วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การเขียน การสื่อสาร การใช้ภาษา นานาโวหาร สื่อสารทางการเขียน MUSLIMTHAIPOST

 

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การเขียน การสื่อสาร การใช้ภาษา นานาโวหาร สื่อสารทางการเขียน


722 ผู้ชม


โวหาร หมายถึง การใช้ถ้อยคำอย่างมีชั้นเชิง เป็นการแสดงข้อความออกมาในทำนองต่างๆ   

นานาโวหาร   สื่อสารทางการเขียน

1.  บทนำ      กระต่ายบนดวงจันทร์
               พระจันทร์เต็มดวงในคืนเดือนหงาย ทุกชาติทุกภาษาเห็นเช่นเดียวกันว่า
คล้ายกับมีกระต่ายอยู่ในดวงจันทร์ ทำให้เกิดตำนานที่เกี่ยวกับกระต่ายในดวงจันทร์
มากมาย ตำนานเก่าแก่ของจีนเล่าขานเกี่ยวกับกระต่ายหยกบนวังจันทราว่า เทพธิดา
ฉางเอ๋อซึ่งอยู่บนดวงจันทร์ได้มองลงมาเห็นโลกมนุษย์เกิดภัยโรคระบาด นางรู้สึก
ทุกข์ใจยิ่ง จึงส่งกระต่ายหยกข้างกายที่ปรกติตำยาอยู่บนดวงจันทร์ลงมารักษาโรค
ให้แก่ชาวบ้าน หลังจากนั้นกระต่ายหยกก็กลับขึ้นไปยังวังจันทรา นับแต่นั้นมา
ชาวบ้านจึงได้กราบไหว้บูชาเทพเจ้ากระต่ายในเทศกาลไหว้พระจันทร์สืบมา
    ปัจจุบันนักดาราศาสตร์พบว่า รูปกระต่ายบนดวงจันทร์นั้น เป็นพื้นผิวของดวงจันทร์
ที่เรียกว่า ทะเล(sea) หรือ มาเร (mare) มีลักษณะเป็นแอ่งกว้างใหญ่บนดวงจันทร์ 
เห็นเป็นสีเทาคล้ำ ส่วนใหญ่เคยเป็นหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ ต่อมาถูกลาวาไหลท่วม
 การทรุดตัวของขอบหลุมบริเเวณที่ไม่แข็งแรง ทำให้ขอบทะเลกลายเป็นรูปร่างต่าง ๆ 
ดวงจันทร์มีทะเลกว่า ๓๐ แห่ง มักอยู่ในด้านใกล้ ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง ๓,๙๐๐ ล้าน
ปีถึง ๓,๑๐๐ ล้านปี ทะเลที่มีอายุน้อยมักมีขอบค่อนข้างกลม ผิวเรียบ และมีหลุมอุกกาบาตน้อยมาก
ส่วนที่เราเห็นเป็นพื้นที่สีจางกว่า เรียก ที่สูงดวงจันทร์ (lunar highland) ซึ่งคณะกรรมการ
จัดทำพจนานุกรมศัพท์ดาราศาสตร์ให้นิยามว่า บริเวณที่สูงบนดวงจันทร์ มีสีจางกว่า
บริเวณที่เรียกว่าทะเลซึ่งมีสีเทาคล้ำ มีหลุมอุกกาบาตปรากฏอยู่ค่อนข้างหนาแน่น 
บ่งบอกถึงการมีอายุมากกว่าบริเวณที่มีพื้นที่สีเทาคล้ำ ซึ่งเป็นผลมาจากการท่วมของลาวาที่เกิดตามมาทีหลัง
เนื่องจากพื้นผิวของดวงจันทร์มีบริเวณที่เป็นพื้นที่สูงและต่ำขนาดใหญ่ เราจึงเห็นดวงจันทร์ด้านใกล้
โลกมีเงาสีเทาคล้ายรูปกระต่าย แม้ภายหลังนักดาราศาสตร์ค้นพบคำตอบนี้ แต่ตำนานกระต่าย
บนดวงจันทร์ของต่างชาติต่างภาษาก็ยังเป็นเรื่องน่าสนใจและน่าหาหนังสือไว้อ่านกัน.
                                                                                                   รัตติกาล  ศรีอำไพ
  แหล่งที่มา :  https://www.dailynews.co.th/article/44/11687  วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 00:00 น.
2.        จากประเด็นข่าว  จากข้อความที่อ่านเป็นการเขียนเรียงความแบบบรรยายโวหาร   ซึ่งการเขียนเชิง
โวหารมีในภาษาไทย มี 5 ชนิด ลองศึกษาดูค่ะ

