ภาษาต่างประเทศในข่าว


2,352 ผู้ชม


คำที่มาจากภาษาต่างประเทศที่นำมาใช้ในภาษาไทยในชีวิตประจำวัน   

                                                             ภาษาต่างประเทศในข่าว

        เชิดชูเด็กหญิงอายุ  12  ขวบ  เก็บเงินสดได้   140.000  บาท  และนำไปคืนเจ้าของ พบตกอยู่กลางถนน จักรยานยนต์รับจ้างที่ผ่านมาฉวยโอกาสเอาไป พร้อมเสนอแบ่งให้ แต่สาวน้อยใจซื่อไม่เอา เพราะไม่ใช่เงินของตัวเอง 
      ข่าวจาก : ที่นี่ดอทคอม        
        
        

       จากข่าวเรื่องนี้เราสามารถหาคำที่มาจากภาษาต่างประเทศที่นำมาใช้ในภาษาไทยได้มากมาย

       เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ระดับชั้นปรถมศึกษาปี่ที่  6  ช่วงชั้นที่  2

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
 
         สาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย  ไดแก่  สภาพทางภูมิศาสตร์  คือการมีอาณาเขตใกล้เคียงกัน  ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกัน โดยการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ การติดต่อค้าขายระหว่างกัน และการรับเอาวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ และความคิดความเชื่อทางศาสนา จึงมีการยืมคำในภาษาต่าง ๆ  มาใช้มากมาย เช่น  ภาษาเขมร จีน พม่า ชวา มลายู อังกฤษ เป็นต้น
     
คำยืมจากภาษาเขมร   

           ไทยกับเขมรมีความสัมพันธ์กันมานับพันปี ต่างถ่ายทอดวัฒนธรรมและอารยธรรมซึ่งกันและกัน ในสมัยโบราณ  ไทยรับเอา “อักษรขอมบรรจงและขอมหวัด”  มาใช้  ไทยถือว่าศักดิ์สิทธิ์  จึงมักบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาลงบนแผ่นหิน ใบลาน ใช้ตัวอักษรขอมเขียนคาถาอาคมต่าง ๆ ปรากฏตามพระพิมพ์  เหรียญพระเครื่อง  ตะกรุด  ผ้ายันต์ต่าง ๆ 

คำยืมจากภาษาจีน  

           ไทยกับจีนมีความสัมพันธ์กันทางการทูตและการค้าขายมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยสืบมาจนถึงปัจจุบัน ชาวไทยมาทำมาหากินในประเทศไทย  แต่งงานกับคนไทยจนกลายเป็นพลเมืองไทย เชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก  มีการผสมทางด้านวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ ตลอดมา  คำยืมในภาษาจีนส่วนใหญ่เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว   มักเป็นคำเรียกสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร พืช ผัก ผลไม้ รวมทั้งคำที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน ไทยนิยมนำคำจากภาษาจีนมาใช้ในภาษาพูด ไม่นิยมใช้ในภาษาเขียน

คำยืมจากภาษาอังกฤษ

            คนในโลกยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางและนิยมใช้กันมากที่สุด ไทยเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกที่พูดภาษาอังกฤษมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยทางการค้า เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๕ ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีทูตจากประเทศทางตะวันตกมาเจรจาเรื่องการค้ากับรัฐบาลไทย  พ่อค้าชาวอังกฤษชื่อ  Hunter  เข้ามาค้าขายเป็นคนแรกในกรุงเทพฯ  

            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีคณะทูตสอนศาสนาเข้ามา และได้นำวิทยาการใหม่ ๆ เช่น  การพิมพ์ การแพทย์ เข้ามาเผยแพร่  คำภาษาอังกฤษจึงเริ่มปรากฏในเอกสารภาษาไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ มากมาย  เช่น ชื่อชนชาติ ชื่อบุคคล ชื่อยศ, บรรดาศักดิ์ ชื่อประเทศ ชื่อเมือง ชื่อศาสนา เป็นต้น

           ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีคำยืมภาษาอังกฤษปรากฏมากขึ้นในเอกสารประเภทจดหมายเหตุ พระราชหัตถเลขา  พงศาวดาร และคำสามัญ  คำเรียกเครื่องมือเครื่องใช้ เรียกทะเลมหาสมุทรก็มากขึ้นด้วย  

