วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ยืม (ภาษาใคร) ทำไมไม่คืน


2,803 ผู้ชม


ยืมใช้ทำไมไม่คืน” ในที่นี้หมายถึงการยืมคำภาษาอื่นที่ไม่ทำให้เกิดกาใช่ภาษาไทยของเรามาใช้ร่วมปะปน การยืมคำจากภาษาอื่นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย   

                                                       ยืม ( ภาษาใคร) ทำไมไม่คืน

           ประเทศไทยของเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีคำที่ยืมมาใช้มีมากมายหลากหลายคำมากๆ  การยืมภาษาจากต่างประเทศเข้ามาปะปนเป็นเวลามานานแล้ว  แม้แต่ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชในปี พ.ศ.๑๘๒๖  ยังมีการปรากฎคำที่ยืมจากภาษาอื่นมาใช้ร่วมกับภาษาไทย คือ คำที่ยืมมาจากภาษาบาลีสันสกฤตและเขมร
           “ยืมใช้ทำไมไม่คืน” ในที่นี้หมายถึงการยืมคำภาษาอื่นที่ไม่ทำให้เกิดกาใช่ภาษาไทยของเรามาใช้ร่วมปะปน การยืมคำจากภาษาอื่นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ภาษาที่ยืมมาใช้นั้นมีอิทธิพลต่อวงศัพท์ซึ่งการยืมทำให้จำนวนศัพท์ในภาษามีการเพิ่มพูน เกิดวาระการใช้ศัพท์ต่าวๆกันเป็นคำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเดียวกัน ส่วนใหญ่เราจะเลือกใช้ตามโอกาสและความเหมาะสมท้งยังมีประโยชน์ในการแต่งบทร้อยกรองเพราะมีหลากคำ
            คำที่คนไทยเรายืมมาใช้ในภาษาไทยในปัจจุบันที่พบกันบ่อยๆ เช่น เขมร  จีน  ชวา  มาลายู  ญวณ  ญี่ปุ่น  เปอร์เชีย  โปรตุเกส  ฝรั่งเศส  พม่า  มอญ  อังกฤษ  ก่อนหน้านี้เราพบคำที่ปะปนในภาษาไทยเพียง ๑๑คำ  เท่านั้นโดยดูจากบันทึกพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน ในปีพ.ศ.๒๔๙๓ คือ คำที่ยืมมาจากภาษาเขมร  จีน  ชวา  ญวณ  ตะเลง  เบงคอลี  บาลี  ฝรั่งเศส  สันสกฤต  อังกฤษ  และฮินดู  และต่อมาก็ได้มีคำที่เรายืมมาใช้เพิ่มขึ้นอีก ๓ ภาษา  คือ ญี่ปุ่น  มาลายู  และลาติน  ซึ่งคำเหล่านี้ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ทั้งที่ยืมมาใช้ก่อนแล้วและเพิ่มขึ้นใหม่มาภายหลัง  เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้และจะใช้กันชั่วลูกชั่วหลาน 
            สาเหตุที่ประเทศไทยของเราต้องยืมภาษาอื่นมาใช้ปะปนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีหลายสาเหตุด้วยกัน  เช่น ประเทศของไทยเรามีอาณาเขตติดต่อใกล้เคียงกันเป็นแบบบ้านพี่บ้านเมืองน้อง  การติดต่อด้านการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า  การเผยแพร่ด้านศาสนา วัฒนธรรม  การศึกษาต่างประเทศโดยวิทยาการต่างๆมากมาย  ความสัมพันธ์ด้านการทูต
             ในฐานะเราเป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่งที่ได้ใช้คำที่ยืมมาจากภาษาอื่นมาใช้ร่วมกับภาษาไทยของเรานั้น  เราจะต้องใช้ให้ถูกตามหลักของภาษาโดยการไม่ทำให้ภาษา ผิดเพี้ยนหรือสูญหาย  เพื่อการอนุรักษ์ไว้ให้อยู่กับคนไทยของเราและให้ลูกหลานได้ศึกษาสืบทอดต่อไปแบบถูกต้องตลอดไป

