ยกสุภาษิต....คิดอุปมาโวหาร


842 ผู้ชม



“ คือรูปรสกลิ่นเสียงไม่เที่ยงแท้ ย่อมเฒ่าแก่เกิดโรคโศกสงสาร.....   

กงกำกงเกวียน  ใช้เป็นคำอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทำแกเขาอย่างไร
ตนหรือลูกหลานก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกลกำกงเกวียน  กรวดน้ำคว่ำกะลา, กรวดน้ำคว่ำขัน   ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย
กระดังงาลนไฟ  หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจ
ผู้ชายได้ดีกว่าหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน
กระดี่ได้น้ำ   ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจจนตัวสั่น เช่น เขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ
กระต่ายขาเดียว, กระต่ายสามขา   ยืนกรานไม่ยอมรับ
กระต่ายตื่นตูม ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้ก่อน
กระต่ายหมายจันทร์ ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า
กำขี้ดีกว่ากำตด  ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
กินน้ำไต้ศอก  จำต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า, (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมล
ให้แก่เมียหลวง)
กาคาบพริก   ลักษณะคนผิวดำแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าแดง
กินบนเรือน ขี้บนหลังคา  คนเนรคุณ
กินปูนร้อนท้อง   ทำอาการมีพิรุธเอง, แสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง
รายละเอียด  :  https://www.rayong.go.th/redcross/data/history/history18.pdf
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
 เทศนาโวหาร
มาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ ๑  การอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหา
และสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑.๑ สามารถอ่านได้คล่องและอ่านได้เร็วขึ้นเข้าใจความหมายของคำ 
สำนวนโวหารการบรรยาย การพรรณนา การเปรียบเทียบ การใช้บริบท เข้าใจความหมายของถ้อยคำสำนวนและเนื้อเรื่อง และใช้แหล่งความรู้พัฒนาความสามารถการอ่าน
สาระที่ ๓ การฟัง การดู และการพูด
มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารญาณและพูดแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
มาตรฐาน ท ๓.๑.๒ สามารถสนทนาโต้ตอบ พูดแสดงความรู้ ความคิด พูดวิเคราะห์เรื่องราว พูดต่อหน้าชุมชน และพูดรายงาน โดยใช้ถ้อยคำเหมาะแก่เรื่องและจุดประสงค์
ตามหลักการพูด มีมารยาทการฟัง การดู และการพูด

สาระสำคัญ
 อุปมาโวหาร หมายถึง  โวหารเปรียบเทียบ โดยยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบ
เพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น 
กิจกรรมเสนอแนะ
      การเขียนอุปมาโวหาร  ผู้เขียนควรเข้าใจเลือกใช้สำนวนโวหารให้เหมาะกับเนื้อความที่ จะเขียน สำนวนโวหารในภาษาไทย 
 เรียนรู้เพิ่มเติม
หลักการเขียนอุปมาโวหาร 
อุปมาโวหาร หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบเพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย
 ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าอุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม
 บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนน่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้น ๆ หรือเปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้
 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมา โวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใด
https://writer.dek-d.com/zennoval/story/view.php?id=247031

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2463

อัพเดทล่าสุด