ตามรอยพยัญชนะไทย ตอนที่ 8


673 ผู้ชม


จ จานใช้ดี   

ตามรอยพยัญชนะไทย ตอนที่ 8
www.siamfishing.com


รู้จักจาน

         จาน หมายถึงภาชนะรูปแบน ๆ สำหรับใส่สิ่งของต่าง ๆ 
เนื้อหาสำหรับสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ระดับช่วงชั้นที่ 1-4

สาระที่ 1.การอ่าน

ในครัวจานหลายใบ   
คุณแม่ใช้ใส่อาหาร
ในวันแม่จัดงาน    
เลี้ยงชาวบ้านเผื่อผลบุญ
ยังมีเรื่องราวหนึ่ง   
เด็กหญิงซึ่งรู้แทนคุณ
ยายแก่จึงเกื้อกูล    
ความสมดุลชีวิตคน
เด็กหญิงป้อนอาหาร   
ข้าวจากจานป้อนยายตน
ยายแก่และยากจน   
เป็นเหตุผลการเลี้ยงมา
หนูน้อยไม่ย่อท้อ    
ข้าวกรอกหม้อเด็กน้อยหา
หิวโหยได้เยียวยา   
หยิบจานมาป้อนข้าวยาย

(บัวกันต์  วิลามาศ-ประพันธ์)

สาระที่ 2.การเขียน

       1.ให้นักเรียนฝึกเขียนคำคล้องจอง โดยเริ่มต้นจากคำว่า “จาน.........
       2.
ให้นักเรียนค้นหาคำที่เขียนด้วยพยัญชนะ จ  จาน
สาระที่ 3.การฟัง การดู และการพูด

      สนทนาเกี่ยวกับการใช้จานในชีวิตประขำวัน
สาระที่ 4.หลักการใช้ภาษาไทย

        1.ให้นักเรียนสนทนาถึงลักษณะนามของจาน
        2.ให้นักเรียนค้นคว้าหาชนิดของจาน
สาระที่ 5.วรรณคดีและวรรณกรรม

        ให้นักเรียนท่องบทร้อยกรองที่เกี่ยวกับจาน
ประเด็นที่สงสัย
      1.จานมีประโยชน์อย่างใดบ้าง
      2.จานที่เลิกใช้แล้วจะทำอย่างไร
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
1.สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
          ให้นักเรียนตั้งโจทย์ปัญหาในการขายจาน
2.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

          เรียนรู้ขบวนการและขั้นตอนในการผลิตจาน
3.สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
        ศึกษาถึงเหตุผลที่นำจานไปใช้ในพิธีการทางศาสนา เช่น ใช้จานใส่ธูปเทียนถวายพระ
4.สาระการเรียนรู้ศิลปะ
          1.ให้นักเรียนวาดภาพจานจากจินตนาการของนักเรียน
          2.ให้นักเรียนร่วมกันร้องเพลงจาน
5.สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

         ศึกษาเกี่ยวกับการใช้จานใส่อาหารว่ามีผลต่อสุขภาพอย่างไร เช่นจานที่ขึ้นสนิม
6.สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
         ครูนำนักเรียนไปศึกษานอกสถานที่  สอบถามอาชีพขายจานในตลาด
7.สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

        ให้นักเรียนค้นหาคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่มีความหมาย หมายถึงจาน
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลภาพประกอบ

www.numwan.com

www.siamfishing.com

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=607

อัพเดทล่าสุด