อ่านหนังสือพิมพ์ให้เป็น


952 ผู้ชม


ข่าวหนังสือพิมพ์แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน พาดหัวข่าว กับ ตัวข่าว ตัวข่าวแบ่งเป็น วรรคนำ และ เนื้อข่าว   

                                                               อ่านหนังสือพิมพ์ให้เป็น
  
          การอ่าน   เป็นเรื่องสำคัญ  คนที่มีประสบการณ์การอ่าน จะสามารถรับความรู้ ข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว
นักเรียนควรฝึกให้เกิดทักษะ  สำหรับวันนี้  มาเรียนรู้วิธีอ่านหนังสือพิมพ์ ให้เป็น

        ประเด็นข่าว 

                  อ่านหนังสือพิมพ์ให้เป็น

                                                  ภาพจาก :  https://www.decorate.su.ac.th

                                                 ข้าวนึ่งไทยปั่นป่วนยอดขายทรุด
             นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มส่งออกข้าวไทยตั้งแต่เดือน
ส.ค. คาดว่า จะปรับลดลงอีกเดือนละ ๒๐๐,๐๐๐ ตันจากเฉลี่ย ๗๐๐,๐๐๐-๘๐๐,๐๐๐ ตัน เหลือ ๕๐๐,๐๐๐-๖๐๐,๐๐๐ ตันเท่านั้น โดยสาเหตุที่ทำให้การส่งออกข้าวไทยลด เนื่องจากประเทศอินเดียคู่แข่งการส่งออกของไทยจะกลับมา
ส่งออกข้าวอีกครั้ง หลังจากหยุดการส่งออกไปนานตั้งแต่เม.ย. ๕๑ โดยตอนนี้อินเดียมีปริมาณสต๊อกเพิ่มอยู่ที่ ๒๗ ล้านตัน เพียงพอต่อการส่งออกแล้ว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวนึ่งของไทยมากเพราะที่ผ่านมาอินเดีย
ถือว่าเป็นคู่แข่ง  กับไทยโดยตรง
 
ส่วนการส่งออกข้าวเดือนพ.ค.มีปริมาณ ๘๐๓,๐๓๑ ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึง ๒๐.๑๘ 8% ขณะที่ยอดส่ง
ออกรวม ๕ เดือน ตั้งแต่ ๑ ม.ค.-๓๑ พ.ค. ๓๒ มีปริมาณ ๓,๕๕๘,๗๕๐ ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน ๒๙.๒๗% เช่นกัน
 
“ปัจจุบันการค้าข้าวโลกอยู่ที่ประมาณ ๒๙ ล้านตัน ซึ่งเป็นการค้าข้าวนึ่งประมาณ ๕ ล้านตัน โดยไทยส่งออก
ประมาณ ๒ ล้านตัน ถ้าอินเดียกลับมาส่งออกจะทำให้การ  ส่งออกข้าวนึ่งของไทย  ลดลงอย่างเห็นได้ชัด 
ขณะที่แนวโน้มการส่งออกข้าวโดยรวมก็ลดลงทั้งปริมาณและราคา เพราะปีที่ผ่านมาเป็นสถาน การณ์พิเศษ
ที่ทั่วโลกกลัวว่าจะเกิดวิกฤติขาดแคลนอาหาร ทำให้ผู้ค้าแห่กันไปซื้อข้าวเก็บไว้มาก และทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น”
 
นายชูเกียรติกล่าวต่อว่า ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกข้าวไทยทำได้ยากขึ้น เพราะราคาขายข้าวนึ่งไทยแพงกว่า
ประเทศคู่แข่ง โดยข้าวนึ่งไทยอยู่ที่ตันละ ๕๓๐ เหรียญสหรัฐ ขณะที่อินเดียอยู่ที่ตันละ ๔๒๐ เหรียญสหรัฐเท่านั้น
 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ข้าวนึ่งไทยราคาสูง เพราะรัฐบาลตั้งรับจำนำราคาข้าวสูงมาก ทำให้ต้นทุนการส่งออกต้องปรับสูงตาม
 หากรัฐบาลยังรับจำนำราคาสูงต่อเนื่อง จะทำให้ต้นทุนผู้ส่งออกสูงขึ้นอีก และทำให้ไทยสูญเสียตลาดข้าวนึ่ง
ไปให้อินเดียในอนาคตแน่นอน
 
