อิเหนาเป็น วรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้ผ่านมาจากหญิงเชลยปัตตานี ที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ (ครองราชย์ พ.ศ. 2275 – 2301) โดยเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑล และ
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แถลงข่าวการจัดงาน “รักการอ่าน เทิดมหาราชินี” ว่า เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนไทยมีนิสัยรักการอ่าน และเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวจะมีขึ้นในวันที่ 14-16 สิงหาคมนี้ ที่สพท.เขต 1 ทุกจังหวัด ส่วนกลางจัดที่เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ จะมาเป็นประธานเปิดงานในวันที่ 14 สิงหาคม เวลา 10.00-11.00 น.
นายจุรินทร์กล่าวต่อไปว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานรายชื่อหนังสือดีเด่น 6 เรื่อง ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน มายังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อส่งเสริมให้มีการอ่านอย่างแพร่หลาย ได้แก่ 1.พระอภัยมณี 2.รามเกียรติ์ 3.นิทานชาดก 4.อิเหนา 5.พระราชพิธีสิบสองเดือน และ 6.กาพย์เห่เรือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง) ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม และกระทรวงศึกษาธิการจะรณรงค์ส่งเสริมให้เยาวชนไทยอ่านหนังสือทั้ง 6 เล่มนี้ และจัดหาหนังสือทั้ง 6 เล่ม ไปประจำอยู่ในห้องสมุดของสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดวิทยาลัย ห้องสมุดมหาวิทยาลัย และห้องสมุดประชาชนด้วย ที่มา https://www.komchadluek.net
จากรายชื่อหนังสือที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระราชทานที่ให้เด็กไทยควรอ่าน ล้วนเป็นวรรณคดีที่ใช้หรับเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของช่วงชั้น 3 และช่วงชั้นที่ 4วันนี้มาดูเรื่องที่ 4 กัน คือเรื่องอิเหนา
เนื้อเรื่องย่อของอิเหนา
ภาพจาก: https://www.chanpradit.ac.th
เรื่องอิเหนาแบ่งเป็นตอน ๆ รวม 17 ตอน คือ
ตอนที่ 1 กล่าวถึงเมืองหมันหยา มีธงไชยผุดขึ้น 4 ทิศทางให้เกิดข้าวยากหมากแพงกษัตริย์วงศ์เทวัญทั้ง 4 องค์ คือ กุเรปัน ดาหา และสิงหัดส่าหรี มาอาสาถอนธงไชยนั้นได้ ท้าวหมันหยาจึงยกธิดาทั้ง4 ให้และแบ่งเมืองให้ครอบครอง จากนั้นเป็นประวัติของอิเหนา จินตะหรา บุษบาและสียะตรา อิเหนาโอรสของท้าวกุเรปันได้หมั้นหมายกับบุษบาธิดาของท้าวดาหา แต่ทั้งสององค์ไม่เคยพบกันเลย