            สมัยรัชกาลที่ ๕ ภาษาอังกฤษขยายวงกว้างออกไปสู่ประชาชน เพราะมีโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษและวิชาการต่าง ๆ มีศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ พฤกษศาตร์ สัตวศาสตร์เกิดขึ้นมากมาย

            หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒  คำยืมภาษาอังกฤษหลั่งไหลเข้ามาในภาไทยอย่างกว้างขวาง  เพราะมีนักเรียนไทยไปเรียนศึกษาในประเทศแถบยุโรป และอเมริกา การเดินทางระหว่างประเทศ  การสื่อสาร การติดต่อค้าขาย และการขยายตัวของอุตสาหกรรมการค้าในโลก  ตลอดทั้งการรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกด้านต่าง ๆ เช่น ด้านบันเทิง กีฬา  แฟชั่น การแต่งกาย เป็นไปอย่างรวดเร็ว ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อภาษาไทยเป็นอย่างมาก  เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น เรามีคำยืมภาษาอังกฤษทุกรูปแบบ  ทั้งคำทับศัพท์  คำแปลศัพท์ และศัพท์บัญญัติ  การยืมคำภาษอังกฤษมาใช้ในภาษาไทยช่วยเปิดและขยายโลกทัศน์ด้านวิชาการ  เศรษฐกิจ  เทคโนโลยี และวัตถุนิยมแก่คนไทย ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ว่า  “ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของผู้มีการศึกษา มีความทันสมัย และอยู่ในสงคมชั้นสูง”

คำยืมจากภาษาชวา – มลายู

               ภาษาชวา – มลายู  ที่ยืมมาใช้ส่วนใหญ่เป็นคำ ๒ พยางค์หรือมากกว่า  ส่วนมากเป็นคำหมายถึงพืช สัตว์ สิ่งของ สถานที่ และศิลปวัฒนธรรม หรือคำกริยาที่มีความหมายเฉพาะ  เช่น  กระดังงา  ทุเรียน มังคุด น้อยหน่า งูกะปะ  หอกกะพง ปลากุเลา โลมา ลิงอุรังอุตัง กอและ กริช กำยาน ปาเต๊ะ  สลัก ว่าว จับปิ้ง ฆ้อง บุหงารำไป  ประทัด   โสร่ง โกดัง มัสยิด เบตง ภูเก็ต ตะเบ๊ะ

คำยืมจากภาษาโปรตุเกส

            ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาโปรตุเกส ได้แก่คำว่า กระดาษ (สันนิษฐานว่าเพี้ยนมากจาก  “กราตัส”)  กะละแม  กะละมัง (ขนม)ปัง  ปั้นเหน่ง หลา เหรียญ  บาทหลวง  เลหลัง  สบู่

คำยืมจากภาษาเปอร์เชีย

            ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เชีย เช่น คำว่า กุหลาบ (มาจากคำว่า Gul Gol แปลว่า กุหลาบ,  ดอกไม้ทั่วไปสีแดง  เติม suffix - ab เป็น กุลลาพ  แปลว่า น้ำกุหลาบหรือน้ำดอกไม้เทศ  ไทยนำมาใช้แทนดอกไม้ขนาดย่อม มีกลิ่นหอม  นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ  เช่น เกด คาราวาน ชุกชี ตาด เยียรบับ ตรา ตราชู  ฝรั่ง ราชาวดี  ศาลา  สนม  สักหลาด สุหร่าย  องุ่น  

คำยืมจากภาษาอาหรับ

            ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับได้แก่  กะลาสี  โกหร่าน (พระคัมภีร์กุรอาน)  ระยำ (การลงโทษโดยใช้ก้อนหินขว้างให้ตายเพราะทำผิดประเพณี  ไทยนำมาใช้ในความหมายว่า  ชั่วช้าเลวทราม)

 คำยืมจากภาษาทมิฬ – มลายู

        ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาทมิฬได้แก่คำว่า  กะไหล่  กุลี  กานพลู  กำมะหยี่ จงกลนี ตรียัมปวาย ปะวะหล่ำ   อาจาด   กะละออม   กะหรี่ (แกงแขกชนิดหนึ่ง)   ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษามลายู  ได้แก่คำว่า กว้าน พลาย เพลาะ   ฝาละมี   กำมะลอ   สะบ้า   สมิง   กระแจะ   ตวัก   

