สุริยคราสกับจันทรคราส สองพี่น้องเกิดในครอบครัวที่ยากจนตั้งอยู่นอกเมืองจำปา
จิตรกรรมฝาผนังวัดหนองบัว เรื่องจันทรคราสชาดก
รูปภาพ :www.ezytrip.com/programme/tour/105.htm
สุริยคราสกับจันทรคราส สองพี่น้องเกิดในครอบครัวที่ยากจนตั้งอยู่นอกเมืองจำปา มีพญาปันธุเป็นเจ้าเมือง ทั้งสองได้ช่วยงานพ่อแม่ด้วยการไปขุดปูมาทำอาหาร ความเป็นเด็กจึงไม่ได้แบ่งไว้ให้พ่อ แม่ ตอนเย็นพ่อกับแม่กลับมาจากไร่ไม่มีอาหารกิน ด้วยความโมโหจึงไล่ทั้งสองออกบ้าน
สองพี่น้องหลงอยู่ในป่า เห็นงูกับพังพอนสู้กัน แล้วผลัดกันเคี้ยวเปลือกไม้ใส่ปาก เมื่องูหรือพังพอนตาย จากนั้นมันก็หายเข้าป่าไป สองพี่น้องจึงเก็บเปลือกไม้ไว้ พบฤษีนั่งบำเพ็ญตนและเห็นกานอนตายอยู่ สุริยคราสจึงลองเคี้ยวเปลือกไม้ใส่ปากของกา กาฟื้นและช่วยหาอาหาร ผลไม้ ให้กับสองพี่น้อง
เมื่ออาหารและผลไม้หมดป่า กาจึงหลอกสุริยคราสกับจันทรคราสเข้าไปในเมืองยักษ์ เพื่อเป็นอาหารในงานศพของเมียหัวหน้ายักษ์ สุริยคราสเข้าช่วยเหลือโดยเคี้ยวเปลือกไม้ใส่ปากเมียยักษ์ เมียยักษ์ฟื้นสำนึกในบุญคุณ จึงแอบพาสองพี่น้องมาที่เมืองกาสี และเศรษฐีใจบุญก็รับเลี้ยงดูสองคนนี้ไว้
พญาสุคะโต เจ้าเมืองกาสี มีธิดาชื่อนางสุจาติงสาถูกงูพิษกัดตาย สุริยคราสอาสาช่วยนางด้วยเปลือกไม้จนฟื้น พญาสุคะโต จึงยกธิดาและเมืองกาสีให้สุริยคราส ปกครองต่อจากพระองค์จันทรคราสอาศัยอยู่กับเศรษฐีและเดินทางไปค้าขายที่เมืองอินตะปะถะ มีพญาพรหมจักรเป็นเจ้าเมือง มีธิดาชื่อนางเตวธิสังกาได้ถูกเขี้ยวเสือของพระบิดาทิ่มเท้าเสียชีวิต จันทรคราสทราบข่าวจึงอาสาช่วยเหลือด้วยเปลือกไม้จนฟื้นพญาพรหมจักรได้จัดพิธีอภิเษกสมรสนางเตวธิสังกากับจันทรคราส และปกครองเมืองอินตะปะถะแทนพระองค์
จันทรคราสคิดถึงสุริยคราสจึงเดินทางไปเมืองกาสีพร้อมกับนางเตวธิสังกา ระหว่างการเดินทางเกิดพายุ เรือล่มกลางทะเล ทำให้จันทรคราสและนางเตวธิสังกา ต้องพลัดพรากจากกันนางเตวธิสังกาเดินร้องไห้เข้าในเมืองอนุปะมะ ซึ่งมีพญาสุตัสสะนะจักรเป็นเจ้าเมือง ได้พบกับยายปริสุทธิ นางพาไปอยู่ที่บ้านด้วยกัน พญาสุตัสสะนะจักรทราบข่าวความงามของนางเตวธิสังกา จึงให้ขุนนางไปสู่ขอมาเป็นมเหสียายปริสุทธิจึงนำนางไปบวชชี
พญาสุตัสสะนะจักรผิดหวังจากนางเตวธิสังกา จึงให้ขุนนางไปสู่ขอนางพรหมจารี ธิดาเจ้าเมืองอนุราธะ ทั้งสองอยู่ด้วยกันไม่นาน ทะเลาะกันบ่อย พญาสุตัสสะนะจักรโกรธสั่งให้ขุนนางนำนางพรหมจารีใส่แพไปลอยน้ำจันทรคราสเดินพลัดหลงเข้าไปในป่า เห็นครุฑจับงู ครุฑเห็นจันทรคราสก็ปล่อยงู งูตกลงมาตาย จันทรคราสรีบเคี้ยวเปลือกไม้ใส่ปากงู งูฟื้นและแปลงร่างเป็นเด็กน้อยมอบแก้ววิเศษที่สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆจันทรคราสเดินทางต่อไปพบกับพญาทอนที่ถูกทำร้าย นอนจมเลือดอยู่แต่เปลือกไม้ของจันทรคราสหมด พญาทอนจึงขอร้องให้จันทรคราสช่วยเผาศพพระองค์ด้วย ก่อนสิ้นใจได้มอบรองเท้าวิเศษสวมแล้วเหาะได้ และ ดาบเท้าวิเศษให้จันทรคราส
จันทรคราสเผาศพพญาทอนเรียบร้อยแล้ว สวมรองเท้าและสะพายดาบวิเศษเหาะไปหานางเตวธิสังกา ระหว่างทางได้พบกับสามพี่น้อง ชื่อ ปทุมมา ทิพย์โสดา และสุกัญทา นางทั้งสามเป็นลูกสาวเศรษฐีเมืองสังกัสสะนคร จันทรคราสจึงอาสานำสามพี่น้องไปส่งให้เศรษฐี
