วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน


769 ผู้ชม


สำเนียงนั้นสำคัญไฉน   

ความรู้เกี่ยวกับระดับเสียง

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน                วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน                 วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน                   วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน
       บทนำ    สำเนียงนั้นสำคัญไฉน 
                ภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์ แต่เสียงสูงเสียงต่ำในภาษาอังกฤษมาจากการเน้นบางพยางค์
ในแต่ละคำและแต่ละประโยค....
                 แหล่งที่มาของข้อความ :  https://www.dailynews.co.th/article/42/977
                                                              วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2554 เวลา 20:02 น
     จากประเด็นข่าว     เมื่อเราทราบว่าภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์ แต่เสียงสูงเสียงต่ำในภาษาอังกฤษ
มาจากการเน้นบางพยางค์  ในแต่ละคำและแต่ละประโยค  ดังนั้นระดับเสียงในภาษาไทยมีที่มาอย่างไร
ศึกษารายละเอียดไปพร้อมกันเลยนะคะ
     สาระการเรียนรู้ภาษาไทย    หลักษาภาไทย   ระดับช่วงชั้นที่   2-3
วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน                      วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน                   วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน                       วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน
      เนื้อหา
          ภาษาไทย เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่น
ในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได 
สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์
บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษา
ออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต     ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือ
วรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก 
การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว 
ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน                      วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน                         วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน                        วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน
          คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะ
เป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูป
เหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำ
ที่เรียกว่า 'การลากคำเข้าวัด' ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่
นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์
และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว ย เข้าไปข้างท้าย 
เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทย
จึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน                     วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน                    วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน                       วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน
           
           เสียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างกัน ซึ่งการที่เสียง
ในภาษาจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียง สำหรับอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง 
ได้แก่ ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ฟัน ลิ้น เพดานปาก ลิ้นไก่ กล่องเสียง หลอดลม และปอด 
          เสียงในภาษาไทย มี ๓ ชนิด คือ 
๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้ 
๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร และ 
๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี 
          ๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะ
ส่วนใดในปาก แล้วเกิดเสียงก้องกังวาน และออกเสียงได้ยาวนาน ซึ่งเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 
          - สระเดี่ยว มีจำนวน ๑๘ เสียง โดยสระเดี่ยว แบ่งออกเป็น 
             สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ 
             สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ 
         - สระประสม มีจำนวน ๖ เสียง โดยสระประสม แบ่งออกเป็น       
            สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่ 
           เอียะ เกิดจากการประสมของ สระอิ + สระอะ 
           เอือะ เกิดจากการประสมของ สระอึ + สระอะ  
           อัวะ เกิดจากการประสมของ สระอุ + สระอะ 
          สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่ 
          เอีย เกิดจากการประสมของ สระอี + สระอา 
         เอือ เกิดจากการประสมของ สระอื + สระอา 
         อัว เกิดจากการประสมของ สระอู + สระอา
        เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และจะได้จำง่าย พี่เลยจับเอาสระเดี่ยวและสระประสมทั้งหมด 
มาเขียนในรูปของตารางได้ดังต่อไปนี้  วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน

สระเดี่ยว (๑๘ เสียง)

อะ

อิ

อึ

อุ

เอะ

แอะ

โอะ

เอาะ

เออะ

อา

อี

อื

อู

เอ

แอ

โอ

ออ

เออ

สระประสม (๖ เสียง)

เอียะ (อิ+อะ)

เอือะ (อึ+อะ)

อัวะ (อุ+อะ)

เอีย (อี+อา)

เอือ (อื+อา)

อัว (อู+อา)

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน                         วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน                    วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน                           วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน
       จากการที่สระเดี่ยวมี ๑๘ เสียง เมื่อรวมกับสระประสมอีก ๖ เสียง ก็จะพบว่ามีแค่เพียง ๒๖ เสียง
 ทั้งที่ตอนเรียนมาคุณครูสอนว่าเสียงสระ มีทั้งหมด ๓๒ เสียง   ยังมีรูปสระอีก ๘ รูป ที่ไม่รวมอยู่
ในเสียงข้างต้น ซึ่งสาเหตุที่มันไม่ถูกรวมอยู่ด้วยก็เพราะ สระเหล่านี้มีเสียงซ้ำกับเสียงแท้นั่นเอง 
แถมยังมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ด้วย สำหรับสระ ๘ รูปจำพวกนี้เรียกว่า “สระเกิน”
 ได้แก่ “อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ”
          สระเกินทั้ง ๘ รูปนี้ พี่นำมาแจกแจงให้ดูว่าเกิดจากเสียงสระอะไร ประสมกับเสียง
พยัญชนะอะไรบ้าง ลองมาดูกันค่ะ 
อำ = อะ + ม (เกิดจากเสียงสระอะ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ม.ม้า) 
ไอ = อะ + ย (เกิดจากเสียงสระไอ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ย.ยักษ์) 
ใอ = อะ + ย (เกิดจากเสียงสระใอ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ย.ยักษ์) 
เอา = อะ + ว (เกิดจากเสียงสระเอา ผสมกับเสียงพยัญชนะ ว.แหวน) 
ฤ = ร + อึ (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร.เรือ ผสมกับเสียงสระอึ) 
ฤๅ = ร + อื (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร.เรือ ผสมกับเสียงสระอี) 
ฦ = ล + อึ (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล.ลิง ผสมกับเสียงสระอึ) 
ฦๅ = ล + อื (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล.ลิง ผสมกับเสียงสระอี) 
          ๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบ
กับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น คอ ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก ซึ่งทำให้เกิดเป็น
เสียงต่าง ๆ กัน โดยพยัญชนะไทยมี ๒๑ เสียง ๔๔ รูป ดังต่อไปนี้                             
วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การอ่าน การใช้ภาษา สำเนียงนั้นสำคัญไฉน

พยัญชนะ ๒๑ เสียง

พยัญชนะ ๔๔ รูป

๑.