3.  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย   การเขียนเชิงโวหาร   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ช่วงชั้น  2-3
  มาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑ การอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหา
และสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน
มาตรฐาน ท ๑.๑.๑ สามารถอ่านได้คล่องและอ่านได้เร็วขึ้นเข้าใจความหมายของคำ สำนวนโวหาร 
การบรรยาย การพรรณนา การเปรียบเทียบ การใช้บริบท เข้าใจความหมายของถ้อยคำ สำนวนและเนื้อเรื่อง
 และใช้แหล่งความรู้พัฒนาความสามารถการอ่าน

สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสารเขียนเรียงความ ย่อความ และเขียน
เรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
 มาตรฐาน ท ๒.๑.๒ มีมารยาทการเขียนและนิสัยรักการเขียนและการศึกษาค้นคว้า โดยใช้ทักษะการเขียน
และการศึกษาค้นคว้า โดยใช้ทักษะการเขียนจดบันทึกข้อมูลความรู้ประสบการณ์ เหตุการณ์และ
การสังเกตอย่างเป็นระบบ นำวิธีการของแผนภาพความคิดมาพัฒนางานเขียน
และการรายงานและเขียนสื่อสารได้ตามจุดประสงค์อย่างมีมารยาททางสังคม

   ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
     ๑.  สามารถหาเข้าใจความหมายของคำ ถ้อยคำ สำนวนโวหาร
     ๒.  สามารถเข้าใจความหมายของการบรรยาย การพรรณนาและเปรียบเทียบ
     ๓.  มีมารยาทในการเขียน

   จุดประสงค์การเรียนรู้
     ๑.  นักเรียนบอกความหมายของโวหารได้
     ๒.  นักเรียนเขียนเรียงความเชิงโวหารได้
     ๓.  นักเรียนมีมารยาทที่ดีและมีนิสัยรักการเขียน

    เนื้อหาสาระ
- ความหมายและการเขียนโวหาร

4.  เนื้อหา
    โวหาร หมายถึง การใช้ถ้อยคาอย่างมีชั้นเชิง เป็นการแสดงข้อความออกมาในทำนองต่างๆ 
เพื่อให้ข้อความได้เนื้อความดี มีความหมายแจ่มแจ้ง เหมาะสมน่าฟัง ในการเขียนเรื่องราวอาจ
ใช้โวหารต่างๆ กัน แล้วแต่ชนิดของข้อความ ( สมถวิล วิเศษสมบัติ. ๒๕๔๔ : ๑๒๙)
โวหารในภาษาไทยที่นิยมใช้ในการเขียนร้อยแก้ว ร้อยกรอง แบ่งออกเป็น
๕ ชนิด คือ     ๑. บรรยายโวหาร หรืออธิบายโวหาร       ๒. พรรณนาโวหาร    ๓. เทศนาโวหาร 
๔. สาธกโวหาร     ๕. อุปมาโวหาร  
     
