มีทิศทางในการคิด ชีวิตมีคุณค่า


2,049 ผู้ชม


เป็นการเร่งเร้าให้คนไทยได้พัฒนาความคิดอันเป็นเป้าหมายสุดท้ายในการพัฒนาคุณภาพการคิด   

มีทิศทางในการคิด  ชีวิตมีคุณค่า

ประเด็นข่าว "พาณิชย์' ปิ๊งไอเดีย ผุดแจกรางวัล ความคิดสร้างสรรค์"

                                มีทิศทางในการคิด ชีวิตมีคุณค่า
                            ภาพจาก : https://tnews.teenee.com

"พาณิชย์" ปิ๊งไอเดีย ผุดรางวัล "PM’s Creative Award" 
มอบให้ผู้ใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างผลงานได้อย่างโดดเด่น ดีเดย์แจกครั้งแรก
๔ เม.ย.๕๔

       เมื่อวันที่ ๒ พ.ย. นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ 
เปิดเผย   “โครงการนี้เป็นโครงการหนึ่ง ภายใต้นโยบายเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 
เพื่อยกย่องความสำเร็จของคนไทยที่มีผลงานดีเด่นที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ 
เพื่อทำชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ และเพื่อกระตุ้นให้เกิดกระแสเมืองไทยเมืองนักคิด 
จะมีการมอบรางวัลวันที่ ๔ เม.ย.๕๔ ผู้สนใจสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่
๑๖ พ.ย.๕๓-๗ ม.ค.๕๔ ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา 
            ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์  วันอังคารที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓

    จากประด็นข่าวข้างต้น จะเห็นความพยายามของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ที่ใช้กลวิธีในการกระต้น และเร่งเร้าให้คนไทย ได้นำเสนอแนวคิดที่เป็นประโยชน์
ต่อส่วนรวม  โดยวางเงื่อนไขคือรางวัล ไม่ใช่เพียงเพื่อเฟ้นหาคนที่มีความคิดสร้างสรรค์
เท่านั้น  แต่เป็นการเร่งเร้าให้คนไทยได้พัฒนาความคิดอันเป็นเป้าหมายสุดท้ายในการ
พัฒนาการคิด


ประเด็นการศึกษา  ความคิดกับภาษา ตอน ทิศทางในการคิด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

ทิศทางในการคิด 
           ความคิดก็คือต้นกำเนิดของการกระทำ หรือการกระทำของคนเราเกิดจากความคิด 
นั่นเอง ฉะนั้น ถ้าเราคิดดี มองโลกในแง่ดี คิดปฏิบัติ  คิดทำแต่สิ่งที่ดีก็จะมีความสุข 
           ในทางตรงข้าม ถ้าคนเรา คิดไม่ดี คิดร้าย มองโลกในแง่ร้าย ก็จะก่อให้เกิด
ความเดือดร้อนทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น ตลอดจนต่อ สิ่งแวดล้อม ทำให้สังคมขาดความ
สงบสุขได้ 
                           มีทิศทางในการคิด ชีวิตมีคุณค่า
                                 ภาพจาก : https://share.psu.ac.th

        เกี่ยวกับเรื่องการคิด  พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน
พระบรมราโชวาทไว้ในพิธีพระราชทาปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ ๒๖
ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๑  มีความตอนหนึ่ง  ดังนี้
        “การคิดนั้นอาจคิดได้หลายอย่างจะคิดให้วัฒนะคือคิดแล้วทำให้เจริญงอกงามก็ได้
จะคิดให้หายนะ คือคิดแล้วทำให้พินาศฉิบหายก็ได้   การคิดให้เจริญจึงต้องมีหลักอาศัย
หมายความว่า  เมื่อคิดเรื่องใด  สิ่งใด  ต้องตั้งใจให้มั่นคงในความเป็นกลางไม่ปล่อยให้
อคติอย่างหนึ่งอย่างใดครอบงำ  ให้มีแต่ความจริงใจ  ตรงตามเหตุตามผลที่ถูกแท้และ
เป็นธรรม”
         พระบรมราโชวาทนี้ มีคุณค่า  ชี้ให้เห็นทิศทางในการคิดที่ชุดเจน
         ต้องคิดไปในทางที่เป็นคุณประโยชน์  หรือวัฒนะ
         ทิศทางในการคิดที่เป็นคุณประโยชน์อาจแยกได้หลายทาง ที่สำคัญ เช่น
                 คิดช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
                 คิดหาทางประนีประนอมกัน
                 คิดหาวิธีที่จะให้บุคคลฝ่ายต่างๆ ร่วมมือกันประกอบกรณียกิจน้อยใหญ่
                 คิดหาทางป้องกันอันตรายไม่ให้เกิดแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม
                  คิดยกย่องสรรเสริญผู้กระทำความดี 
                 คิดหาวิธีที่จะดำรงชีวิตให้เป็นปกติสุข
                              ฯลฯ

           เมื่อมีทิศทางในการคิดไปในทางที่เป็นคุณประโยชน์แล้ว  ย่อมแสดงออก
ซึ่งความคิดนั้นๆ  เป็นภาษาสื่อสารกับบุคลอื่นในสังคม ก็จะก่อประโยชน์
 เมื่อความคิดนั้นเปลี่ยนการกระทำ ผลของการกระทำก็จะก่อให้เกิดประโยชน์สุข
 นี่คือจุดมุ่งหมายขั้นสุดทายของการพัฒนาความคิด  
 และเป็นจุดหมายสูงสุดของการพัฒนาความคิดเช่นกัน

ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
        ๑. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน รวบรวมความคิดในทางวัฒนะของสมาชิกในกลุ่ม 
            ให้ได้มากที่สุด  ภายในเวลา ที่กำหนด
        ๒. ให้หาข่าวที่สะท้อนให้เห็นทิศทางความคิดในทางวัฒนะ กลุ่มละ  ๑ ข่าว
             แล้วอธิบายวิธีการคิดนั้นๆ มีประโยชน์อย่างไร
   
  
กิจกรรมเสนอแนะ
       ๑. แบ่งกลุ่ม  แต่งเพลงประกอบการเรียนเรื่องทิศทางในการคิดให้รุ่งเรือง

สมรรถนะที่ต้องการเน้น
       ๑. มีความสามารถในการคิด
       ๒. มีความสามารถในการสื่อสาร

กิจกรรมบูรณาการ   
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ เรื่อง ศิล สมาธิ ปัญญา


ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล   แผนการจัดการเรียนรู้  ภาษาไทย  ชั้นม.๕
ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล  คู่มือการสอนภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3301

อัพเดทล่าสุด