             (  ผู้เขียน :  นายทวีศักดิ์   หลีแก้วสาย  ม.5/1  โรงเรียนเวียงมอกวิทยา  สพท.ลำปาง  เขต ๒ ) 

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ยืม (ภาษาใคร) ทำไมไม่คืน  ข้อสังเกตุคำที่มาจากภาษาเขมร

๑.    คำเขมรสะกดด้วย    พยัญชนะ  จ  ญ  ล ร  ส
       จ :   อำนาจ  เสร็จ  เสด็จ  เผด็จ  ตำรวจ  ฯลฯ
       ญ :  เพ็ญ  เผอิญ   สำราญ  ผจญ  ครวญ  ชำนาญ  เจริญ  ฯลฯ
        ล :   กังวล  ถกล  ถวิล  ดล  ดาล  จรัล  กำนัล  ตำบล  ฯลฯ
        ร :   ขจร  อร  กำธร  ควร  ตระการ  ฯลฯ
       ส :   ดำรัส  จรัส  ตรัส  ฯลฯ
๒. คำเขมรมักควบกล้ำ
 กรวด   กระบือ   เกลอ   ขลาด    กระแส   ไพร   ตระกอง   โปรด  กราน  กรม  กระทรวง  กระเพาะ  กระจอก
 โขลน  เพลา  กระโปรง  คลัง  ควาญ  ประชุม  ประกายพรึก  ประเดิม  ปรุง  เพลิง  ผลาญ
๓. คำเขมรมักใช้อักษรนำ
 ขยม   โขมด   เขม่า   ขนอง   เสวย   เขนย   จมูก   ถวาย   ฉนำ   เฉลียง   ฉงาย   ขนุน   ขยำ   ขนม   จรวด    ฉงน   ฉลอง  ฉลาด เฉลียว   ฉบับ   สนิม   ขวนขวาย   โตนด   ขนง   สนาน   สนุก   ฉนวน   ถนน
๔.    คำเขมรมักขึ้นต้นด้วย  “  สระอำ ”   กำ   คำ   จำ   ชำ   ดำ   ตำ   ทำ  สำ   อำ
 กำหนด   กำเนิด   คำรบ   จำแนก   จำหน่าย   ชำนาญ   ชำรุด   ดำเนิน   ดำรง  ดำริ   ดำรัส   ตำรวจ   ตำรา   ทำนบ    ทำเนียบ   สำราญ   สำรวล  อำนวย   กำจัด
๕.   คำเขมรขึ้นต้นด้วย   บำ  บัง  บัน  บรร
 บำเพ็ญ   บำนาญ   บำเหน็จ   บำบัด   บำเรอ   บำราศ   บังควร   บังอาจ   บังคม   บังคับ   บังเกิด   บันทึก   
 บันเทิง   บันดาล   บันได   บรรทุก   บรรจุ   บรรจง   บรรจบ   บรรหาร  บรรทัด   บรรเทา
          วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ยืม (ภาษาใคร) ทำไมไม่คืน   คำ ( คำเขมร ) เพิ่มเติมที่ควรจำ
 แข   ศก   ศอ   เรียม   เฉนียน   กระจาย   กระดาน   กระโดง   ประจง   ประจบ   ประทม   จัด ( จัร )   ฉะเชิงเทรา  เชวง   ชะเอม   เฌอ   เฌอเอม   เดิม   เดิน   โดม   แถง   ไถง   ทบวง   ทลาย   ทหาร   ผกาย    ผกา   ละเอียด   ระบือ  สำเนา   สไบ   เสน่ง   เสนียด   สาแหรก   อุพพิด   แสะ   ฉบับ
 

 วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ยืม (ภาษาใคร) ทำไมไม่คืนภาษาจีน

