วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การโต้วาที


5,266 ผู้ชม


การโต้วาทีเป็นการอภิปรายแบบหนึ่ง   

www.youtube.com/watchวิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การโต้วาที

                                         ทีมน้องใหม่คณะมนุษยศาสตร์ ฯ คว้าชัยประเพณีโต้วาทีน้องใหม่ มอดินแดง
     ชมรมพัฒนาผู้นำ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดการแข่งขัน ประเพณีโต้วาทีน้องใหม่ ประจำปีการศึกษา 2555  ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม  2555 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาน้องใหม่ ได้แสดงออกเพื่อพัฒนาศักยภาพของตน  ซึ่งเปิดโอกาสให้สโมสรนักศึกษาทุกคณะ/วิทยาลัย ได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ผลปรากฏว่า ทีมน้องใหม่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คว้าชัยรับโล่เกียรติยศประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พร้อมทุนการศึกษา
                                                           ที่มาของภาพและข่าว : https://www.kku.ac.th/news/

การโต้วาทีเป็นทักษะการพูดที่ใช้ไหวพริบในการแก้ปัญหาและหาข้อโต้แย้งฝ่ายตรงข้าม

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

การโต้วาที
          การโต้วาทีเป็นการอภิปรายแบบหนึ่ง  ซึ่งมุ่งแสดงสำนวนคารมคมคาย  และการเอาชนะฝ่ายตรงข้ามด้วยเหตุผลและโวหาร  เป็นการแสดง
ศิลปะการพูดเพื่อโน้มน้าวใจผู้ฟังให้มีความคิดเห็นคล้อยตามผู้พูด  ซึ่งเป็นหัวใจของการโต้วาที
          การโต้วาทีประกอบด้วย ๒ ฝ่าย  ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนญัตติ อีกฝ่ายค้านญัตติ  แต่ละฝ่ายมีจำนวนเท่ากัน  มีประธานและมีกรรมการตัดสินแพ้ชนะ
โดยถือเอาเหตุผลและโวหารเป็นหลักสำคัญ  การโต้วาทีชนิดนี้จะมีกฎเกณฑ์มีกติกาที่แน่นอน  ซึ่งจะต้องยึดถืออย่าง   เคร่งครัด
องค์ประกอบสำคัญ
ญัตติ  คือ  หัวข้อที่จะนำมาโต้วาทีกัน  มีลักษณะสำคัญคือ
      - ต้องเป็นหัวข้อที่ไม่เสียเปรียบกันมากเกินไป  
      - ญัตติควรมุ่งแนวที่จะสร้างเสริมความรู้สติปัญญาผู้โต้และผู้ฟัง  
      - ไม่ขัดต่อศีลธรรมตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี 
     - เป็นประเด็นที่มีประโยชน์สำหรับผู้ฟังและผู้พูด
      - เป็นวลี หรือข้อความสั้น ๆ จดจำง่าย และกระจ่างชัด  เช่น  “อยู่ในเมืองดีกว่าชนบท”  “แต่งงานดีกว่าเป็นโสด”   
คณะผู้โต้วาที
๑.  ประธาน  คือ  ผู้กล่าวเปิกการโต้วาทีแนะนำผู้โต้  กรรมการ  ประกาศญัตติ  ระเบียบการ และกล่าวเชิญผู้โต้ขึ้นมา  
     ตามลำดับ 
และประกาศตัดสินว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายชนะ  ประธานต้องรักษาความเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และ
    ไม่พูด
ยาวเกินไป
๒. ผู้โต้วาที  ต้องเป็นผู้มีความรู้ดี และรอบรู้ในเรื่องต่างๆ  สนใจเหตุการณ์รอบตัว  มีความจำดีสามารถนำความรู้และ  
     ประสบการณ์ต่างๆ มาใช้ได้ทันที  มีปฏิภาณและไหวพริบในการคัดค้านฝ่ายตรงข้ามมีการเตรียมตัวมากพอสมควร  
    ไม่โต้นอกญัตติ  สามารถใช้สำนวนโวหารดึงดูดใจผู้ฟังได้โดยไม่พาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นหรือคู่ต่อสู้ สามารถ
     ใช้น้ำเสียง  น้ำหนักของคำ  
ท่วงทำนอง  ท่าทาง ประกอบ  ทำให้ผู้ฟังสนใจ  ผู้โต้วาทีมีสองฝ่ายคือฝ่ายคือฝ่ายเสนอ
     และฝ่ายค้าน  แต่ละฝ่ายมีจำนวนเท่ากันคือ  ๓-๔-๕ คน ทั้งสอง

