จตุรัสแห่งความปรองดอง (Place de la Concorde)


753 ผู้ชม


จตุรัสแห่งความปรองดองที่ต้องฉาบด้วยน้ำตาชาวฝรั่งเศส   

         จตุรัสแห่งความปรองดอง

         คำว่า Place de la Concorde แปลว่า จตุรัสแห่งความปรองดอง ร่วมมือร่วมใจ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศฝรั่งเศสรองจากลานแกงกงซ์ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่15 เทศบาลกรุงปารีสได้สร้างพระบรมรูปพระองค์ทรงม้าถวายในปี 1748 โดยนักประติมากรรมชื่อ เอ็ดเม บูชาร์ดง พระเจ้าหลุยส์ที่15 จึงโปรดให้ ชัก ออง กาบริเอล สถาปนิกออกแบบสร้างลานกว้างใหญ่สำหรับประดิษฐานพระบรมรูปทรงม้าดังกล่าวแล้วตั้งชื่อว่าลานพระเจ้าหลุยส์ที่15

พระเจ้าหลุยส์ที่15
ภาพจาก 
www.nndb.com

          ในปี 1795 มีการเปลี่ยนชื่อเป็น ลานกงกอร์ด ทั้งนี้ก็ด้วยหวังให้เกิดความปรองดองกันไม่เข่นฆ่ากันเอง แต่พอถึงสมัยพระเจ้าพระเจ้าหลุยส์ที่18 ซึ่งองค์นี้เป็นน้องของพระเจ้าหลุยส์ที่16 ซึ่งเป็นหลานของพระเจ้าหลุยส์ที่15 จึงเปลี่ยนชื่อเป็นลานพระเจ้าหลุยส์ที่15 ดังเดิมในปี1814 ต่อจากนั้นในปี 1823 ก็ได้เปลี่ยนชื่ออีก เป็นลานพระเจ้าหลุยส์ที่16 และเมื่อถึงสมัยของพระเจ้าชารล์ที่10 ก็เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Place de la Charte ในปี1830 และในปีเดียวกันนี้ กษัตริย์หลุยส์ ฟิลิปที่1 เข้าสู่อำนาจ จึงโปรดให้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็นลานกงกอร์ด และเรียกชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน         ต่อมาในปี 1789 สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่16 พวกปฏิวัติ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ลานแห่งการปฏิวัติ” (Place de la Révolution) ในปี1789 มีการลื้อถอนพระบรมรูปทรงม้าพระเจ้าหลุยส์ที่15 ลง แล้วนำเครื่องประหารชีวิตที่เรียกว่า “กิโยตีน” มีบันทึกว่ามีผู้ถูกประหารชีวิตที่ลานแห่งนี้ถึง 1,119 คน ในจำนวนนี้รวมถึง พระเจ้าหลุยส์ที่16, พระนางมารีอ็องตัวแนตต์, ชอร์ช ชัก ดองตง และมักซิมิเลียง เดอ โรเบสปิแอร์ด้วย   

         ลักษณะของลานนี้เป็นรูปแปดเหลี่ยม จุดเด่นคือเสาหินสูงตรงกลางที่ถูกขนาบข้างทั้งสองฝั่งด้วยน้ำพุ เสาหินนี้เป็นแบบเดียวกับที่หน้าวิหารเซนต์ปีเตอร์ ในนครรัฐวาติกัน กลางกรุงโรม ประเทศอิตาลี เรียกเสานี้ว่า “เสาโอเบลิสก์”(L’Obélisque) เสานี้ทำด้วยหินแกรนิตสีชมพู มีอักษรภาษาอียิปต์โบราณที่เรียกว่าอิเอโรกลิฟ เล่าเรื่องราว สมัยรามเสสที่2 และเรื่องราว สมัยรามเสสที่3 มีอายุประมาณ 3,300ปี เสาต้นนี้เดิมตั้งอยู่ที่ทางเข้าวิหารอามอน เมืองลุกซอร์ ประเทศอียิปต์ ฝรั่งเศสได้มาจากอุปราชของอียิปต์ ชื่อ เมเฮเหม็ด อาลี ได้มอบเป็นของขวัญ ในสมัยพระเจ้าชารล์ที่10 ในปี 1829 พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปจึงให้สถาปนิก ชัก อิตตอรฟ์ สร้างน้ำพุ 2 อัน บริเวณกลางลาน แล้วจึงนำเสาโอเบลิสก์ มายังบริเวณ ตรงกลางระหว่างน้ำพุอีกที เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1836 โดยวิศวะกรที่ชื่อ อาโปลิแนร์ เลอบา เสานี้มีน้ำหนัก 227 ตัน เมื่อติดตั้งแล้วมีความสูง 22.83เมตร บริเวณโคนเสามีลายเส้นเขียนภาพฉาบด้วยสีทอง แสดงการขนย้าย ชักรอกลงเรือมายังประเทศฝรั่งเศส และความจริงที่บริเวณยอดของเสาหินนั้น มีหัวเสาครอบอยู่ด้วย แต่โดนโจรกรรมไปเมื่อราว 600 ปีก่อนคริสตกาล ทำให้เสาดูไม่งาม รัฐบาลฝรั่งเศสจึงนำแผ่นทองมาปิดไว้ ให้สวยงามขึ้น

  

                                                                                                                      เรื่องโดย ศุภฤกษ์ เชื้อมั่น
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=773

อัพเดทล่าสุด