ตอนที่ 2 อิเหนาไปช่วยงานพระศพพระอัยกีที่เมืองหมันหยา ได้พบจินตะหราและรักใคร่ชอบพอกัน เมื่อท้าวกุเรปันขอให้ท้าวดาหาเตรียมการอภิเษกอิเหนากับบุษบา อิเหนาไม่เคยพบบุษบาจึงทำอุบายไปเที่ยวป่าเพื่อหนีพิธีสยุมพร
ตอนที่ 3 อิเหนากลับมาจากหมันหยา วิยะดาประสูติ ท้าวดาหาของหมั้นวิยะดาให้สียะตราน้องบุษบา ท้าวกุเรปันของให้ท้าวดาหาเตรียมการอภิเษกอิเหนากับบุษบา อิเหนาไม่เคยพบบุษบาจึงทำอุบายไปเที่ยวป่าเพื่อหนีพิธีสยุมพร
ตอนที่ 4 อิเหนาปลอมตัวเป็นชาวป่าชื่อมิสาระปันหยี และได้รบชนะท้าวปักมาหงันกับ 2 พี่น้อง ได้นางมาหยารัศมีและสการะวาตีเป็นบรรณาการ ได้สังคามาระตาเป็นน้อง
ตอนที่ 5 อิเหนาเข้าเมืองหมันหยา ได้จินตะหราและอยู่ด้วยกัน ท้าวกุเรปันให้คนไปตาม ก็ไม่ยอมกลับ และอิเหนายังออกปากอนุญาตให้บุษบาเลือกชายอื่นอภิเษกได้ ท้าวดาหาจึงประกาศบุษบาให้ใครก็ได้ที่มาสู่ขอ
ตอนที่ 6 กล่าวถึงระตูจรการูปชั่วตัวดำ แต่ต้องการมีมเหสีที่รูปงาม จึงให้ช่างไปวาดรูป หญิงสาวตามเมืองต่าง ๆ มาให้เลือก ช่างไปวาดรูปบุษบาได้ 2 รูป ระหว่างทางองค์ปะตาระกาหลาได้บันดาลให้รูปหายรูปหนึ่ง จรกาเห็นรูปบุษบาก็หลงรักและให้ท้าวล่าสำผู้เชษฐาไปสู่ขอ ท้าวดาหาก็ประทานบุษบาให้จรกา
ตอนที่ 7 วิหยาสะกำ โอรสของท้าวกะหมังกุหนิงได้รูปบุษบาที่ช่างวาดของจรกาทำหาย ก็เพ้อถึงบุษบารบเร้าให้บิดาไปสู่ขอ ท้าวดาหาปฏิเสธ ท้าวกะหมังกุหนิงจึงยกทัพมาตีดาหา กษัตริย์วงศ์เทวาทั้งสามเมืองยกทัพมาช่วยป้องกันเมืองดาหา จรกายกทัพมาถึงเมื่อสงครามสิ้นสุดลงแล้ว
ตอนที่ 8 อิเหนาเข้าเฝ้าท้าวดาหาได้พบนางบุษบาก็หลงรักและเสียดายนาง จรกาเร่งให้ทำพิธีอภิเษก อิเหนาล้มเจ็บลงทำให้ต้องเลื่อนพิธีออกไป เมื่ออิเหนาหายป่วย ท้าวดาหาจึงเตรียมอภิเษกบุษบากับจรกา อิเหนาหาอุบายจะลักพาบุษบา
ตอนที่ 9 อิเหนาปลอมเป็นชาวเมืองกะหมังกุหนิง เข้าปล้นเมืองดาหาขณะที่ในเมืองกำลังมีมหรสพฉลองก่อนพิธีอภิเษก ท้าวกุเรปันและท้าวดาหาไปบัญชาดับไฟ อิเหนาแอบไปลักพาบุษบาไปไว้ในถ้ำ
ตอนที่ 10 อิเหนาเข้าเมืองมาแก้สงสัยและอาสาติดตามนางบุษบา เอาวิยะดาไปด้วย ปรากฏว่าบุษบาถูกลมหอบไปเสียแล้ว อิเหนาจึงปลอมเป็นชาวป่าชื่อปันหยีและปลอมวิยะดาเป็นเกนหลงหนึ่งหรัด ออกติดตามบุษบาทั่วเกาะชวาก็ไม่พบจึงไปบวชเป็นอายัน (ฤาษี)
ตอนที่ 11 ฝ่ายบุษบาซึ่งถูกลมหอบไป องค์ปะตาระกาหลาแปลงตัวให้เป็นชายชื่ออุณากรรณ ได้เป็นบุตรบุญธรรมของท้าวประมอตัน วันที่อิเหนาบวชนั้นให้เร่าร้อนใจ จึงขออนุญาตบิดาบุญธรรม
ออกท่องเที่ยวหาสตรีที่พอใจ โดยเจตนาจะตามหาอิเหนา ระหว่างการเดินทางได้เมืองขึ้นหลายเมืองและได้นางกุสุมาเป็นคู่หมั้นของสังคามาระตาเป็นมเหสี แต่แสร้งกล่าวว่ายังร่วมกับสตรีไม่ได้ภายใน ๓ ปี เพราะบนไว้
