วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา การตีความ ตี(ความ) ต้องตีให้แตก


3,372 ผู้ชม


การอ่านเพื่อให้เข้าใจความหมาย ความรู้สึก และอารมณ์สะเทือนใจจากบทประพันธ์   

ตี ( ความ ) ต้องตีให้แตก

            ตียังไงให้แตก   ตี คือ การตีความที่มนุษย์ส่วนใหญ่ตีความไม่เป็น   ไม่รู้ว่าตีความหมายคืออะไร      เป็นอย่างไร   บางคนตีความไม่ถูกต้อง   ไม่รู้ความหมาย  ไม่เข้าใจจับประเด็นสำคัญไม่ได้    ตีความไม่แตกจึงเกิดปัญหาขึ้นมาทำให้มนุษย์ไม่สนใจใส่ใจการอ่านตีความ         
            การตีความเป็นการจับประเด็นความหมายของข้อความ   โดยเฉพาะบทความหรือการแสดงความคิดเห็นให้เข้าใจได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียนให้เข้าใจเรื่องราวที่ลึกซึ้ง      การอ่านตีความผู้อ่านจะต้องใช้สติปัญญาในการอ่าน   เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้เขียนที่จะสรุปความคิด   จับใจความสำคัญ   และอธิบายขยายความได้อย่างถูกต้องและชัดเจน          
           ทุกคนจะมองว่าการตีความนั้นเป็นสิ่งที่อยากแต่ที่จริงแล้วไม่ยากอย่างที่ตัวเองคิด  เพราะมีสาเหตุมาจากผู้อ่านไม่สนใจอ่าน  ไม่ฝึกจับประเด็นสำคัญ  ไม่ฝึกวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่อ่าน  และไม่มีสติปัญญาในการอ่านตีความจึงทำให้การตีความเป็นสิ่งที่ยากต่อทุกคน       
           ในการตีความนั้นจะต้องอ่านเรื่องให้เข้าใจชัดเจนและจับประเด็นสำคัญให้ได้  พิจารณาหาเหตุผลว่าข้อความนั้นหมายถึงอะไรและทำความเข้าใจกับบทความ   เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้นแล้วเรียบเรียงคำที่ใช้บรรยายให้มีความหมายชัดเจนแล้วจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้  ให้เข้าใจ  จึงจะทำให้ทุกคนตีความได้สำเร็จและถูกต้องอีกด้วย    

( ผู้เขียน : นางสาวจันทรกานต์  ดวงหมื่น  ม.๕/๑  โรงเรียนเวียงมอกวิทยา  สพท.ลำปาง เขต ๒ )

                                                                                                    การอ่านตีความ
วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา การตีความ ตี(ความ) ต้องตีให้แตก  ความหมายของการอ่านตีความ

                    การอ่านตีความ หมายถึง  การอ่านเพื่อให้เข้าใจความหมาย ความรู้สึก และอารมณ์สะเทือนใจจากบทประพันธ์ ซึ่งอาจเข้าใจได้มากน้อยลึกซึ้งเพียงใด ตรงกันกับผู้ประพันธ์หรือไม่หรือผู้อ่านคนอื่น ๆ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์เดิมของผู้อ่าน โดยในกระบวนการอ่านเพื่อตีความนั้นผู้อ่านจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถในการแปลความ จับใจความสำคัญ การสรุปความ รวมทั้งการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของข้อความ
วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา การตีความ ตี(ความ) ต้องตีให้แตก  ปัจจัยสำคัญที่สุดในการอ่านตีความ คือ ความเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้เขียนและความหมายของสิ่งที่ผู้เขียนได้เขียนขึ้น การแสดงเจตนาของผู้เขียนนั้นมีทั้งแสดงไว้โดยชัดเจนและโดยซ่อนเร้น การแสดงเจตนาโดยชัดเจนผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องใช้ความคิดพิจารณามากมายนัก  การแสดงเจตนาโดยซ่อนเร้น คือ ไม่บอกเจตนาตรง ๆ กล่าวถึงเรื่องหนึ่งแต่มีความหมายถึงสิ่งหนึ่งก็ได้
           การเข้าใจความหมายของเจตนาดังกล่าว  ผู้อ่านจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและเข้าถึงความหมายของคำ  ของข้อความนั้น ๆ เสียก่อน  ความหมายของคำมี  ๓  ประเภท คือ
 ๑. ความหมายกักตุน  หมายถึง ความหมายของคำที่มีอยู่ก่อนแล้ว และนำมาตีความในสิ่งที่อ่านต่อไป เช่น สีแดง มีความหมายกักตุนถึงความร้อนแรง ความรุนแรง
 ๒.  ความหมายหลายนัย หมายถึง คำบางคำมีความหมายหลายแง่มุมเช่น น้ำตา เป็นได้ทั้งความดีใจเสียใจ หรือแค้นใจก็ได้
 ๓.  ความหมายนัยประวัติ หมายถึง ความหมายที่จิตใจนึกประหวัดไปถึงบางสิ่งบางอย่างที่สัมพันธ์กับคำที่ปรากฏ เช่น คำว่า กรุงเทพ ฯ ทำให้นึกถึงความเจริญทางวัตถุ ความเสื่อมทางสังคม เป็นต้น
วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา การตีความ ตี(ความ) ต้องตีให้แตกข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการอ่านตีความมีดังนี้

