแสดงบนเวทีเมื่อคืนนี้แต่ละชุดวิลิศมาหราจริง ๆ ความหมายนี้น่าจะได้มาจากลักษณะสวยงามอลังการของภูเขาวิลิศมาหรา หรือมิฉะนั้นก็อาจเป็นเพราะมีเสียงคำว่า “หรา” พ้องกับคำว่า “หรูหรา” ก็ได้ 
   สำนวน     อย่ามาดูผี   
                   อิเหนานั้น ไม่อยากจะจาก นางจินตราวาตีไปเลย แต่ก็ขัด คำสั่งพ่อไม่ได้ 
เพราะพ่อกำชับมาว่า หากไม่ยกทัพไปช่วย ก็ตัดพ่อตัดลูก ไม่ต้องเผาผีกันอีก 
                  "หากแม้นมิยกพลไกรไปช่วย               ตัวเราม้วย ก็อย่า มาดูผี 
              อย่าดูแม้เปลวอัคคี                                   ต่อแต่นี้ขาดกันจนบรรลัย "  
                   ที่มา :  เพลินพิศ  สุพพัตกุล  บทความน่ารู้  ประกอบการเรียนภาษาไทย

              วรรณคดี และสำนวนไทย เป็นวิถีชีวิตของคนไทย สะท้อนความเป็นอยู่
เรื่องราว ประเพณี ตลอดจนความเชื่อ และยังมีวรรณคดีหลายเรื่องที่เป็นที่มาของสำนวนไทย เช่น 
     จากเรื่อง  รามเกียรติ์   สำนวน กลิ้งทูต,สิบแปดมงกุฎ ฯลฯ
     จากเรื่อง  มหาเวสสันดรชาดก สำนวน ชักแม่น้ำทั้งห้า, กินจนพุงแตก ฯลฯ 
     จากเรื่อง  
อิเหนา  สำนวน จรกาหน้าหนู, วิลิศมาหรา,อย่ามาดูผี ฯลฯ
ประเด็นการศึกษา  บทละครรำเรื่องอิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

การอ่านจับใจความจากเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง

คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาบทละครรำเรื่องอิเหนา แล้วเติมคำ ข้อความเพื่อให้เรื่องสมบูรณ์ 
ตอนที่ ๒ เนื้อเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
                      ………………………….……………………………
๑. พระอนุชาของท้าวกะหมังกุหนิงทั้ง ๒ องค์ คือ …ท้าวปะหยัง.และ …ท้าวปะหมัน….
๒. พระอนุชาทั้งสอง ไม่เห็นด้วย  ที่ท้าวกะหมังกุหนิง จะยกทัพไปดาหา จึงทูลทัดทาน
     ดังคำกลอน
                อันสุริย์วงส์เทวัญอสัญหยา       เรืองเดชเดชาชาญสนาม
                ทั้งโยธีก็ชำนาญการสงคราม     ลืมนามในชวาระอาฤทธิ์
                กรุงกษัตริย์ขอขึ้นก็นับร้อย        เราเป็นเมืองน้อยกระจิหริด
                ดังหิ่งห้อยจะแข่งแสงอาทิตย์     เห็นผิดระบอบบุราณมา…

๓. จากบทประพันธ์บรรทัดที่ ๔ หน้า ๓๗
            "ดังหิ่งห้อยจะแข่งแสงอาทิตย์     เห็นผิดระบอบบุราณมา" 
       เมืองที่เปรียบเป็นหิ่งห้อยคือ …เมืองกะหมังกุหนิง………………
       เมืองที่เปรียบเป็นแสงอาทิตย์คือ ……เมืองดาหา ……………….
๔. บทประพันธ์บรรทัดที่ ๔ หน้า ๓๘ 
         "พี่ดั่งพฤกษาพนาวัน          จะอาสัญเพราะลูกเหมือนกล่าวมา"
          ต้นไม้ที่ตายเพราะลูก คือ ………กล้วย  ข้าวโพด  ข้าว………….
๕. ท้าวดาหาออกรับราชทูตเมืองกะหมังกุหนิง เวลา ………บ่ายสามนาฬิกา…..
๖. "ชะลอยจะเป็นบุพเพนิวาสา     เทวอารักษ์มาชักให้  
     มีความเสน่หาอาลัย             แต่หลงใหลใฝ่ฝันรันทด" 
    เป็นคำทูลของ……ท้าวกะหมังกุหนิงเขียนมาในราชสาส์น ให้ราชทูตจากเมืองกะหมัง
    กุหนิง
…………..ทูลต่อ……ท้าวดาหา  (ในการสู่ขอนางบุษบาให้กับวิหยาสะกำ  
    โอรสท้าวกะหมังกุหนิง)………
๗. ท้าวดาหา ตอบราชทูตเมืองกะหมังกุหนิงอย่างไร ในการสู่ขอพระราชธิดา (ให้ยกคำประพันธ์)
      …………… “อันอหนะบุษบาบังอร    ครั้งก่อนจรกาตุนาหงัน
                    ได้ปลดปลงลงใจให้ปัน  นัดกันจะแต่งการวิวาห์
                     ซึ่งจะรับขอสู่ระตูนี้        เห็นผิดประเพณีเป็นหนังหนา
                     ฝูงคนทั้งแผ่นดินจะนินทา     สิ่งของที่เอามาจงคืนไป”
       หมายความว่า  ไม่สามารถยกนางบุษบาให้กับวิหยาสะกำได้ เพราะยกให้จรกาไปแล้ว
                 อิเหนา ศึกกะหมังกุหนิง ตอนที่ ๒
๘. "ถ้าแม้นมิยินยอมอนุญาต    ให้พระราชธิดามารศรี"
       เร่งระวังพระองค์ให้จงดี ตกแต่งบุรีให้มั่นคง" 
      เป็นคำพูดของ…ราชทูตจากเมืองกะหมังกุหนิง………….
       พูดกับ……ท้าวดาหา    
       หมายความว่า………หากไม่ยอมยกนางบุษบาให้วิหยาสะกำ (โอรสของท้าว
       กะหมังกุหนิง)  ให้เตรียมตัวรับศึก จากเมืองกะหมังกุหนิง
๙. ท้าวดาหาให้ทหารแจ้งข่าวศึก ไปบอกเมือง  กุเรปัน ,เมืองกาหลัง  เมืองสิงหัดส่าหรี  
     และเมืองล่าสำ    (เมืองของจรกา)

