Asking about Health


764 ผู้ชม


ภาษาอังกฤษ: การสอบถามเรื่องสุขภาพ   

Asking about Health

 www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admi...

              ฤดูฝน เป็นฤดูที่ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษในเรื่องไข้หวัดใหญ่... โดยเฉพาะบ้านที่มีน้องๆหนูๆเป็นสมาชิกภายในบ้าน วันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดใหญ่กันดีกว่าค่ะ

 ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza A และ B เป็นเชื้อก่อโรคที่พบได้บ่อยในคน ประเทศไทยพบโรคนี้ประมาณร้อยละ 30 ของผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน พบได้น้อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พบมากในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – มีนาคม

การติดต่อ
โรคไข้หวัดใหญ่แพร่กระจายจากคนสู่คนโดยทางละอองฝอยหรือโดยการสัมผัสโดยตรงกับสิ่งของต่างๆที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากจมูก และคอหอยของผู้ป่วย

อาการ 
แบ่งได้ตามอายุของผู้ป่วย
- เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มักมาด้วยไข้ ร่วมกับอาการของทางเดินหายใจส่วนบน มีน้ำมูก และไอ) อาจพบอาการปวดท้อง และท้องเสียร่วมด้วย ในกลุ่มอายุนี้มักพบอาการปอดบวมแทรกซ้อน ร้อยละ 10 – 50
- เด็กโตหรือผู้ใหญ่ มักมาด้วยอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คันคอ น้ำมูกไหล ไอแห้งๆ

ภาวะแทรกซ้อน
อาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย คือ หูชั้นกลางอักเสบ, ปอดอักเสบ, กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ, บางครั้งอาจพบอาการภาวะสมองอักเสบร่วมด้วย

การรักษา
โรคไข้หวัดใหญ่มักหายได้เอง ให้การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น ให้นอนพัก ให้ยาลดไข้(ห้ามใช้ยาแอสไพริน) ทางอาหารอ่อนๆ ดื่มน้ำมากๆ ส่วนการให้ยาต้านไวรัสพิจารณาในรายที่มีอาการรุนแรง และผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน

การป้องกัน 
• การป้องกันส่วนบุคคล เช่น ล้างมือบ่อยๆ ใส่หน้ากากอนามัยขณะป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่มีอาการไอหรือจาม
• การป้องกันโดยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป (ไม่แนะนำในบุคคลที่แพ้โปรตีนจากไข่)


ควรให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่กับใคร
1. ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ ได้แก่
- ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
- มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ ปอด หอบหืด โรคไตเรื้อรัง เบาหวาน เป็นต้น
- มีปัญหาทางระบบประสาทผิดปกติ
- ภูมิกันบกพร่อง
- เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
2. ผู้ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อไข้หวัดใหญ่ให้กับกลุ่มเสี่ยงสูง และคนที่อยู่บ้านเดียวกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
3. แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง

 Asking about Health :

เนื้อหากลุ่มสาระภาษาอังกฤษ ช่วงชั้นที่  2,3,4

เนื้อเรื่อง   การเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน  ยิ่งช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝน ไข้หวัดจะเกิดขึ้นได้ง่ายกับทุกคนที่ดุแลสุขภาพไม่ดีพอ ในภาษาอังกฤษ จะใช้คำอะไรบ้างในการสอบถามเรื่องสุขภาพ มาเรียนรุ้กันค่ะ

คำถาม  เวลาที่เจอคนป่วย ประโยคที่จะถาม  

      เป็นอะไรค่ะ               ภาษาอังกฤษ   What’s the matter?
      มีเรื่องอะไรเกิดขึ้น (กับคุณ) หรือ       What's the matter with you?
      เกิดอะไรขึ้นหรือ                                 What happened?

และจะตามมาด้วยประโยคสอบถามอาการ

      What are your symptoms? อาการของคุณเป็นอย่างไรบ้าง
      Do you have a headache? คุณมีอาการปวดศีรษะไหม
      Do you have fever/high temperature? ตัวร้อนหรือไข้ขึ้นไหม
      How do you feel now? ตอนนี้คุณรู้สึกอย่างไร
      Did you get hurt? คุณเจ็บหรือเปล่า

การตอบสำนวนที่ใช้จะมีดังนี้
   
      I feel sick. ฉันรู้สึกไม่สบาย
      I am all right now. ตอนนี้ฉันสบายดี
      I'm much better. ฉันดีขึ้นมากเลย
      I have a headache/toothache. ฉันปวดหัว/ปวดฟัน
      I have a stomachache/backache. ฉันปวดท้อง/ปวดหลัง
      I have a sore eye/throat. ฉันเจ็บตา/เจ็บคอ
      I have a cold. ฉันเป็นหวัด
      I have a slight fever. ฉันเป็นไข้นิดหน่อย
      I feel chilly/dizzy. ฉันรู้สึกหนาวสั่น/มึนหัว
      I have a terrible cold. ฉันเป็นหวัดรุนแรงมาก
      My leg hurts. เจ็บขา
      I guess I'm just tired. ฉันคิดว่า ฉันแค่เหนื่อยเท่านั้น
      It's nothing. How come? ไม่มีอะไรหรอก ทำไมหรือ
      You should stay in bed. เธอควรจะกลับไปนอนพักผ่อนดีกว่า
      You should see a doctor. เธอควรจะไปนอนดีกว่า
      You should take some medicines. เธอควรจะกินยาดีกว่า
     

กิจกรรมเสนอแนะ

       ศึกษาประโยคเพิ่มเติมเช่น  It's not serious. ไม่ร้ายแรงหรอก
                                                  
You look very well. คุณดูมีความสุขดีนะ
                                                  You don't look well. เธอดูไม่สบายเลยนะ
                                                  You look (very) pale. เธอดูหน้าซีด (มาก)
                                                   I feel better./I'm getting better. ฉันรู้สึกดีขึ้นแล้ว

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น

        สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม    การแสดงบทบาทสมมุติ การเยี่ยมคนป่วย

        ภาษาไทย   การคัดและแปลประโยคภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

        สุขศึกษาและพลศึกษา   การออกกำลังกาย

แหล่งข้อมูล:  พ.ญ. ภัทรวดี  งามเนตร กุมารแพทย์ประจำโรงพยาบาลเสรีรักษ์                       

                       https://www.bpcd.net/new
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1460

อัพเดทล่าสุด