หนังสือ 6 เล่มที่เด็กไทยควรอ่าน(กาพย์เห่เรือ)


1,056 ผู้ชม


กาพย์เห่เรือ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่ง แต่งไว้สำหรับขับร้องเห่ในกระบวนเรือ โดยมีทำนองเห่ที่สอดคล้องกับจังหวะการพายของฝีพาย ว่าช้า หรือเร็ว มักจะมีพนักงานขับเห่หนึ่งคนเป็นต้นเสียง และฝีพายคอยร้องขับตามจังหวะ พร้อมกับการให้จังหวะจากพนักงานประจำเรือแต่ละลำ   

        เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แถลงข่าวการจัดงาน “รักการอ่าน เทิดมหาราชินี” ว่า เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนไทยมีนิสัยรักการอ่าน และเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวจะมีขึ้นในวันที่ 14-16 สิงหาคมนี้ ที่สพท.เขต 1 ทุกจังหวัด ส่วนกลางจัดที่เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ จะมาเป็นประธานเปิดงานในวันที่ 14 สิงหาคม เวลา 10.00-11.00 น.

          นายจุรินทร์กล่าวต่อไปว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานรายชื่อหนังสือดีเด่น 6 เรื่อง ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน มายังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อส่งเสริมให้มีการอ่านอย่างแพร่หลาย ได้แก่ 1.พระอภัยมณี 2.รามเกียรติ์ 3.นิทานชาดก 4.อิเหนา 5.พระราชพิธีสิบสองเดือน และ 6.กาพย์เห่เรือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง) ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม และกระทรวงศึกษาธิการจะรณรงค์ส่งเสริมให้เยาวชนไทยอ่านหนังสือทั้ง 6 เล่มนี้ และจัดหาหนังสือทั้ง 6 เล่ม ไปประจำอยู่ในห้องสมุดของสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดวิทยาลัย ห้องสมุดมหาวิทยาลัย และห้องสมุดประชาชนด้วย  ที่มา https://www.komchadluek.net

         จากรายชื่อหนังสือที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระราชทานที่ให้เด็กไทยควรอ่าน  ล้วนเป็นวรรณคดีที่ใช้หรับเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของช่วงชั้น  3 และช่วงชั้นที่  4

          เรื่องสุดท้ายแล้วคะ  เรื่อง  กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้ง

         กาพย์เห่เรือนั้น ใช้คำประพันธ์ 2 ชนิดด้วยกัน นั่นคือ กาพย์ยานี 11 และโคลงสี่สุภาพ เรียงร้อยกันในลักษณะที่เรียกว่า กาพย์ห่อโคลง โดยมักขึ้นต้นด้วยโคลง 1 บท แล้วตามด้วยกาพย์ยานี เรื่อยไป จนจบตอนหนึ่งๆ เมื่อจะขึ้นตอนใหม่ ก็จะยกโคลงสี่สุภาพมาอีกหนึ่งบท แล้วตามด้วยกาพย์จนจบตอน เช่นนี้สลับกันไป

         กาพย์เห่เรือที่เก่าแก่ที่สุด ที่พบในเวลานี้ คือ กาพย์เห่เรือในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยาตอนปลาย ทรงแต่งไว้ 2 เรื่อง คือบทเห่ชมเรือ ชมปลา ชมไม้ และชมนก มีลักษณะเป็นเหมือนนิราศ กับอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องกากี

         สันนิษฐานกันว่ากาพย์เห่เรือ เดิมคงจะแต่งเพื่อขับเห่กันเมื่อเดินทางไกลในแม่น้ำลำคลอง แต่ในภายหลังคงมีแต่เจ้านายหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง และสุดท้ายมีใช้แต่ในกระบวนเรือของพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น

          กาพย์เห่เรือไม่สู้จะนิยมประพันธ์กันมากนัก เนื่องจากถือเป็นคำประพันธ์สำหรับใช้ในพิธีการ คือ ในกระบวนเรือหลวง หรือกระบวนพยุยาตราชลมารค ไม่นิยมใช้ในพิธีหรือสถานการณ์อื่นใด การแต่งกาพย์เห่เรือจึงมักแต่งขึ้นสำหรับที่จะใช้เห่เรือจริงๆ ซึ่งในแต่ละรัชกาล มีการเห่เรือเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น   https://th.wikipedia.org

          เนื้อเรื่องย่อ 

 