     ฝ่ายจะมีหัวหน้าของตน  
๓. กรรมการตัดสิน  กรรมการคือ  ผู้ที่มีความรู้เรื่องการโต้วาที  มีความรู้เกี่ยวกับญัตติที่โต้พอสมควร  ประเด็นในการโต้    
     เหตุผลการหักล้าง   วาทศิลป์    มารยาท คือท่าทาง เนื้อหาที่พูด การใช้ถ้อยคำ และการตรงต่อเวลา  น้ำเสียง วิธีพูด
  
     และท่าทาง  กรรมการมีจำนวนคี่ (๓,๕,๗) 
การจัดการโต้วาที
       ฝ่ายเสนอจะนั่งทางขวามือของผู้ดำเนินการโต้วาที ฝ่ายค้านจะนั่งทางซ้าย โดยหัวหน้าฝ่ายทั้งสองฝ่ายจะนั่งที่นั่งแรก เวลาที่ใช้ในการโต้วาที มี ๔ แบบ 
๕๓๓ ๖๔๔ ๗๕๕ และ ๘๖๖
       ตัวเลขตัวแรก คือ เวลาที่คิดเป็นนาทีที่หัวหน้าฝ่ายแต่ละฝ่ายใช้พูดในตอนต้น
       ตัวเลขตัวกลาง คือ เวลาที่คิดเป็นนาทีที่ผู้สนับสนุนแต่ละคนใช้พูด
       ตัวเลขตัวท้าย คือ เวลาที่คิดเป็นนาทีที่หัวหน้าฝ่ายแต่ละฝ่ายใช้สรุปเพราะเวลาการโต้วาทีสามารถยืดหยุ่นได้
ตามความเหมาะสม
ขั้นตอนการโต้วาที
      ประธานการโต้วาที  เป็นผู้กล่าวแนะนำผู้โต้วาทีทั้งสองฝ่าย  แจ้งกติกาให้ทราบ  เช่น  หลักเกณฑ์การตัดสินให้ใครพูดกี่นาที  และเชิญผู้โต้
วาทีแต่ละคนพูดตามลำดับ
     ๑. หัวหน้าฝ่ายเสนอ                                                   ๒. หัวหน้าฝ่ายค้าน   
     ๓. ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอ  คนที่  ๑                            ๔. ผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน  คนที่  ๑   
     ๕. ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอ  คนที่  ๒                           ๖. ผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน คนที่  ๒    
     ๗. ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอ  คนที่  ๓                           ๘. ผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน  คนที่  ๓    
     ๙. หัวหน้าฝ่ายค้าน สรุป                                         ๑๐. หัวหน้าฝ่ายเสนอ สรุป    
  