ปัจจุบันข้าวนึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโลกมาก โดยเฉพาะจากประเทศในแถบแอฟริกาและตะวันออกกลาง
 ประกอบกับประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจน้อย ทำให้มีกำลังซื้อข้าวนึ่งเพิ่มอย่างต่อเนื่อง 
และทำให้ตลาดข้าวนึ่งในแต่ละปีมีการซื้อขายเพิ่มถึงปีละ ๕ ล้านตันทั่วโลกและยังมีแนวโน้มเพิ่มอีก 
 
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอินเดีย ได้ออกประกาศ
ผ่อนปรน  ให้มีการส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ จากเดิมได้แบนส่งออกไว้ตามประ กาศฉบับที่ ๙๓ 
ซึ่งออกเมื่อ  วันที่ ๑ เม.ย. ๒๕๕๑ โดยประกาศฉบับใหม่ได้กำหนดโควตาส่งออกข้าวให้กับ ๒๑ ประเทศ 
ปริมาณ ๑ ล้านตัน.
 
      ที่มา  https://www.dailynews.co.th   เดลินิวส์  วันพฤหัสบดีที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๑๒.๓๐ น.

    จากประเด็นข่าวข้างต้น  

    หัวข้อข่าว(พาดหัวข่าว) คือ  ข้าวนึ่งไทยปั่นป่วนยอดขายทรุด
    วรรคนำคือ   นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มส่งออกข้าวไทยตั้งแต่
เดือนส.ค. คาดว่า จะปรับลดลงอีกเดือนละ ๒๐๐,๐๐๐ ตัน จากเฉลี่ย ๗๐๐,๐๐๐-๘๐๐,๐๐๐ ตัน 
เหลือ ๕๐๐,๐๐๐-๖๐๐,๐๐๐ ตันเท่านั้น โดยสาเหตุที่ทำให้การส่งออกข้าวไทยลด เนื่องจากประเทศอินเดียคู่แข่ง
การส่งออกของไทยจะกลับมาส่งออกข้าวอีกครั้ง หลังจากหยุดการส่งออกไปนานตั้งแต่เม.ย. ๕๑ โดยตอนนี้อินเดีย
มีปริมาณสต๊อกเพิ่มอยู่ที่ ๒๗ ล้านตัน เพียงพอต่อการส่งออกแล้ว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวนึ่ง
ของไทยมากเพราะที่ผ่านมาอินเดียถือว่าเป็นคู่แข่งกับไทยโดยตรง

    เนื้อข่าว  คือ (ส่วนของข่าวที่เหลือทั้งหมด)


เนื้อหาสำหรับ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑-๔ 

             การอ่านเพื่อพัฒนาความรู้        แบ่งออกเป็น

            ๑. ความรู้ทั่วไปหรือความรู้รอบตัว

            ๒. ความรู้เฉพาะ (คือความรู้ที่เกี่ยวกับอาชีพของตน)

         ปกติคนที่รู้รอบ  รู้กว้าง และรู้เฉพาะเรื่อง  มักจะเป็นผู้ที่สดับตรับฟังและอ่านอยู่เสมอ  เราอาจหาความรู้
เรื่องต่างๆ  เช่น  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ อนามัย  วิทยาการใหม่ๆ  
เรื่องที่จะช่วย   ให้เราปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ฯลฯ  ได้จากหนังสือหลายประเภท  ทั้งหนังสือเล่ม  
หนังสือพิมพ์  วารสาร   นิตยสาร  เอกสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ  

         ไม่ว่าจะเป็นการอ่านเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปหรือความรู้เฉพาะก็ตาม จะหาข้อมูลได้จากหนังสือเฉพาะวิชานั้นๆ  
เช่น  วิชาการแพทย์  วิศวกรรม  นักปกครอง  นักกฏหมาย  ฯลฯ   หนังสือพิมพ์  ข่าว  โฆษณาต่างๆ หนังสือวารสาร 
 นิทาน  นิยาย  วรรณคดี  ฯลฯ    คนที่จะมีความรู้ทันโลกต้องอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์  ซึ่งจะดีกว่าการฟังข่าวจาก
วิทยุ   และดูโทรทัศน์   