               ภาษาจีนเข้ามาสู่ภาษาไทย  โดยการติดต่อสัมพันธ์กันและโดยทางการค้ามาเป็นเวลานาน  ลักษณะภาษาจีนและภาษาไทยมีความคล้ายคลึงกันเพราะเป็นภาษาคำโดดและมีเสียงวรรณยุกต์เช่นเดียวกัน   เมื่อนำเข้ามาใช้ในภาษาไทยจึงใช้วรรณยุกต์เพื่อออกเสียงวรรรยุกต์ตามภาษาจีน   คำภาษาจีนที่นำมาใช้ในภาษาไทยมีอยู่มาก  เช่น
 อาหาร     =     ก๋วยเตี๋ยว   กวยจั๊บ   แฮ่กึ๊น  อี๋   โอเลี้ยง  พะโล้   บะหมี่   บะช่อ  เต้าเจี้ยว  เต้าฮวย  เต้าทึง  เต้าส่วน   ชา  เฉาก๊วย   โจ๊ก   เกี้ยมอี๋   เกี้ยมโฉ่   เก๊กฮวย   เกาลัด  เกาเหลา  เกี๊ยว
 บุคคล      = เจ้าสัว   หลงจู๊   เสี่ย   เถ้าแก่   ตั้วโผ   ซินแส   เจ๊
 สิ่งของ     = เอี้ยมจุ๊น  อั้งโล่  ห้าง  ลังถึง  ยี่ห้อ  โป๊ะ  แปะเจี๊ยะ   ปุ้งกี๋   ตั๋ว  โต๊ะ  ตะหลิว  ตะเกียบ  เซียมซี  แซ่  กางเกง   ก๊ก  เก้าอี้   เก๋ง
 อาหาร     = คะน้า  กวางตุ้ง  กาน้า   บ๊วย  ท้อ  โป๊ยเซียน
วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ยืม (ภาษาใคร) ทำไมไม่คืนภาษาอังกฤษ

