คำขวัญเปรียบเสมือนสะพานสู่การเป็นนักเขียน
คำขวัญ เป็นข้อเขียนที่แสดงถึงความรู้สึกนึกคิดอย่างเสรี เป้นข้อเขียนเชิงสร้างสรรค์ สามารถเร้าความรู้สึก
ของผู้อ่าน
เนื้อหาสำหรับสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ระดับช่วงชั้นที่ ๑-๔
คำขวัญ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายไว้ว่า “คือถ้อยคำที่แต่งขึ้น
เพื่อเตือนใจ หรือเพื่อให้เป็นสิริมงคล
คำขวัญ หมายถึง ข้อความ หรือถ้อยคำที่เป็นการเชิญชวน หรือขอร้องให้ผู้อ่าน ผู้ฟัง ยึดเป็นแนวในการปฏิบัติ ถ้อยคำมักมีความคล้องจอง หรือมีสัมผัสเป็นร้อยกรองสั้น ๆเพื่อให้อ่านและจำได้ง่าย
คำขวัญเป็นงานที่ต้องใช้ความสามารถในแง่ของการใช้คำที่กระชับ รัดกุมและมีความหมายเด่นแปลก
และต้องคล้องจองเพื่อจดจำง่าย
ตัวอย่างคำขวัญ
๑. “ครู คือผู้กำหนดอนาคตของสังคม” โดย บัวกันต์ วิลามาศ ชนะเลิศการประกวดคำขวัญวันครู
๒. “สุราเป็นพิษต่อชีวิต และครอบครัว” โดย จิตรา ไวยศิลป์ ชนะเลิศการประกวดคำขวัญสมาคมป้องกันปัญหาจากสุราแห่งประเทศไทย
ทำอย่างไร
๑.นำคำขวัญมาให้นักเรียนอ่าน แล้วสนทนากันถึงความหมายแนวคิดจากคำขวัญที่อ่าน
๒.ให้นักเรียนยกตัวอย่างคำขวัญที่นักเรียนได้เคยอ่านหรือพบเห็นที่ชื่นชอบ
๓.ฝึกเขียนคำขวัญ ฝึกเขียนคำขวัญ ฝึกเขียนคำขวัญ ฝึกมาก ๆ อย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมเสนอแนะ
การประกวดคำขวัญของบริษัท ห้างร้าน องค์กร หน่วยงานทางราชการ จะจัดให้มีการประกวดเป็นประจำ
ครูผู้สอนจำเป้นอย่างยิ่งที่จะต้องสนใจติดตาม นำมาแจ้งให้นักเรียนได้รับทราบ จัดให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการ
จัดกิจกรรมเหล่านั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าจะไม่ได้รางวัลก็ตาม แต่เป็นการฝึกให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ
อย่างจริงจัง เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทางของหลักสูตร เพราะคำขวัญจะนำไปสู่การมีอาชีพที่อิสระอีกด้วย
เช่น อาชีพนักประพันธ์ นักแต่งเพลง เป็นต้น
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลภาพประกอบ
www.lib.ru.ac.th
บุญยงค์ เกศเทศ.เขียนไทย.มปป.หน้า ๓๔๒
สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ.คู่มือครูภาษาไทย เรื่องสำนวนไทยและปริศนาคำทาย.๒๕๒๔ หน้า ๕
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=602