หลักภาษาไทย ในสงสารผู้เฒ่า ตอน เชื่อหรือไม่ สงสาร ผู้เฒ่า ตอน เชื่อหรือไม่ 1. บทนำ เชื่อหรือไม่ ผู้เฒ่ามะกัน หายหูดับเพราะแผ่นดินไหว นายโรเบิร์ต วัลเดอร์แซค วัย 75 ปี สูญเสียการได้ยินไปเพราะหกล้ม เมื่อเดือน มิ.ย.ปีนี้ แต่หลังจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงเป็นประวัติกาล ในกรุงวอชิงตันสงบลง เขาก็กลับมาได้ยินเสียง... แหล่งที่มาของข่าว: ไทยรัฐออนไลน์ ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม 2554, 05:45 น. 2. ประเด็นข่าวนำเข้าสู่เนื้อหา จากการอ่านประเด็นข่าวพบคำที่สะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดอยู่ 7 คำ คือ โรเบิร์ต วัลเดอร์ แซค สูญ เหตุ ประวัติ กาล 3. เนื้อหา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษา การเปลี่ยนแปลง ของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญา ทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ 4. เนื้อเรื่อง ภาษาไทยในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร ในชีวิตประจำวันของคนไทย ตลอดเวลา คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่บรรพบุรุษของเรามีความชาญฉลาด สามารถประดิษฐ์คิดค้นภาษา ของตนเองขึ้นใช้ทั้งภาษาพูด และภาษาที่เป็นตัวอักษรใช้แทนเสียง ภาษาไทยจึงเป็นมรดก อันล้ำค่าที่ บรรพบุรุษได้สร้างไว้และถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน จากการอ่านประเด็นข่าวพบคำที่สะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดอยู่ 7 คำ คือ โรเบิร์ต วัลเดอร์ แซค สูญ เหตุ ประวัติ กาล ตัวสะกด หมายถึง พยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายสระ และมีเสียงประสมเข้ากับสระ ใช้บังคับเสียงท้ายคำ บางมาตราใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา บางมาตราใช้ตัวสะกดไม่ตรง ตามมาตรา มีทั้งหมด 9 มาตรา ได้แก่ แม่ ก กา แม่กง แม่กน แม่กม แม่กก แม่กด แม่กบ แม่เกย และแม่เกอว มาตราตัวสะกดที่มีตัวสะกดในมาตราเดียวกันหลายตัวเพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน เรียกว่า ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา มี 4 มาตรา คือ มาตราแม่ กก คือ คำที่มีตัว ก สะกด หรือคำที่มีหน้าที่เหมือน ได้แก่ ข ค ฆ สะกด เช่น เลข โรค เมฆ มาตราแม่ กด คือ คำที่มีตัว ต สะกด หรือคำที่มีหน้าที่เหมือน ได้แก่ ด จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฑ ฒ ต ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น พิษ ครุฑ ตรวจ มงกุฎ มาตราแม่ กบ คือ คำที่มีตัว ป สะกด หรือคำที่มีหน้าที่เหมือน ได้แก่ ป พ ฟ ภ สะกด เช่น บาป ภาพ ยีราฟ โลภ มาตราแม่ กน คือ คำที่มีตัว น สะกด หรือคำที่มีหน้าที่เหมือน ได้แก่ ญ ณ ร ล ฬ สะกด เช่น บุญ มโหฬาร พาล ทมิฬ อักษร กล้าหาญ ส่วนมาตราตัวสะกดที่ไม่มีตัวสะกดท้ายคำ มีเฉพาะพยัญชนะต้นและสระ เรียกว่า มาตราแม่ ก กา ได้แก่ ปลา ตา ใย ไป เรือใบ ดำนา 5. ประเด็นคำถาม แบ่งกลุ่มนักเรียนและปฏิบัติกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมที่1 ให้นักเรียนอ่านข่าวหรือบทความ และหาคำที่สะกดไม่ตรงมาตราจากข่าว พร้อมเขียนอธิบาย ถึงมาตราตัวสะกดของคำ พร้อมบอกความหมาย กิจกรรมที่ 2 ให้นักเรียนหาคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกดเพิ่มเติมนอกเหนือจากคำที่มีในข่าว กิจกรรมที่ 3 เลือกคำที่หาได้มาแต่งเป็นเรื่องราวสั้นๆ หรือแต่งประโยคก็ได้ กิจกรรมที่ 4 ทุกกลุ่มนำผลงานแสดงที่ป้ายนิเทศน์เพื่อแบ่งปันความรู้ ( การจัดกิจกรรมอยู่ในดุลพินิจของครูผู้สอนแล้วแต่จะเห็นสมควรค่ะ) 6. กิจกรรมเสนอแนะ นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปเป็นการสร้างองค์ความรู้ความหมายของคำที่ไม่ตรงตามมาตรา 7. การบูรณาการ บูรณาการกับสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา เรื่องการอธิบายแสดงความคิดเห็น และฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม การแบ่งปันความรู้ การฝึกระดมความคิด และสร้างองค์ความรู้ ฝึกการยอมรับการเปรียบเทียบทางเหตุ ผลและการอ้างอิง
8. แหล่งอ้างอิง : https://www.thairath.co.th/content/oversea/196942 : https://www.jaturun.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=357887 ภาพไอคอนจาก : https://atcloud.com/tags/26162 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4312 |