                                                       คลิกที่นี่เพื่อศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการเขียนเชิงโวหาร
           พรรณนาโวหาร มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง 
ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณนาโวหาร
จึงยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนาโวหารต้องมุ่งให้ภาพ
และอารมณ์ ดังนั้น จึงมักใช้การเล่นคา เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์ แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มด้วย
สานวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ หลักการเขียนพรรณนาโวหาร ๑. ต้องใช้คาดี หมายถึง
 การเลือกสรรถ้อยคา เพื่อให้สื่อความหมาย สื่อภาพ สื่ออารมณ์เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่ต้องการบรรยาย 
ควรเลือกคา ที่ให้ความหมายชัดเจน ทั้งอาจต้องเลือกให้เสียงคาสัมผัสกันเพื่อเกิดเสียงเสนาะ
อย่างสัมผัสสระ สัมผัสอักษร ในงานร้อยกรอง ๒. ต้องมีใจความดี แม้จะพรรณนายืดยาว แต่
ใจความต้องมุ่งให้เกิดภาพ และอารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหาที่กาลังพรรณนา 
๓. อาจต้องใช้อุปมาโวหาร คือ การเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ภาพชัดเจน และมักใช้ศิลปะการใ
ช้คาที่เรียกว่า ภาพพจน์ประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นวิธีการที่จะทาให้พรรณนาโวหารเด่น ทั้งการใช้คา 
และการใช้ภาพที่แจ่มแจ้ง อ่านแล้วเกิดจินตนาการและความรู้สึกคล้อยตาม ๔. ในบางกรณีอาจต้อง
ใช้สาธกโวหารประกอบด้วย คือ การยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้ง โดยยกตัวอย่างสิ่งที่ละม้าย
คล้ายคลึงกัน เพื่อให้เกิดภาพและอารมณ์เด่นชัดพรรณนาโวหารมักใช้กับการชมความงามอื่น ๆ 
เช่น ชมสถานที่ สรรเสริญบุคคล หรือใช้พรรณนาอารมณ์ ความรู้สึก เช่น รัก เกลียด โกธร แค้น เศร้าสลด เป็นต้น
ตัวอย่างพรรณนาโวหารแบบร้อยแก้ว
…ขณะพระองค์เสด็จมาใกล้เบญจคีรีนครคือราชคฤห์ เป็นเวลาจวนสิ้นทิวาวาร แดดในยามเย็นกำลัง
ลงสู่สมัยใกล้วิกาล ทอแสงแผ่ซ่านไปยังสาลีเกษตร แลละลิ่วเห็นเป็นทางสว่างไปทั่วประเทศสุดสายตา 
ดูประหนึ่งมีหัตถ์ทิพย์มาปกแผ่อำนวยสวัสดี เบื้องบนมีกลุ่มเมฆเป็นคลื่นซับซ้อนสลับกันเป็นทิวแถว
 ต้องแสงแดดจับเป็นสีระยับวะวับแววประหนึ่งเอาทรายทองมาโปรยปราย เลื่อนลอยละลิ่วๆ เรี่ยๆ รายลงจดขอบฟ้า
(กามนิต : เสฐียรโกเศศและนาคะประทีป)
แหล่งที่มา :  https://www.pcccr.ac.th/2special/m2/03_thai/nuntawan/Thai.pdf

ตัวอย่างการเขียนเชิงโวหาร

      ขณะที่กระแสน้ำเริ่มท่วม สายธารความคิดก็หลั่งไหลพุ่งเข้าใส่สมอง เธอบอกว่า...
 ’ตอนนั้นคิดไปต่าง ๆ นานา คิดถึงงาน โรงงาน เพื่อน ๆ พ่อแม่ครอบครัว คิดถึงอนาคตข้างหน้า
ว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร? จนสุดท้ายก็คิดได้ว่า...มานั่งคิดมากก็ไม่เกิดประโยชน์ สู้แก้ไข
สถานการณ์เฉพาะหน้า กับเหตุการณ์ตรงหน้านี้จะดีกว่า“ 
แหล่งที่มา :  https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=23&contentID=170474
                       19 ต.ค. 54