๒.

๓.

๔.

๕.

๖.

๗.

๘.

๙.

๑๐.

๑๑.

๑๒.

๑๓.

๑๔.

๑๕.

๑๖.

๑๗.

๑๘.

๑๙.

๒๐.

๒๑.

ข ฃ ค ฅ ฆ

ช ฌ ฉ

ซ ศ ษ ส

ด ฎ

ต ฏ

ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ

น ณ

พ ภ ผ

ฟ ฝ

ย ญ

ล ฬ

ฮ ห


https://www.kroobannok.com/1684
๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี ก็คือ เสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะ ซึ่งเวลาเปล่งเสียงแล้วเสียง
จะมีระดับสูง ต่ำ เหมือนกับเสียงดนตรี สำหรับเสียงวรรณยุกต์ที่ใช้ในภาษาไทยมี ๕ เสียง ดังต่อไปนี้

เสียงวรรณยุกต์

รูปวรรณยุกต์

ตัวอย่าง

๑. เสียงสามัญ

๒. เสียงเอก

๓. เสียงโท

๔. เสียงตรี

๕. เสียงจัตวา

(ไม่มีรูป)

กิน ตา งง

ข่าว ปาก ศัพท์

ชอบ นั่ง ใกล้

งิ้ว รัก เกี๊ยะ

ฉัน หนังสือ เก๋


https://www.kroobannok.com/1684


         https://www.kroobannok.com/1684

ระดับเสียงในการร้องเพลง
ธรรมชาติของเสียงมนุษย์ 
           ได้มีการแบ่งตำแหน่งของ เสียง ออกเป็นหลายๆ ตำแหน่งด้วยกัน เพราะความ
เป็นจริงธรรมชาติของเสียง   มีทิศทางและตำแหน่ง ที่ตั้งของเสียง หมายความว่าใน
ตำแหน่งเสียงต่ำๆ เรื่อยไปถึงเสียงกลางๆ   ขึ้นไปจนถึงเสียงสูง การทำงานของกล้ามเนื้อ
สายเสียง และปริมาณของลมย่อมแตกต่างกันไป จึงมีความจำเป็นที่เราต้องเข้าใจว่า 
การร้องเพลงของเรานั้นถูกต้องหรือไม่ และมีความสมดุลระหว่าง   ลม กับกล้ามเนื้อสายเสียง
 ในแต่ละตัวโน๊ตหรือไม่ 
           โดยทั่วไปในขณะที่เราพูดด้วยเสียงปกติ ; กล้ามเนื้อภายนอกที่อยู่รอบๆ กล่องเสียง 
จะไม่เข้ามารบกวนการทำงานของสายเสียง นั่นเป็นเพราะ "เสียงพูด” หรือภาษาอังกฤษเรียก 
“Speech” ไม่ได้ต้องการน้ำหนัก ; ความดัง หรือโทนเสียงที่แตกต่างกันมากมาย แต่ต้องการ
เพียงการสื่อสารและความเข้าใจเท่านั้น ดังนั้น “กล่องเสียง” จึงอยู่ในตำแหน่งที่นิ่งๆ 
หรือกลางๆ เราเรียกตำแหน่งนี้ว่า Speech — Level (ระดับเสียงพูด) และนี่จึงเป็น
แบบอย่างที่ดีของการเปล่งเสียง และเป็นวิธีการฝึกเพื่อ “การร้องเพลง” เพื่อให้กล่องเสียง
คงความนิ่ง อยู่ในระดับเสียงพูด แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ร้องเพลงเหมือนเสียงพูด
        ด้วยเหตุผลที่ว่าเสียงของเราเปรียบเสมือนเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า (Wind Instrument) 
เพราะฉะนั้นพื้นฐาน การใช้เสียงต้องรู้สึกได้ว่าตัวแปรหนึ่งที่ทำให้เกิดเสียงคือลม (Singing is blowing air)
 แบบฝึกหัดโดยส่วนใหญ่ จะเริ่มต้นจากหัดกระดกลิ้นด้วยพยัญชนะ "ร.ร…." แล้วลากให้ยาวๆ
 (Tongue Trills) หรือหัดเป่าปากโดยให้ ริมฝีปากบนและล่างสั่น (Lip Rolls) ซึ่งต้องอาศัยลม 
โดยการฝึกผ่านตัวโน้ตหลายๆแบบ (อาจจะนึกถึงตอนเป็นเด็กๆ เล่นเป่าปากเป็นเสียง เครื่องยนต์ หรือเครื่องบิน) 
     ประเด็นคำถาม
           แบ่งกลุ่มนักเรียนสร้างองค์ความรู้อธิบายถึงระดับเสียงในภาษาอังกฤษ  ภาษาไทย และระดับเสียง
               ของการร้องเพลง
      กิจกรรมเสนอแนะ
           นำความรู้มาฝึกแต่งเพลงง่าย ๆ เพื่อความเข้าใจในระดับเสียงคำในภาษาไทยมาใช้กับระดับเสียงของเพลง
     การบูรณาการ
         บูรณาการกับสาระ สังคมศึกษา  ศิลปะดนตรี 


      แหล่งอ้างอิง
          :   https://www.dailynews.co.th/article/42/977
          :    https://th.wikipedia.org/wiki/
          :   https://www.kroobannok.com/1684
          :   https://www.krurodj.com/speech/index_v4.php

 ภาพจาก :   https://billboss.jalbum.net/cartoon/
                :  https://flash-mini.com/display/
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4501

อัพเดทล่าสุด