ตอนที่ 12 อุณากรรณยกทัพเมืองประมอตันไปพบปันหยีแต่จำกันไม่ได้จึงเลยเข้าเมืองกาหลังท้าวกาหลังรับไว้เป็นโอรสบุญธรรม ปันหยีสงสัยว่าอุณากรรณคือบุษบา จึงลาผนวชติดตามเข้าเมืองกาหลังด้วย ระหว่างนั้นกาหลังเกิดศึก ปันหยีและอุณากรรณช่วยรบจนชนะ อุณากรรณเกรงปันหยีจะทราบว่าตนเป็นสตรี จึงทูลลาท้าวกาหลังออกตามหาอิเหนาต่อ
ตอนที่ 13 สังคามาระตาเชื่อว่าอุณากรรณคือบุษบา และหลังรักนางกุสุมาคู่หมั้นของตนเอง จึงให้มหาดเล็กไปแอบดูเวลาอุณากรรณลงสรงก็ทราบว่าเป็นหญิง อุณากรรณลาปันหยีแล้วยกทัพออกจากเมือง และปลีกตัวจากกองทัพไปบวชชี (แอหนัง) พร้อมกับพี่เลี้ยง
ตอนที่ 14 สียะตราออกติดตามหาอิเหนา บุษบาและวิยะดา โดยปลอมเป็นชาวป่าชื่อ ย่าหรัน องค์ปะตาระกาหลาแปลงเป็นนกยูงมาล่อให้ย่าหรันเข้าเมืองกาหลังไปพบปันหยีและเกนหลง สังคามาระตาเป็นใจให้ย่าหรันรักเกนหลง ปันหยีตามไปรับแต่ไม่แพ้ชนะกัน สังคามาระตาจึงขอ กริชย่าหรันให้ปันหยีดูจึงได้รู้จักกัน
ตอนที่ 15 ระตูมะงาดาให้คนมาลักตัวปันหยีเพื่อจะได้สู่ขอนางสกาหนึ่งรัด ธิดาท้าวกาหลังไปให้อนุชาของตน แต่ลักผิดตัวได้ย่าหรันไปขังไว้ ระเด่นตะราหงันธิดาของระตูมะงาดาช่วยย่าหรันและย่าหรันได้นางเป็นชายา ปันหยีออกตามหาย่าหรันไปพบบุษบาซึ่งบวชเป็นแอหนัง เข้าใจว่านางเป็นมเหสีของอุณากรรณ
ตอนที่ 16 สังคามาระตาทำอุบายเชิดหนังเป็นเรื่องราวระหว่างอิเหนากับบุษบาตั้งแต่ต้นแอหนังบุษบาเศร้าโศกมาก พี่เลี้ยงออกมาดูคนเชิดหนังเห็นเป็นปะสันตาก็จำได้ อิเหนาจึงลักนางบุษบาไปอยู่ร่วมกันในเมืองกาหลัง ฝ่ายย่าหรันกับนางดะราหวันหนีจากเมืองมะงาดามาได้ ระตูมะงาดา ตามมารบแต่แพ้จึงยอมเป็นเมืองขึ้นต่อกาหลัง
ตอนที่ 17 ตอนสุดท้ายสังคามาระตาไปช่วยท้าวประมอตันรบกับระตูล่าสำ และได้ระเด่นกุสุมาซึ่งไปกับกองทัพของอุณากรรณนั้น สียะตราลอบส่งข่าวไปถึงท้าวกุเรปันและท้าวดาหา กษัตริย์ทั้งสองเดินทางมาเมืองกาหลัง และจัดพิธีอภิเษกสมรสระเด่นที่หมั้นกันแล้วทุกคู่ รวมทั้งเชิญจินตะหรามาร่วมพิธีด้วย https://lakornram.igetweb.com
คำถาม
การทำศึกสงครามในเรื่องนี้เกิดมาจากเหตุผลใด
การกระทำของตัวละครใดที่ไม่สมเหตุสมผล
กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนแสดงบทบาทสมมติตามเนื้อเรื่อง
การบูรณาการ บูรณาการกับกลุ่มสาระสังคม เกี่ยวกับศาสนาความเชื่อ ประเพณี
แหล่งอ้างอิง
https://www.komchadluek.net
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1489