 เมื่อจบด้วยหัวหน้าฝ่ายเสนอแล้วประธานสรุปแจ้งผลการตัดสิน
เทคนิคในการพูดโต้วาที 
       ๑. การป้องกัน หมายถึง การป้องกันญัตติด้วยการหาเหตุผลมาล้อมกรอบสาระสำคัญของญัตติ
       ๒. การโจมตี หมายถึง การกล่าวซ้ำเติม หรือกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามว่าไร้เหตุผล
       ๓. การต่อต้าน หมายถึง การหักล้างเหตุผลการโจมตีของฝ่ายตรงข้ามที่กล่าวโจมตีฝ่ายตน
       ๔. การค้านอย่างมีศิลปะ การค้านจะทำได้ ๓ วิธี คือ
            ๔.๑  ค้านญัตติ เป็นการค้านตัวญัตติหรือสาระของญัตติว่าไม่ถูกต้อง
            ๔.๒ ค้านเหตุผล เป็นการค้านเหตุผลที่อีกฝ่ายเสนอมา
            ๔.๓ ค้านข้ออ้างอิง เป็นการค้านข้ออ้างอิงที่อีกฝ่ายเสนอมา
ประโยชน์การโต้วาที
           ๑. ทำให้กล้าแสดงความคิดเห็น  มีความมั่นใจในตนเอง   
           ๒. ทำให้ผู้โต้มีความรู้รอบตัวเพิ่มขึ้น
           ๓. ฝึกให้เป็นผู้มีความรอบคอบมีปฏิภาณไหวพริบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  
           ๔. รู้จักใช้สำนวนภาษาอย่างถูกต้องเหมาะสม
       การโต้วาทีที่ดีนั้น  จะต้องยึดหลักความจริงและยกหลักเหตุผลที่ถูกต้องมาหักล้าง  โดยใช้วาทศิลป์ที่คมคายและข้อคิดที่ลึกซึ้ง  เพื่อโน้มน้าวชักจูงให้ผู้ฟังมีความคิดเห็นเช่นเดียวกับตน   
ข้อควรระวังในการโต้วาที
             ๑)    ไม่มุ่งแต่จะชนะฝ่ายเดียว  มีน้ำใจเป็นนักกีฬา  ไม่ใช้วาจาก้าวร้าว  ไม่แสดงความโกรธ ไม่ถือเป็นเอง
                     บาดหมางใจกัน  
                    เมื่อการโต้วาทีเสร็จสิ้นไปแล้ว  ฉะนั้นต้องยิ้มแย้มแจ่มใส
            ๒)    ไม่เรียกชื่อจริงของฝ่ายตรงข้าม  เรียกตำแหน่งของผู้โต้วาที
            ๓)   ไม่พูดเรื่องตลกคะนองโดยไร้สาระ ต้องมุ่งถึงประโยชน์ของผู้ฟัง  ใช้ภาษาให้ถูกต้องไม่พาดพิง  
                    เรื่องส่วนตัวของผู้อื่น   
                    หรือของคู่ต่อสู้
           ๔)    ระมัดระวังในเรื่องบุคลิกภาพ  การแต่งกายเหมาะสม  การแสดงความรู้สึก  และท่าทางประกอบการพูด

 ประเด็นคำถาม
๑. การพูดโต้วาทีมีประโยชน์อะไรกับนักเรียนบ้าง
๒. การโต้วาทีผู้พูดต้อมีคุณสมบัติสำคัญอย่างไรบ้าง
๓.ช่วยกันคิดหาประเด็นมาตั้งเป็นญัตติการโต้วาที

กิจกรรมเสนอแนะ
 ให้นักเรียนได้มีโอกาสจัดการโต้วาทีในชั้นเรียน หรือจัดการแข่งขันในโอกาสวันสำคัญต่างๆ

การบูรณาการกับสาระวิชาอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  จัดกิจกรรมโต้วาทีในประเด็นที่น่าสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา   จัดกิจกรรมโต้วาทีในประเด็นที่น่าสนใจในวิชาสังคมศึกษา
กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ  จัดการโต้วาทีโดยใช้ภาษาอังกฤษ

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

https://www.kku.ac.th/news/
https://th.wikipedia.org/wiki
https://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=12291&mul_source_id=022357

ww.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php

ตัวอย่างการพูดโต้วาทีwww.youtube.com/watch
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4754

อัพเดทล่าสุด