วิชาภาษาไทน ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา ถ้อยคำ สำนวน โวหาร ภาพพจน์


2,230 ผู้ชม


ภาพพจน์ คือกลวิธีที่ผู้แต่งใช้เรียบเรียงถ้อยคำให้มีความไพเราะ สละสลวย สัมผัสอารมณ์ของผู้อ่านหรือทำให้ผู้อ่านเกิดความกระทบใจ ความรู้สึกหรือจินตนาการ   

โวหารภาพพจน์                    
วิชาภาษาไทน ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา ถ้อยคำ สำนวน โวหาร ภาพพจน์

    ประเด็นจากข่าว  
                                                                       ตะลึง!แม่ลูก2วัย41สวยปิ๊งหุ่นเป๊ะ
            17 ส.ค. 55 เชื่อเถอะว่าผู้หญิงทุกคนใคร ๆ ก็อยากจะดูอ่อนเยาว์เด็กกว่าวัยไปให้นานเท่านาน และนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมคุณแม่ลูกสองชาวไต้หวันคนนี้ช่างน่าอิจฉาเสียจริง ๆ เพราะด้วยวัย 41 ปี จาง ทิงเสวี่ยน ยังดูสวยสะพรั่งอย่างกับสาวอายุ 20 ต้น ๆ เท่านั้นเอง
          ส่วนเคล็ดลับความสวยใสหุ่นดีราวกับสาวอายุ 20 ต้น ๆ ของคุณแม่จาง ชาวไต้หวันคนนี้ คือการเน้นรับประทานผลไม้ที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายทุกวัน ทั้งนี้ เธอถึงกับถูกขนานนามว่าเป็น เทพีฟิตเนส เลยทีเดียว 
                                         ที่มาของภาพ https://www.komchadluek.net/detail/20120817/137840

เกริ่นนำ

      การใช้คำเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพของสิ่งที่กล่าวถึงช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นซึ่งเรียกว่า "ภาพพจน์"


เนื้อหาสำหรับ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๓

ภาพพจน์

                 ภาพพจน์ คือกลวิธีที่ผู้แต่งใช้เรียบเรียงถ้อยคำให้มีความไพเราะ สละสลวย สัมผัสอารมณ์ของผู้อ่านหรือทำให้ผู้อ่านเกิดความกระทบใจ ความรู้สึกหรือจินตนาการ

วิชาภาษาไทน ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา ถ้อยคำ สำนวน โวหาร ภาพพจน์

https://www.oknation.net/blog/fantastic/2008/01/27/entry-1

        ๑. การเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่ง  โดยใช้คำเปรียบเทียบให้เห็น เช่น  เสมือน  เหมือน  เฉก  เช่น  เพียง  เพี้ยง  ราว  กล  ดั่ง  ดั่ง  ดุจ  ประดุจ  ต่าง  ภาพพจน์นี้เรียกว่า อุปมา
เช่น
                         “ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ   ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า”  (รามเกียรติ์)
                        “พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต              ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
                     ว่าจากเรือนเหมือนนกมาจากรัง                      อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย”(พระอภัยมณี)

วิชาภาษาไทน ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา ถ้อยคำ สำนวน โวหาร ภาพพจน์

https://www.oknation.net/blog/arekoy/2009/02/13/entry-1

         ๒. การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง เป็นการเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งมากจนเกือบเป็นสิ่งเดียวกัน มักมีคำว่า  เป็น  คือ  เท่า  ปรากฎอยู่  ภาพพจน์นี้เรียกว่า  อุปลักษณ์
เช่น
                         “ความรักเป็นยาพิษชนิดหนึ่ง                      เป็นน้ำผึ้งจากแดนอันแสนหวาน
                    เป็นความสุขเป็นทุกข์ท้อทรมาน                     เป็นทางผ่านของใจใครบางคน” (มุทิตา)
                        “ลูกคือดวงใจของพ่อแม่                              แม่เป็นมิตรแท้ของลูกนั่น”