               คำในภาษาอังกฤษเข้ามาทางการค้าขาย   ทางการทูต  ทางการศึกษา  และการติดต่อสื่อสารทางเทคโนโลยี  ภาษาอังกฤษมีอิทธิพลอยู่ในภาษาไทยมาก  เช่น
 *   ชื่อสัตว์   มีคำว่า    กอริลลา   ชิมแปนซี  ฮิปโปโปเตมัส  เพนกวิน  กีวี  อีมู  ยีราฟ  
 *   ชื่อยานพาหนะ   มีคำว่า   มอเตอร์ไซค์   แท็กซี่  เมล์  บัส  จิ๊ป  แทรกเตอร์  โบกี้
 *   ชื่อเครื่องไฟฟ้า   มีคำว่า  แบตเตอรี่   ฟิวส์   ไมโครโฟน  เรดาร์  ทรานซิสเตอร์  ทีวี  สวิตช์  นีออน  ไดนาโม
 *   ชื่อเครื่องอะไหล่   มีคำว่า  เกียร์  คลัตช์  เบรก  นอต  มอเตอร์  วาล์ว  ดีเซล
 *   ชื่อพืช   มีคำว่า  ปาล์ม  มะฮอกกานี   แวนด้า   ควินิน  ยูคาลิปตัส  โอ๊ก
 *   คำทางธุรกิจ    มีคำว่า  แคชเชียร์   เปอร์เซ็นต์  เซฟ  เช็ค  คูปอง  คอมมิชชั่น บิล  การ์ด  เครดิต
 *  คำเรียกเครื่องแต่งกายและขอใช้   มีคำว่า   แจ็กเกต  เนคไท  เสื้อเชิ้ต  ปะติโค้ด  สูท  วิก  ซิป  ลิกสติก
 *  คำเรียกชื่ออาหารและเครื่องดื่ม   มีคำว่า  เบคอน  แพนเค้ก  พาย  น้ำมะเน็ต  ไอศกรีม  ฮอนดอก  ซุป  ช็อกโกเลต  แฮม   เบียร์   บรั่นดี  วิสกี้  สตู  ค็อกเทล
 *   คำเกี่ยวกับการกีฬา   มีคำว่า  ฟุตบอล   ฮอกกี้  บาสเกตบอล  ปิงปอง  เทนนิส  วอลเลย์บอล   เนตบอล  รักบี้  โปโล    กอล์ฟ  เกม  ทีม  แชมเปียน  โค้ช  โปรโมเตอร์  เทเบิลเทนนิส  สนุกเกอร์  เปตอง  คอร์ต   สกี   สกรัม
 *   คำเกี่ยวกับการดนตรีและการแสดง   มีคำว่า  ไวโอลิน  กีตาร์  เปียโน  คอนเสิร์ต  โอเปร่า  บัลเล่ต์
 *   คำมาตราวัด   มีคำว่า  กิโลเมตร  เซนติเมตร   ตัน  กิโลกรัม  เปอร์เซ็นต์
 *   คำที่ใช้ในศัพท์ทางวิชาการ   มีคำว่า  กราฟ   กลาเชียร์  กาเฟอีน  คอร์ด  ทอนซิล  นิวเคลียร์  นิวเคลียส  นิวตรอน   เอกซเรย์   ไฮโดรเจน  ไฮดรา
 *   คำอื่น ๆ   มีคำว่า  เต็นท์  เซ็น  ออฟฟิศ  การ์ตูน  โกดัง  ชอล์ก  โซฟา  ดีเปรสชัน  เครดิต  คลินิก  โบนัส  คลับ ไนต์คลับ   โซน   คองเกรส
วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ยืม (ภาษาใคร) ทำไมไม่คืนภาษาทมิฬ      เช่น   ตะกั่ว  อาจาด  สาเก  กุลี  
วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ยืม (ภาษาใคร) ทำไมไม่คืนภาษาชวาและมลายู   เช่น  มังคุด  มะละกอ  บุหลัน  บุหรง  บุหงา  ตันหยง  ทุเรียน  น้อยหน่า  กริช  กระยาหงัน  โสร่ง  สลัด
วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ยืม (ภาษาใคร) ทำไมไม่คืนภาษาเปอร์เซีย    เช่น  กุหลาบ  ชุกชี  ตรา  สุหร่าย  ยี่หร่า   
วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ยืม (ภาษาใคร) ทำไมไม่คืนภาษาโปรตุเกส   เช่น   สบู่  ปิ่นโต  เหรียญ   กะละแล
  

ความสอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ ๓ - ๔ 
   
           มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง   มีประสิทธิภาพ                  
              มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และ    ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
              
มาตรฐาน  ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา  ภูมิปัญญาทางภาษา  และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ                              
                      

ประเด็นคำถามสู่การอภิปรายในชั้นเรียน
๑. ความเป็นมาการยืมคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
๒. ข้อสังเกตภาษาเขมร  ภาษาอังกฤษ  และอื่น ๆ
๓.  การใช้คำที่มีจากภาษาต่างประเทศกับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

กิจกรรมพัฒนาทักษะ
๑. การระดมพลังสมองแลกเปลี่ยนความคิดเห็น"ความเป็นมาการยืมคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ"
๒. การระดมพลังสมองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวิเคราะห์ประเด็น"ข้อสังเกตภาษาเขมร      ภาษาอังกฤษ               และอื่น ๆ"
๓. การระดมพลังสมองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวิเคราะห์ประเด็น    "การใช้คำที่มีจากภาษาต่างประเทศกับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน"
๓. สรุปประเด็นเป็นแผนผังความคิด 
๔. นำเสนอกิจกรรมในลักษณะการอภิปรายกลุ่ม  หรือการพูดแสดงความคิดเห็น

แหล่งที่มาข้อมูลอ้างอิง
๑. นายทวีศักดิ์   หลีแก้วสาย  ม.5/1  โรงเรียนเวียงมอกวิทยา  สพท.ลำปาง  เขต ๒

๒. เอกสารประกอบการติวเอ็นทรานซ์ครูลิลลี่

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=891

อัพเดทล่าสุด