 ๑.  อ่านเรื่องที่จะตีความให้ละเอียด และพยายามจับประเด็นสำคัญของเรื่อง
 ๒.  พยายามทำความเข้าใจถ้อยคำที่เห็นว่ามีความสำคัญ และต้องไม่ลืมดูบริบทว่าบริบทกำหนดความหมายของคำนำไว้อย่างไร
 ๓.   ขณะที่อ่านต้องพยายามคิดหาเหตุผลและใคร่ครวญรอบคอบ นำมาประมวลเข้ากับความคิดของตน ว่าข้อความนั้นมีความหมายถึงสิ่งใด
 ๔. การตีความมิใช่การถอดคำประพันธ์  เพราะการตีความเป็นการจับเอาแต่ใจความสำคัญ   จึงคงไว้ซึ่งข้อความเดิมไม่ได้
 ๕.   การตีความนั้นเป็นการตีความตามความรู้ความคิดของผู้อ่านเอง  ซึ่งอาจไม่ตรงกับความคิดของใครก็ได้  แต่ทั้งนี้ต้องมีเหตุผลประกอบที่ชัดเจน

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา การตีความ ตี(ความ) ต้องตีให้แตกตัวอย่างการตีความคำประพันธ์สั้น ๆ ง่าย ๆ

 ๑.   ทางไปสู่เกียรติศักดิ์  จักประดับดอกไม้
       หอมหวนยวนจิตไซร้   ไป่มี
 หมายความว่า ชื่อเสียงเกียรติยศนั้น มิได้มาโดยง่าย ๆ ดอกไม้ในที่นี้หมายถึง ความสวยงาม ความราบรื่น
 ๒.   อย่าเอื้อมเด็ดดอกฟ้า  มาถนอม
      สูงสุดมือมักตรอม   อกไข้
      เด็ดแต่ดอกพะยอม   ยามยาก  ชมนา
      สูงก็สอยด้วยไม้   อาจเอื้อมเอาถึง
 หมายความว่า คนเราควรรู้จักประมาณตนในการเลือกคู่ครอง ไม่ใฝ่สูงจนเกินตัว
 

  

ความสอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ ๓ - ๔ 
   
           มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง   มีประสิทธิภาพ                  
              มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และ    ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
              
มาตรฐาน  ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา  ภูมิปัญญาทางภาษา  และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ                              
             

ประเด็นคำถามสู่การอภิปรายในชั้นเรียน
๑. ความเป็นมาของ  การอ่านตีความ
๒.  ปัจจัยสำคัญในการอ่านตีความ
๓.  ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการอ่านตีความ
๓.  การอ่านตีความกับการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

กิจกรรมพัฒนาทักษะ
๑. การระดมพลังสมองแลกเปลี่ยนความคิดเห็น "ทักษะการอ่านตีความ"
๒. การระดมพลังสมองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวิเคราะห์ประเด็น  "การอ่านตีความกับการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน"
๓. สรุปประเด็นเป็นแผนผังความคิด 
๔. นำเสนอกิจกรรมในลักษณะการอภิปรายกลุ่ม  หรือการพูดแสดงความคิดเห็น

แหล่งที่มาข้อมูลอ้างอิง
๑. นางสาวจันทรกานต์  ดวงหมื่น  ม.๕/๑  โรงเรียนเวียงมอกวิทยา  สพท.ลำปาง เขต ๒

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=888

อัพเดทล่าสุด