ภาษาต่างประเทศในข่าว

ประโยชน์ของการนำคำภาษาต่างประเทศมาใช้

1.   ทำให้คำในภาษาไทยมีหลายพยางค์เนื่องจากการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้   เช่น

            ภาษาเขมร เช่น เผด็จ  เสวย  กังวล บำเพ็ญ  ถนน

            ภาษาจีน  เช่น  ตะหลิว  ก๋วยเตี๋ยว เล่าเตง เอี้ยมจุ๊น

            ภาษาอังกฤษ เช่น  คลินิก สนุกเกอร์  เนกไท  แคชเชียร์

            ภาษาบาลี-สันสกฤต    เช่น ปรัชญา  กรีฑา   อัคนี  วิทยา   พร  ประเสริฐ

2.   ทำให้คนไทยมีเสียงควบกล้ำมากขึ้น  เช่น  จันทรา  นิทรา  ทรานซิสเตอร์  เอนทรานซ์  และเพิ่มเสียงควบกล้ำซึ่งไม่มีในภาษาไทย  เช่น  ดรัมเมเยอร์   ดร๊าฟ  เบรก  บรอนซ์  บล็อก ฟรี แฟลช  ฟลอโชว์  ฟลูออรีน

3.    ทำให้คำไทยมีตัวสะกดมากขึ้น  ปกติคำไทยแท้ ตัวสะกดจะตรงตามมาตรา ซึ่งมีเพียง  8  แม่  แต่คำยืมจากภาษาต่างประเทศจะสะกดไม่ตรงตามมาตรา  ดังตัวอย่าง

                              แม่กก    เช่น    สุข  เมฆ  เช็ค  สมัคร 

                              แม่กด    เช่น    กฎ  รัฐ  กอล์ฟ  ฤทธิ์  พุทธ

                              แม่กน   เช่น     เพ็ญ   เพียร  สูญ  บอล   คุณ  กุศล 

                              แม่กบ   เช่น     รูป  โลภ กราฟ  กอล์ฟ  

4.   ทำให้คำในภาษาไทยมีคำศัพท์มากขึ้น  สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม    เช่น

                              น้ำ          -     อุทก  วารี  คงคา  สาคร  ธาร  ชล  ชโลธร 

                              ผู้หญิง   -       นงเยาว์  นงคราญ  อิตถี  สตรี  กัลยา  สุดา  สมร  วนิดา

                              พระอาทิตย์   - สุริยา  รพี  รวิ  ภากร

                              ดอกไม้  -       มาลี   บุปผา   บุหงา  โกสุมคำแจกความหมายละเอียดขึ้น  เช่น  อาคาร  คฤหาสน์  ปราสาท  วิมาน  กระท่อม  กระต๊อบ   มีคำแสดงฐานะหรือระดับของบุคคลมากขึ้น  เช่น 

                              ผัว   -   สวามี  สามี  ภราดา       เมีย   -   ภรรยา  ภริยา  ชายา  มเหสีนำภาษาต่างประเทศบางคำไปใช้เป็นคำราชศัพท์   เช่น  เสด็จ  เสวย  โปรดเกล้า ฯ  กระหม่อม

ภาษาต่างประเทศในข่าว

 ตั้งประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย
      1.   เหตุใดเราจึงรับคำภาษาต่างประเทศมาใช้
      2.   เรารับคำภาษาต่างประเทศมาใช้โดยทางใดบ้าง
      3.   เรานำภาษาต่างประเทศมาใช้ในลักษณะใดบ้าง
      4.   เราสามารถจะอนุรักษ์ภาษาไทยไว้ได้อย่างไรบ้าง

กิจกรรมเสนอแนะ
 เราสามารถนำคำจากภาษาต่างประเทศมาใช้ได้อย่างหลากหลาย  แต่เราต้องระมัดระวังในการใช้

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น   คือ
 1.  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ
 2.  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ


อ้างแหล่งที่มา

ที่มา : ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
ที่มา :https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=331

อัพเดทล่าสุด