เณรน้อยเจ้าปัญญา
สามเณร หมายถึง ผู้ดำรงเพศอย่างภิกษุ แต่สมาทานศีล ๑๐
เนื้อหาสำหรับสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ระดับช่วงชั้นที่ ๑-๔
สาระที่ ๑.การอ่าน
ผ้าเหลืองที่เจ้าห่ม
หวังอบรมให้เจ้าดี
ธรรมะค่ามากมี
ให้เจ้านี้จงฝึกเอา
บวชเณรเป็นกุศล
ต้องอดทนให้นานเนา
ชะล้างกิเลสเรา
ความโง่เขลาจะลดลง
ธรรมะปฏิบัติ
บ่งบอกชัดสิ่งดำรง
คำสอนพุทธองค์
ขอเณรจงจำใส่ใจ
เณรน้อยค่อยฝึกฝน
สร้างค่าคนมีวินัย
บวชเณรแต่เยาว์วัย
ซาบซ่านใจซึ้งพระธรรม
(บัวกันต์ วิลามาศ-ประพันธ์)
สาระที่ ๒.การเขียน
ร่วมกันเขียนบทสวดมนต์ที่สามเณรต้องใช้
สาระที่ ๓.การฟัง การดู และการพูด
ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสมาทานศีลที่สามเณรต้องถือปฏิบัติว่ามีกี่ข้อและว่าอย่างไรในการนำไปปฏิบัติ
สาระที่ ๔.หลักการใช้ภาษาไทย
ร่วมกันสนทนาถึงคำต่าง ๆ ที่สามเณรต้องใช้พูดว่าใช้อย่างไร
สาระที่ ๕.วรรณคดีและวรรณกรรม
ร่วมกันสวดมนต์หรือบทสวดตามคำสอนของศาสนา
ตั้งประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
๑.นักเรียนเห็นสามเณรแล้วมีความรู้สึกอย่างไร
๒.ถ้านักเรียนได้มีโอกาสบวชเป็นสามเณร นักเรียนจะทำตนอย่างไรให้ดีที่สุด
กิจกรรมเสนอแนะ
ในช่วงปิดเทอมร้อนระหว่างเดือนเมษายนของทุกปี ตามวัดต่าง ๆ จะจัดให้มีการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน
สมควรส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมบ่มนิสัย โดยการสมัครเข้าบวชสามาเณรภาคฤดูร้อน
กิจกรรมที่บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
๑.ให้นักเรียนวาดภาพสามเณรจากจินตนาการของนักเรียน
๒.ให้นักเรียนค้นหาคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่มีความหมาย หมายถึงสามเณร
๓.ให้นักเรียนสนทนาถึงลักษณะนามของสามเณร
๔.ให้นักเรียนท่องบทร้อยกรองที่เกี่ยวกับสามเณร
๕.ครูเล่านิทานเกี่ยวกับสามเณร
๖.ให้นักเรียนฝึกเขียนคำคล้องจอง โดยเริ่มต้นจากคำว่า “เณร..........
๗.ให้นักเรียนค้นหาคำที่เขียนด้วยพยัญชนะ ณ เณร
๘.ให้นักเรียนค้นหาสำนวนและหาความหมาย จากสำนวนที่มีคำว่า “เณร” เช่น เณรน้อยเจ้าปัญญา เป็นต้น
๙.ครูนำนักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ สนทนาธรรมกับสามเณรที่วัดในชุมชน
๑๐.ให้นักเรียนสนทนาเกี่ยวกับผลดีที่ได้รับจากการบวชเป็นสามเณร
๑๑.ให้นักเรียนนำคำว่า “สามเณร” มาแต่งประโยค
๑๒.ให้นักเรียนจัดนิทรรศการเกี่ยวกับสามเณร
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลภาพประกอบ
www.dhammakaya.org
www.watkoh.com
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=750