แสงสีทองของพระพุทธศาสนา งามจับตายิ่งกว่าแสงของพระอาทิตย์ เป็นการกล่าวเกินจริงเพื่อเน้นความรู้สึก นิราศนรินทร์ตอน รินรสพระธรรม ขอบคุณภาพจาก : https://www.dailynews.co.th พบรอยร้าวพระธาตุดอยสุเทพอีก หวั่นพังทลายถ้าเจอแผ่นดินไหว-ฝนตกหนัก เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน นายสหวัฒน์ แน่นหนา ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ เปิดเผยภายหลังนายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เดินทางไปตรวจ ความคืบหน้าการบูรณะพระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า การบูรณะพระธาตุดอยสุเทพนั้นมีความคืบหน้าไปมาก โดยได้แก้ปัญหาความชื้นภายในพระธาตุ แล้ว และทำระบบระบายน้ำรอบองค์พระธาตุใหม่ทั้งหมด เหลือแต่ปัญหาพื้นที่ลาดเอียง ด้านทิศเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ลาดเอียง ๔๕ องศา ขอบคุณ : หนังสือพิมพ์มติชน ที่มา : https://www.gmcities.com ภาพจาก : https://www.igetweb.com วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง ๑๓ ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยง ช้างมงคล เพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัติสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก๘ศอก กว้าง ๖ วา ๓ ศอก หาแท่นหินใหญ่ ๖ แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง ๕ วา ครอบบน นั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าในบริเวณพระธาตุ ที่มา : https://th.wikipedia.org ตำนานวัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นอีกหนึ่งความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ยังมีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในหนังสือวรรณคดีต่างๆ และที่เด่นชัดและ พรรณนาไว้อย่างน่าอย่าง คือนิราศนรินทร์
ประเด็นการศึกษา นิราศนรินทร์ ตอน รินรสพระธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ นิราศนรินทร์คำโคลง บทที่ ๓ การทอดความ และวิเคราะห์ความ เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น พันแสง รินรสพระธรรมแสดง ค่ำเช้า เจดีย์ระดะแซง เสียดยอด ยลยิ่งแสงแก้วเก้า แก่นหล้าหลากสวรรค์ ภาพจาก : https://images.thaiza.com คำศัพท์สำคัญ ไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามดวง คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ พันแสง หมายถึง มีแสงนับพัน คือพระอาทิตย์ ผู้มีนามว่า สหัสรังสี ระดะ หมายถึง เกลื่อนกล่น เสียดยอด หมายถึง ยอดเบียดกัน คือยอดเจดีย์จำนวนมากที่เรียงรายชิดกัน แก้วเก้า หมายถึง แก้วเก้าอย่าง ที่เรียกว่านพรัตน์ ได้แก่ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย และไพฑูรย์ แก่นหล้า หมายถึง เป็นหลักของโลก หมายความว่า งามเป็นจุดเด่นของ แผ่นดิน หลากสวรรค์ หมายถึง เป็นที่อัศจรรย์ใจของเทวดาบนสวรรค์ ยล หมายถึง มองดู ถอดความ (ทีละบาท) แสงสีทองของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ งามจับตามยิ่งกว่าแสงของพระอาทิตย์ ได้ยินเสียงพระธรรมเทศนาทุกเช้าค่ำ เจดีย์อันเป็นสัญลักษณ์ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา เกลื่อนกล่น ยอดเจดีย์จำนวนมาก ที่เรียงรายชิดกัน มองดูสวยงามยิ่งกว่าแสงของแก้วนพรัตน์ งามเป็นจุดเด่นของแผ่นดินเป็นที่อัศจรรย์ใจ ของเทวดาบนสวรรค์ ภาพจาก :https://www.thaimtb.com วิเคราะห์คุณค่า บทประพันธ์นี้มีโวหารภาพพจน์ มากมาย เช่น อธิพจน์ บุคลาธิษฐาน สัญลักษณ์ และ ปรพากย์ ดังนี ๑. อธิพจน์ ข้อความ แสงสีทองของพระพุทธศาสนา งามจับตายิ่งกว่าแสงของ พระอาทิตย์ เป็นการกล่าวเกินจริงเพื่อเน้นความรู้สึกว่า ความเจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนา งามเจิดจ้ายิ่งกว่าแสงของพระอาทิตย์ ซึ่งความจริงแล้ว พระพุทธศาสนาไม่มีแสง ๒. บุคลาธิษฐาน ข้อความ แสงสีทองของพระพุทธศาสนา งามจับตา เป็นการสมมุติ ให้พระพุทธศานามาแสง ความจริงพระพุทธศาสนาไม่มีแสง ๓ สัญลักษณ์ คือการใช้คำแทน ข้อความ พันแสง หมายถึง พระอาทิตย์ ไตรรัตน์ หมายถึง พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ แก้วเก้า หมายถึง แก้วนพรัตน์ ๙ อย่าง ๔. ปรพากย์ ข้อความ เจดีย์ระดะแซงเสียดยอด ใช้คำตรงกันข้าม(ระดะ กับเสียดยอด) ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน ๑. โคลงนิราศนริทร์ บทที่ ๓ มีลีลาของวรรณคดีด้านใด ให้อธิบาย ๒. การอ่านวรรณคดีมุ่งเน้นด้านใด จงอธิบาย กิจกรรมเสนอแนะ ๑. ช่วยกันรวบรวมสิ่งก่อสร้างที่สะท้อนความเชื่อทางพระพุทธศาสนา แล้วจัดป้ายนิเทศแสดง คุณลักษณะที่ปลูกฝัง ๑. รักความเป็นไทย ๒. ใฝ่เรียนรู้ กิจกรรมบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ คำศัพท์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ที่มา : เพลินพิศ สุพพัตกุล แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ท๓๑๑๐๑ ชั้น ม.๔ ที่มา: เพลินพิศ สุพพัตกุล คู่มือการสอนวิชาภาษาไทย ท๓๑๑๐๑ ชั้น ม.๔ ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2831 |