’เหมือนเราโดนโอบไปด้วยน้ำ ทั้งน้ำที่ทะลักมาจากฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก 
เหมือนปีกนกที่หุ้มเราไว้อยู่ตรงกลาง ถามว่าน้ำมันมาเร็วไหม ก็ไม่ถึงกับโหมกระหน่ำ 
แต่ระดับน้ำก็ขึ้นเร็วจนเราตกใจ สุดท้ายก็ต้องยอมแพ้ เหลือเพียงแผนรักษาชีวิตเพียงอย่างเดียว
“ ...แหล่งข่าวคนเดิมเล่าฉากชีวิตในช่วงที่ทั่วทั้งเขตอุตสาหกรรมที่เคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของหลายร้อย
หลายพันชีวิต เริ่มกลายสภาพไม่ต่างกับ “อ่างรับน้ำขนาดใหญ่”    
พร้อมทั้งเล่าต่อไปว่า... หลังน้ำท่วมทั่วพื้นที่ น้ำประปาและไฟฟ้าก็เริ่มถูกตัด คนงานกลุ่มที่ต้องอยู่
ในพื้นที่เพื่อประเมินสถานการณ์ก็ต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกด้วยโทรศัพท์มือถือ
และวิทยุสื่อสาร ซึ่งก่อนหน้านั้นทางบริษัทก็ได้จัดเรือยนต์คอยเข้ามาประสานให้ความช่วยเหลือ
เป็นระยะ ๆ โดยจะคอยเข้ามาส่งเสบียง ส่งอาหาร น้ำดื่ม ซึ่งก็จะใช้วิธีนำผ้ามาทำเป็นธงสัญลักษณ์
เพื่อบอกพิกัดให้เรือทราบตำแหน่งที่อยู่ โดยตนและทีมงานอีกหลายคน โดยเฉพาะฝ่ายวิศวกร 
จำเป็นต้องอยู่ตรวจสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์สำคัญ เพื่อประเมินสถานการณ์ว่าเป็นเช่นไรบ้าง 
“เราเป็นผู้หญิงคนเดียวที่อยู่ในชุดสุดท้าย เรื่องกินอยู่ก็ไม่ได้ลำบากจนทนไม่ได้ น้ำล้างน้ำ
ชำระเวลาเข้าห้องน้ำก็ใช้วิธีตักน้ำที่ท่วมนั่นล่ะ น้ำอาบน้ำกินก็อาศัยจากน้ำขวดหรือน้ำจากถังน้ำคูลเลอร์ 
ที่มีอยู่ ที่ต้องกลัวก็คือพวกงู พวกสัตว์มีพิษ เพราะพื้นที่แถบนี้เป็นทุ่งนา ก็ต้องระวังเป็นพิเศษ 
ถามว่ากลัวไหม ก็มีหวั่น ๆ เพราะเกิดมาเราก็ไม่เคยเจอเหตุการณ์น้ำท่วมที่มันรุนแรงเหมือน
ครั้งนี้มาก่อน ยอมรับว่าครั้งนี้หนักมาก ถามว่ากลัวไหม ก็มีหวั่น ๆ แต่เราเป็นหัวหน้างาน 
ก็ต้องเก็บความรู้สึกไว้ ถ้าเราเสียขวัญ คนอื่นก็จะยิ่งเสียกำลังใจ ก็ต้องคิดทางบวกเข้าไว้เยอะ ๆ
 เอาวันนี้ให้ดีที่สุดก่อน วันพรุ่งนี้ค่อยมาคิดหาทางกันใหม่” 
แหล่งที่มา :    https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=
                         19 ต.ค54

    
           หากเปรียบมวลน้ำจำนวนมหาศาลเป็นข้าศึกที่บุกโจมตีประเทศไทย 
จะเห็นภาพข่าวอย่างชัดเจนว่า แม้ว่าทุกคนจะพยายามรับมืออย่างดี 
ทั้งทำแนวกั้นสูงแน่นหนาอย่างไรก็ตามก็มิอาจรับมือมวลน้ำขนาดใหญ่ 
หนำซ้ำยังมีพายุฝนกระหน่ำซ้ำสอง ทำให้เพิ่มพลังของน้ำที่มีปริมาณมหาศาล
เพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก
ที่มา :  https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page

ภาพอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ทั้งชายหญิง เหงื่อโชก คราบไคลกรังใบหน้า 
สะท้อนถึงความเอาจริงเอาจัง เด็กสาวเด็กหนุ่มกุลีกุจอช่วยยกหยิบข้าวของ
ของผู้ประสบภัยที่เดินทางมาถึง เป็นภาพน่าประทับใจ ในยุคที่ผู้ใหญ่บางคน
ชอบเอ็ดตะโรวัยรุ่นไทยว่าไร้สัมมาคารวะและน้ำใจ ภาพที่ได้เห็นสะท้อนชัดเจนว่าไม่ใช่ทั้งหมด   
เสียงเด็กเจี๊ยวจ๊าวสลับเสียงวัยรุ่นหัวร่อต่อกระซิก ทำให้อดที่จะต้องหยุดมองไม่ได้ อาสาสมัครคนหนึ่ง
กำลังนั่งเล่นตุ๊กตาการ์ตูนอยู่กับเด็กผู้ชายคนหนึ่ง มองไปมุมอื่น ๆ ก็เห็นภาพคล้าย ๆ กันนี้ ทั่วศูนย์พักพิง 
แหล่งที่มา :   https://www.ridth.com/joomla/asita/index2.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=42


“พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า คนให้ทานเก่งใช่ว่าต้องสรรเสริญ แต่ควรสรรเสริญคนที่ทำทาน
โดยคิดใคร่ครวญดีแล้วเพราะจะเกิดประโยชน์แก่ผู้รับมากกว่า ฉะนั้น การทำบุญ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า 
ในปีนี้ก็ต้องสำรวจความจำเป็นของวัด มิฉะนั้นก็จะเป็นแค่พิธีกรรมเท่านั้น ไม่สามารถช่วยรักษา
พระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป...” ...พระพยอมกล่าว พร้อมทั้งระบุด้วยว่า...
วัดกับชาวบ้านต้องร่วมแรงร่วมใจ แบ่งปัน พึ่งพาช่วยเหลือกันและกันยามเดือดร้อน 
ก็จะเกิดความสามัคคีปรองดอง ได้พึ่งพาอาศัยในการทำสิ่งดีงามกันต่อไป  นี่ก็เป็นวิสัชนา 
’ทำบุญทำกุศลเทศกาลออกพรรษา“ ปีนี้  ในยุคที่หันไปทางไหนก็เจอ ’น้ำท่วม...น้ำท่วม...น้ำท่วม“.
             สถานการณ์ ’น้ำท่วมใหญ่“ ที่เกิดขึ้นในประเทศปีนี้ตอนนี้สาหัสสากรรจ์ยิ่งนัก 
ซึ่งกับผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมนั้น นอกจากต้องประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและด้านอาหารการกินแล้ว
 ’ปัญหาด้านสุขภาพ“ ก็ย่ำแย่ไปทั่ว ซึ่งปัญหาด้านสุขภาพนี้ก็เป็นอีกด้านที่ใครมีกำลังพอจะช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยได้ ก็ควรจะได้ช่วย ๆ กัน    
         ’ถ้าเปรียบสถานการณ์นี้เป็นช่วงภาวะสงความ เราก็เปรียบเป็นแนวหลัง 
ต้องให้การสนับสนุนช่วยเหลืออย่างเต็มที่“...เป็นการระบุของ นพ.ไพศาล
 จันทรพิทักษ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ

แหล่งที่มา :     https://www.dailynews.
                          วันศุกร์ ที่ 14 ตุลาคม 2554 เวลา 0:00 น
   

5.   ประเด็นคำถาม
        
        - นักเรียนบอกความหมายของโวหารได้
        -นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมลักษณะของโวหาร
         -นักเรียนเขียนเรียงความเชิงโวหารและบอกว่าเขียนโวหารประเภทใด

6.  กิจกรรมเสนอแนะ
         นำผลงานแสดงที่ป้ายนิเทศน์เป็นการเผยแพร่ความรู้และเกิดความภาคภูมิใจ
7.    การบูรณาการ
        สังคมศึกษา  ศาสนา  ศิลปะ
8.   แหล่งอ้างอิง  :  https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content
                               :  https://www.pcccr.ac.th/2special/m2/03_thai/nuntawan/Thai.pdf
                               :   https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.
                               :   https://www.ridth.com/joomla/asita/index2
                               :   https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index
                               :   https://billboss.jalbum.net/cartoon/
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4596

อัพเดทล่าสุด