         ๓. การสมมุติสิ่งต่าง ๆ (ที่ไม่ใช่มนุษย์) มีกิริยาอาการเหมือนมนุษย์   ภาพพจน์นี้เรียกว่า บุคคลวัตหรือบุคคลสมมุติ
เช่น
                      “เพชรน้ำค้างค้างหล่นบนพรมหญ้า               เย็นหยาดฟ้ามาฝันหลังวันใหม่
                   เคล้าเคลียหยอกดอกหญ้าอย่างอาลัย            เมื่อแฉกดาวใบไผ่ไหวตะวัน” (วารีดุริยางค์)

วิชาภาษาไทน ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา ถ้อยคำ สำนวน โวหาร ภาพพจน์

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skit&mont


       ๔. การกล่าวเกินจริง เพื่อให้ข้อความนั้นมีน้ำหนักมากขึ้น ภาพพจน์นี้เรียกว่า อติพจน์
เช่น
                     “ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร                         ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
                 แม้เกิดในใต้หล้าสุธาธาร                                   ขอพบพานพิศวาสมิคลาดคลา”  (พระอภัยมณี)
        ๕. การใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง  ที่มีคุณสมบัติบางประการร่วมกัน เช่นดอกไม้แทนผู้หญิง เพราะมี
ลักษณะร่วมกันคือความสวยงาม ภาพพจน์นี้เรียกว่าสัญลักษณ์
เช่น
                   “เจ้าดอกเอ๋ยดอกขจรอาวรณ์ถวิล                นกขมิ้นเหลืองอ่อนจะนอนไหน
                เขาวางขลุ่ยข่มน้ำตาว้าเหว่ใจ                           ตอบไม่ได้ดอกหนาข้าคนจร”(เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)

วิชาภาษาไทน ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา ถ้อยคำ สำนวน โวหาร ภาพพจน์

https://www.oknation.net/blog/arekoy/2009/02/13/entry-1


        ๖. การใช้คำให้กระทบความรู้สึกโดยการเลียนเสียงธรรมชาติ    ภาพพจน์นี้เรียกว่าสัทพจน์
  เช่น
                    “ตุบตับฉับฉาดฉะ                                          ทำเงอะงะมิใคร่สู้ 
                  ยอมเขาก็ย่อมรู้                                                 ความพ่ายแพ้จักมาเยือน”
        ๗.  กลวิธีการแต่งที่กวีสรรหามาเพื่อให้บทประพันธ์มีความเด่นเป็นพิเศษ     ภาพพจน์นี้เรียกว่า การเล่นคำ
  เช่น
                  “หนึ่งในหล้าหนึ่งเดียวหนึ่งองค์นี้                   หนึ่งผู้มีบุญญามหาศาล
                 หนึ่งในใจประชามาเนิ่นนาน                              หนึ่งนั้นองค์ภูบาลภูมิพล”

วิชาภาษาไทน ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา ถ้อยคำ สำนวน โวหาร ภาพพจน์

https://www.lesla.com/board/gen.php?id=19334&mode_id=4


ประเด็นคำถาม
นักเรียนเข้าไปตอบคำถามจากประเด็นคำถาม     คลิกที่นี่   
คำตอบข้อที่ ๑..........
คำตอบข้อที่ ๒..........
คำตอบข้อที่ ๓..........
คำตอบข้อที่ ๔..........
คำตอบข้อที่ ๕..........

กิจกรรมเสนอแนะ
๑.   อ่านหนังสือเพิ่มเติมหาข้อความที่ปรากฎโวหารประเภทต่าง ๆ

บูรณาการ
ศิลปะ:  การแสดงหรือทัศนศิลป์  


ที่มา


https://www.tnnthailand.com/news/details.php?id=25822
https://news.sanook.com/1053529
https://www.tnnthailand.com/news/details.php?id=25822
https://www.praphansarn.com/new/forum/forum_posts.asp?TID=13225&get=last
https://www.kroobannok.com/blog/7424
https://www.oknation.net/blog/arekoy/2009/02/13/entry-1
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skit&month=04-11-2009&
https://www.komchadluek.net/detail/20120817/137840
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4786

อัพเดทล่าสุด