ข ขวดที่หายไป
www.oknation.net
รู้จักขวดกันหน่อย
ขวด ย่อมมีความหมายถึง ภาชนะกลวงใน โดยมากทำด้วยแก้ว รูปสูง มักมีคอหรือปากแคบ ใช้สำหรับบรรจุ
ของเหลว
คิดถึง ข ขวด
ข ขวด คือหนึ่งในสองของพยัญชนะไทยที่เลิกใช้ไป แต่ในส่วนของคำประพันธ์ ก็ยังมีกวีบางท่านยังนำมาใช้กันอยู่ นับว่าเป็นสิ่งดีที่มีส่วนอนุรักษ์มรดกทางภาษาไทยเอาไว้
เนื้อหาสำหรับสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ระดับช่วงชั้นที่ 1-4
สาระที่ 1.การอ่าน
ฃ.ขวดเจ็บปวดใจ คนเลิกใช้แต่นานมา
ตัดออกจากตำรา จึงไร้ค่าอักษรไทย
ฃ.ขวดเจ็บปวดนัก คอหยักหยักต้องสูญไป
มีบ้างที่ห่วงใย นำมาใช้การประพันธ์
ฃ.ขวดในวันนี้ ไร้คำที่จะขีดกัน
ลืมเลือนไปทุกวัน เก็บเพียงฝันเป็นตำนาน
ฃ.ขวดในภาคหน้า มีแววว่าจะสิ้นกาล
รุ่นหลังไม่พบพาน แสนร้าวรานอักษรไทย
(บัวกันต์ วิลามาศ ประพันธ์)
สาระที่ 2.การเขียน
นักเรียนฝึกคัดตัวบรรจง ระหว่าง ข ไข่ กับ ข ขวด
สาระที่ 3.การฟัง การดู และการพูด
ร่วมกันโต้วาทีในหัวข้อ “ข ขวด หายไปไหน”
สาระที่ 4.หลักการใช้ภาษาไทย
ให้นักเรียนแต่งบทร้อยกรองที่ใช้ ข ขวด
สาระที่ 5.วรรณคดีและวรรณกรรม
นักเรียนร่วมกันค้นหาคำประพันธ์ที่มีคำที่ใช้ ข ขวด ในการประพันธ์
สิ่งที่ต้องคิดร่วมกัน
ข ขวดที่เลิกใช้ไปแล้วนั้น เราจะสามารถนำกลับมาใช้ได้หรือไม่อย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
จัดทำโครงการ นำนักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ ดูโรงงานผลิตขวด
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
1.สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ให้นักเรียนตั้งโจทย์ปัญหาในการขายขวด
2.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับกระบวนการผลิดขวด
3.สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ร่วมกันอภิปรายถึงแนวทางที่จะนำขวดไปใช้ในการสร้างวัด เช่น นำขวดไปสร้างเป็นกำแพงวัด เช่น วัดล้านขวด ที่อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
4.สาระการเรียนรู้ศิลปะ
นำขวดมาฝึกเคาะเป็นจังหวะดนตรี
5.สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ให้นักเรียนฝึกอ่านฉลากข้างขวดยา
6.สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
นำขวดมาจัดทำแจกันไว้ใช้ที่โรงเรียนและที่บ้าน
7.สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ให้นักเรียนค้นหาคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่มีความหมาย หมายถึงขวด
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลภาพประกอบ
www.phakri.exteen.com
www.oknation.net
นานมีบุ๊คส์.พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542.กรุงเทพมหานคร,ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.2546
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=511