ข่าวหนังสือพิมพ์แบ่งออกเป็น  ๒  ส่วน   คือ  

               ๑) พาดหัวข่าว    นิยมพิมพ์ด้วยตัวอักษรใหญ่  ปรากฏเด่นชัดสะดุดตาผู้อ่าน  ตรงนี้ให้เราอ่านผ่านๆ   
เพียงเพื่อให้เข้าใจเรื่องโดยย่อเท่านั้น

               ๒) ตัวข่าว   ประกอบด้วย   วรรคนำ   กับ เนื้อข่าว  
     วรรคนำ   อาจเป็นส่วนที่สรุปข่าวนั้น  หรืออาจเป็นส่วนที่นำจุดสำคัญของข่าวมาเกริ่นไว้เพื่อดึงดูดความสนใจ
     เนื้อข่าว   คือส่วนที่บรรยายข่าวละเอียด  จะอ่านเฉพาะรายละเอียด   
      แต่การอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ก็มีข้อพึงระวังอยู่เหมือนกัน   เพราะการเสนอข่าวมักจะไม่ใช่ข้อเท็จจริง
เสมอไป   บางฉบับก็ลงไม่ตรงกัน   ดังนั้นผู้อ่านต้องใช้วิธีเปรียบเทียบกัน   หลายๆ ฉบับหรือไม่ก็สอบถาม
จากเพื่อนหรือผู้ใหญ่  หรือจากการเปรียบเทียบของบุคคลหลายๆ ฝ่าย  แต่บางครั้งอาจใช้ประสบการณ์หรือ
ดุลยพินิจของเราเองก็ได้

        ในการอ่านข่าว  โดยทั่วๆ ไป  เรามักอ่านอย่างผ่านๆ  คือ อ่านแต่เพียงพาดหัวข่าว และวรรคนำ
                             ต่อเมื่อสนใจข่าวนั้นเป็นพิเศษ จึงจะอ่านโดยละเอียด
      
       ข่าวที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์   อาจไม่ใช่การรายงานเหตุการณ์ตามข้อเท็จจริงเสมอไป  เพราะบางครั้ง
ผู้เสนอข่าวใช้ถ้อยคำหรือเพิ่มเติมข้อความบางอย่าง  เพื่อให้ออกรสขึ้นตามแนวนิยมของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น
ในการอ่านข่าว  นักเรียนจึงควรอ่านโดยพิจารณาก่อนที่จะปลงใจเชื่อตามอย่างสื้นเชิง  
       วิธีหนึ่งซึ่งอาจช่วยนักเรียนในการพิจารณาคือ  เปรียบเทียบข่าวเรื่องเดียวกันนั้นในหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ
สอบถามจากเพื่อนและจากผู้ใหญ่  หรือฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่าย  รวมทั้งใช้ดุลยพินิจของตน

             ศัพท์สำคัญ  ดุลยพินิจ  คือการใช้ปัญญาไตร่ตรอง

      
ประเด็นคำถาม
     ๑. ให้อธิบายวิธีการอ่านข่าวได้รวดเร็วและได้สาระ
     ๒.  อธิบายส่วนประกอบของข่าวในหนังสือพิมพ์ แบ่งเป็นกี่ส่วน  อะไรบ้าง
     ๓.  ให้อธิบายวิธีตรวจสอบข่าว

กิจกรรมเสนอแนะ
      จัดให้มีการสาธิตการอ่านข่าว ในห้องเรียน ข่าวเดียวกัน จากหนังสือพิมพ์ ๒-๓ ฉบับ  โดยเปรียบเทียบ
ใน  ๒ ส่วน คือ พาดหัวข่าว   วรรคนำ  การนำเสนอข่าว  และความน่าเชื่อถือ


การบูรณาการ
     ๑. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔  เรื่อง การอ่านข่าว
     ๒. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  ชั้น ม.๔   เรื่อง การใช้ปัญญาไตร่ตรอง
     ๓.  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้น ม.๔  เรื่อง ความน่าจะเป็น

                  ที่มา : เพลินพิศ  สุพพัตกุล แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ท๓๑๑๐๑
             ที่มา : เพลินพิศ  สุพพัตกุล เอกสารประกอบการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
                 ขอบคุณ  :  https://www.jd.in.th
                 ที่มา  :  ภาษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เล่ม ๑

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=580

อัพเดทล่าสุด