         กล่าวถึงขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งประกอบด้วยเรือพระที่นั่งกิ่ง  และเรือที่มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ คือ  เรือครุฑยุดนาค เรือไกรสรมุข เรือสมรรถชัย เรือสุวรรณหงษ์ เรือชัย เรือคชสีห์ เรือม้า เรือสิงห์ เรือนาคา (วาสุกรี) เรือมังกร เรือเลียงผา เรืออินทรี  เห่ชมปลา กล่าวพรรณนาชมปลาต่าง ๆ มี ปลานวลจันทร์ คางเบือน ตะเพียน กระแห แก้มช้ำ ปลาทุก น้ำเงิน ปลากราย หางไก่ ปลาสร้อย เนื้ออ่อน ปลาเสือ แมลงภู่  หวีเกศ ชะแวง ชะวาด ปลาแปบ  เห่ชมไม้ เมื่อเรือแล่นเลียบชายฝั่ง ชมไม้ที่เห็นตามชายฝั่ง ซึ่งมี นางแย้ม จำปา ประยงค์ พุดจีบ พิกุล สุกรม สายหยุด พุทธชาด บุนนาค เต็ง แต้ว แก้ว กาหลง มะลิวัลย์ ลำดวน  เห่ชมนก เมื่อใกล้พลบค่ำเห็นนกบินกลับรัง ก็ชมนกต่าง ๆ มี นกยูง สร้อยทอง สาลิกา นางนวล แก้ว ไก่ฟ้า แขกเต้า ดุเหว่า โนรี สัตวา และจบลงด้วยบทเห่ครวญ เป็นการคร่ำครวญ คิดถึงนางที่เป็นที่รักในยามค่ำคืน
การดำเนินเรื่อง  ดำเนินเรื่องได้สัมพันธ์กับเวลาใน 1 วัน  คือ  เช้าชมกระบวนเรือ  สายชมปลา  บ่ายชมไม้ เย็นชมนก  กลางคืนเป็นบทครวญสวาท
        การพรรณนาความ ตอนชมปลา ชมไม้ ชมนก มีการพรรณนาพาดพิงไปถึงหญิงที่รัก เข้าทำนองเดียวกับนิราศ
ประเพณีการเห่เรือ  มีมาแต่โบราณ แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ  เห่เรือหลวง  และเห่เรือเล่น  เห่เรือหลวงเป็นการเห่เรือในราชพิธี  ส่วนเห่เรือเล่น ใช้เห่ในเวลาเล่นเรือเที่ยวเตร่  กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เดิมเป็นเห่เรือเล่น  ต่อมาในรัชกาลที่ 4  ใช้เป็นบทเห่เรือหลวง 
       ตำนานการเห่เรือ  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าการเห่เรือของไทยน่าจะได้แบบมาจากอินเดีย  แต่ของอินเดียใช้เป็นมนต์ในตำราไสยศาสตร์  บูชาพระราม  ของไทยใช้การเห่เรือบอกจังหวะฝีพายให้พายพร้อมกันเป็นการผ่อนแรงและให้ความเพลิดเพลิน
         ลำนำการเห่เรือ  มี 3 ลำนำ คือ
          1. ช้าละวะเห่  มาจาก  ช้าแลว่าเห่  เป็นการเห่ทำนองช้า  ใช้เห่เมื่อเรือเริ่มออกจากท่าและเมื่อพายเรือตามกระแสน้ำ�
          2. มูลเห่  เป็นการเห่ทำนองเร็ว ๆ ใช้เห่หลังจากช้าละวะเห่แล้ว ประมาณ 2-3 บท และใช้เห่เรือตอนเรือทวนน้ำ
          3. สวะเห่  ใช้เห่เมื่อเรืจะเทียบท่า
        คุณค่าที่ได้รับ
          คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์
          1. รูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหา
          2. ดีเด่นทางด้านการพรรณนาให้เห็นภาพ และให้อารมณ์ความรู้สึกดี
          3. ศิลปะการแต่งดี  มีกลวิธีพรรณนาโดยใช้การอุปมา  การเล่นคำ  การใช้คำที่แนะให้เห็นภาพ คำที่นำให้นึกถึงเสียง  คำที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ ได้ดี
          คุณค่าทางด้านสังคม
          1. สะท้อนภาพชีวิตของคนไทยในปลายกรุงศรีอยุธยาที่ใช้การสัญจรทางน้ำเป็นสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยมีแม่น้ำลำคลองมาก
           2. ให้ความรู้เกี่ยวกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  และประเพณีการเห่เรือ
           3. สะท้อนให้เห็นขนบธรรมเนียมประเพณี  ต่านิยม  และความเชื่อของคนไทย เช่น ค่านิยมเกี่ยวกับความงามของสตรีว่าจะต้องงามพร้อมทั้งรูปทรง  มารยาท  ยิ้มแย้มแจ่มใส  และพูดจาไพเราะ ความเชื่อเรื่องเวรกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นต้นhttps://blog.eduzones.com

        คำถาม : ประวัติการเห่เรือมีมาตั้งแต่สมัยใด  ,        การแต่งเห่ใช้คำประพันธ์ชนิดใดแต่ง

        กิจกรรมเสนอแนะ  นักเรียนศึกษาการเห่เรือและฝึกการเห่เรือ

        บูรณาการกับกลุ่มสาระสังคมศึกษา  เกี่ยวกัประเพณี  กลุ่มสาระวิทยาศสาตร์ เกี่ยวกับพรรณไม้  ปลา  นก  กลุ่มสาระคณฺตศาสตร์  เกี่ยวกับการคำนวณระยะการเดินทาง

        แหล่งอ้าอิง

        https://blog.eduzones.com

           https://th.wikipedia.org

           https://www.komchadluek.net

           https://www.pantown.com
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1491

อัพเดทล่าสุด