๑๐. ท้าวกุเรปัน จัดการอย่างไรเมื่อรู้ข่าวศึก ……ดังคำกลอน
                      ครั้นเสร็จสั่งสองเสนา   จงถือไปหมันหยาสองฉบับ
          ใบหนึ่งนั้นเร่งกองทัพ               กำชับอิเหนาให้ยกมา
         ใบหนึ่งนั้นไปให้ระตู                  ท้าวผู้ผ่านเมืองหมันหยา
          จงรีบไปให้ถึงพารา                  แต่ในสิบห้าราตรี
   หมายความว่า  ท้าวกุเรปันให้เขียนจดหมายขึ้นมา ๒ ฉบับ ให้ม้าเร็วนำไปที่เมืองหมันหยา   
     ฉบับหนึ่ง ส่งให้อิเหนา  และอีกฉบับหนึ่งส่งให้ท้าวหมันหยา
  
๑๑. ท้าวกุเรปัน มอบหมายให้… กะหรัดตะปาตี (โอรสของท้าวกุเรปันกับลิกู)  ยกทัพไปสมทบ
      ทัพอิเหนา  ที่จะยกมาจากเมืองหมันหยา………
๑๒. เมืองกาหลัง ส่งเสนา ๒ ตำแหน่ง คือ ตำมะหงง และ ดะหมัง  คุมทหารไปช่วยเมืองดาหา
๑๓. เมืองสิงหัดส่าหรี ส่งสุหรานากง  ไปช่วยเมืองดาหา…….. 
๑๔. กองทัพของท้าวกะหมังกุหนิง ให้ใครเป็นทัพหน้า ใครเป็นทัพหลวง และใครเป็นทัพหลัง 
        ทัพหน้า คือ…วิหยาสุกำ…….
        ทัพหลวงคือ ……ท้าวกะหมังกุหนิง…….. 
        ทัพหลังคือ……ท้าวปาหยัง และท้าวปะหมัน………..

๑๕. โหรทำนายดวงชะตาของท้าวกะหมังกุหนิง กับ วิหยาสะกำ ว่า…พระชันษาถึงฆาต……
       ให้งด ก่อน… วัน (งดอยู่อย่าเสด็จสักเจ็ดวัน  )
                  ท้าวกะหมังกุหนิง ให้เหตุผลในการต้องรีบยกทัพไป(ไม่เชื่อคำเตือนของโหร) คือ
          ๑)…สั่งให้ทหารจัดทัพแล้ว ต้องยกทัพ (เป็นกษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ)......................
          ๒)…ถ้ายกไปช้า  จะมีเมืองต่างๆ ที่จะมาช่วยดาหา  การเอาชนะจะยากยิ่งกว่า
          ๓)….เนื่องจากต้องทำตาม ข้อ ๑) และ ข้อ๒) จึงให้เป็นเรื่องของเวรและกรรม
๑๗. ทัพของท้าวกะหมังกุหนิง เดินทาง ……๑๐………วัน ถึงเมืองดาหา 
๑๘. ท้าวกะหมังกุหนิง ให้ตั้งทัพแบบ…นาคนาม… มีภูมิประเทศเป็นแบบได้แก่… ลำธารน้ำ  
       และต้นไม้ใหญ่.
๒๐. ท้าวดาหามอบหมายให้……ปะหรัดกะติกา (โอรสท้าวดาหากับ มะเดหวี)….ดูแลป้องกัน   
  