จันทรคราสเหาะมาถึงแม่น้ำจิระวดี ได้พบกับนางพรหมจารีที่ถูกพญาสุตัสสะนะจักรพระสวามี สั่งให้ใส่แพลอยน้ำ ด้วยความสงสารจันทรคราสจึงได้พานางไปส่งที่เมืองอนุราธะ นางสุละโยธาแม่เลี้ยงของนางพรหมจารีจึงได้ถ่ายทอดวิชาอาคม คือเสกใบไม้ให้เป็นคน และเสกน้ำในมหาสมุทรท่วมเมืองได้ ให้กับจันทรคราส
รูปภาพ : gotoknow.org/file/thaipoet/view/125540
จันทรคราสเดินทางมาถึงเมืองอนุปะมะสอบถามผู้คนในเมืองนั้นไปหายายปริสุทธิ นางเตวธิสังกาทราบข่าวจึงขอลาสิกขากับอาจารย์ ด้วยความรักและผลัดพรากจากกันนาน เมื่อทั้งสองพบกัน ยายปริสุทธิจึงได้ผูกข้อมือให้อีกครั้งหนึ่ง พญาสุตัสสะนะจักรยังไม่เลิกรุกรานนางพรหมจารี นางสุละโยธาแม่เลี้ยงนางพรหมจารีจึงยกทัพเข้าบุกตีเมืองอนุปะมะ และขอให้จันทรคราสช่วยออกรบในครั้งนี้ด้วย นางพรหมจารีสั่งทหารยิงปืนใหญ่ถล่มกำแพงเมืองจนพังทลาย แล้วสั่งให้ทหารนำพญาสุตัสสะนะจักรไปประหารชีวิต เมื่อเสร็จศึกนางจึงยกเมืองอนุปะมะให้จันทรคราสกับนางเตวธิสังกาปกครอง
เกิดศึกสงครามที่เมืองกันทะรัฐใกล้เมืองอนุปะมะ จันทรคราสช่วยออกรบและได้นางอุตตะมะธานีธิดาเจ้าเมืองกันทะรัฐเป็นมเหสีมีพระโอรสด้วยกันชื่อ ทุกขัติยะวงศา เมื่อศึกสงครามเสร็จสิ้นพระโอรสเติบโตเป็นหนุ่ม จันทรคราสจึงยกเมืองอนุปะมะให้ปกครอง ส่วนจันทรคราสกับนางเตวธิสังกากลับไปปกครองเมืองอินตะปะถะด้วยความสุข
ประเด็น การศึกษา : การสอนวรรณกรรม เลิศล้ำภูมิปัญญา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
มาตรฐานการเรียนรู้
ท 1.1 สามารถแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น วิเคราะห์ความ ตีความ สรุปความ หาคำ
สำคัญในเรื่องที่อ่านและใช้แผนภาพโครงเรื่องหรือแผนที่ความคิดพัฒนา
ความสามารถการอ่าน นำความรู้ ความคิดจากการอ่านไปใช้แก้ปัญหา ตัดสินใจ
คาดการณ์ และใช้การอ่านเป็นเครื่องมือการพัฒนาตน การตรวจสอบความรู้และ
ค้นคว้าเพิ่มเติม
ท 4.1 สามารถเล่านิทานพื้นบ้านและตำนานพื้นบ้านในท้องถิ่นอย่างเห็นคุณค่า
ท 4.2 ใช้ภาษาอย่างถูกต้อง มีคุณธรรม โดยการพูดและการเขียนตามความเป็นจริงและ
เหมาะแก่สถานการณ์ ไม่สร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น ใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์ เป็น
ประโยชน์ต่อส่วนรวมและสร้างความสามัคคี สอดคล้องกับขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม เข้าใจการใช้ภาษาของกลุ่มบุคคลในชุมชน
ท 5.1 สามารถเลือกอ่านหนังสือได้หลากหลาย ทั้งนิทาน ตำนาน เรื่องสั้น สารคดี
บทความ บทร้อยกรอง บทละคร ตามจุดประสงค์ของการอ่าน ใช้หลักการพิจารณา
หนังสือพิจารณาให้เห็นคุณค่าและนำไปใช้ในชีวิตจริง
สาระสำคัญ
การอ่านและวิเคราะห์วรรณกรรมเป็นการฝึกให้นักเรียนได้รู้จักคิดวิเคราะห์ แยกแยะส่วนต่างๆ ของเรื่องที่อ่าน ทำให้มองเห็นจุดเด่น ของเรื่องนั้นๆ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
อ่านและวิเคราะห์วรรณกรรม พร้อมทั้งบอกคุณค่าของเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง
สาระการเรียนรู้
จิตรกรรมฝาผนัง (วรรณกรรม) เรื่องจันทรคราสชาดก
การบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์
ที่มา : นัทธมน คำครุฑ หนังสือจากแคว้นสิบสองปันนาสู่บ้านหนองบัว
หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์จากคำขวัญ
อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เรื่องจิตรกรรมสูงค่า จันทรคราสชาดก
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3028