    เมืองดาหา
๒๑. กองทัพที่มาช่วยเมืองดาหาและมาถึงก่อนได้แก่ทัพของเมือง…สิงหัดส่าหรี (สุหรานากง
      คุมทัพ สมทบกับทัพจากเมืองกาหลัง ซึ่งมี ตำมะหงง กับดะหมังคุมทัพมา)……
๒๓. เมื่อดะหมังนำจดหมายของท้าวดาหาไปให้อิเหนานั้น อิเหนาแจ้งว่าอีก… .วัน 
       จึงจะยกทัพไป
๒๔. ท้าวหมันหยา สั่งให้…ระเด่นดาหยน(โอรสท้าวหมันหยากับมะเดหวี) .คุมทัพเมืองหมันหยา
      ไปช่วยอิเหนารบ
๒๕. นางจินตะหรา ไม่พอใจที่อิเหนาจะไปเมืองดาหา…..ดังคำประพันธ์ 
                             เมื่อนั้น                  จินตะหราวาตีมีศักดิ์
                ฟังตรัสขัดแค้นฤทัยนัก            สะบัดพักตร์ผินหลังไม่บังคม
               แล้วตอบถ้อยน้อยหรือพระทรงฤทธิ์    ช่างประดิษฐ์คิดความพองามสม
              ล้วนกล่าวแกล้งแสร้งแสเล่ห์ลม    คิดคมแยกคายหลายชั้น
              พระจะไปดาหาปราบข้าศึก          หรือรำลึกถึงคู่ตุนาหงัน
               ด้วยสงครามในจิตยังติดพัน         จึงบิดผันพจนาไม่อาลัย....
 

๒๖. อิเหนาประกอบพิธีทางไสยศาสตร์ ก่อนออกทัพ พิธีนั้นคือ…พิธีฟันไม้ข่มนาม  และ
       พิธีเบิกโขลนทวาร……
๒๗. จากบทท่องจำ หน้า ๕๙ มีนกกี่ชนิด ……๘……..ดีเด่นทางวรรณศิลป์  ดังนี้
         ๑) เล่นคำพ้อง  คือชื่อนก ชื่อไม้ และกริยาความรู้สึกของตัวละคร  เช่น
            นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนที่แนบนวลสมรจินตะหรา
            จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสะการะวาตี
         ๒) มีภาพพจน์แบบอุปมา  สังเกตจากคำว่าเหมือน 
๒๘. อิเหนาให้จัดทัพเป็นรูป…ครุฑนาม…(ภูมิประเทศ  ต้นไม้ใหญ่และภูเขา ) แล้วส่งตำมะหงง…
      ไปเฝ้าท้าวดาหา.
๒๙. ผู้ที่ยกทัพมาสมทบกับทัพอิเหนา นอกเมืองคือ……สุหรานากง………………….
๓๐. กษัตริย์ที่อยู่ในทัพของอิเหนามีทั้งหมด … องค์ ได้แก่…
             อิเหนา   โอรส  ท้าวกุเรปัน และประไหมสุหรี
             
กะหรัดตะปาตี  โอรสท้าวกุเรปัน และ ลิกู (มีศักดิ์เป็นพี่ชายอิเหนา)
             สุรานากง   โอรส ท้าวสิงหัดส่าหรี และมะเดหวี  
             สังคามาระตา โอรส ท้าวปักมาหงัน (เชลย) อิเหนารัก -เลี้ยงแบบอนุชา
      และ ดาหยน   โอรส  ท้าวหมันหยา และ มะเดหวี

๓๑. ท้าวกะหมังกุหนิง เมื่อพบอิเหนาแล้วรู้สึกอย่างไร ……หวาดหวั่น……(เพราะได้ยินว่า
      อิเหนาเป็นกษัตริย์นักรบที่เก่งกล้า)…
๓๒. ผลไม้ที่มีการช่วงชิง กันนั้นหมายถึง นารีผล ผู้ที่มาช่วงชิงคือ…เทวดา,คนธรรพ์….นักสิทธิ์.
๓๓. ผู้ที่ขอต่อสู้กับวิหยาสะกำ คือ…สังคามาระตา……ใช้อาวุธใดในการสังหาร ……ทวน……….
๓๔. ผู้สังหารท้าวกะหมังกุหนิงคือ…อิเหนา………อาวุธที่สังหารคือ………กริช………..
๓๔. "ทนต์แดงดั่งแสงทับทิม เพริศพริ้มเพรารับกับขนง
         เกศาปลายงอนงามทรง เอวองค์สารพัดไม่ขัดตา" 
        บทประพันธ์นี้กล่าวถึง……วิหยาสะกำ     ผู้พูดคือ  อิเหนา.
                                      ท้าวกะหมังกุหนิง ผู้เย้อหยิ่งและทระนง

                                     
 อิเหนา กษัตริย์ผู้มัวเมาในความงาม
                                      จินตะหราวาตีสตรีที่ถูกลืม

                                     บุษบา หญิงไร้เดียงสา หรือเฉียบคม
                                      บุษบาองค์หญิงผู้สูงศักดิ์
                                       คุณค่าของวรรณคดีเรื่องอิเหนา


  ที่มา : เพลินพิศ   สุพพัตกุล  แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
ที่มา : เพลินพิศ   สุพพัตกุล  คู่มือการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3420

อัพเดทล่าสุด