วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน โอกาสในการอ่าน ที่พลาดไม่ได้


722 ผู้ชม


โอกาสในการอ่าน ที่พลาดไม่ได้   

บทนำ          ชิงส.ส.เขตคึกคัก เทือกโต้ ไม่สนฟ้องยุบปชป.
                   แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/today  ฉบับวันที่ 25 พฤษภาคม 2554

ประเด็นข่าว   จากหัวข้อประเด็น จะเห็นว่าเป็นข่าวการเมืองที่ประชาชนกำลังให้ความสนใจ 
                    ทำให้ต้องหาวิธีติดตามข่าวอยู่เสมอและวิธีที่คนทั่วไปเลือกใช้กันอยู่เสมอคือการอ่าน
                    การอ่านมี 2 ลักษณะ คืออ่านออกเสียง และการอ่านในใจ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย    สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ท. 1.1      ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้ และความคิด เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ  
                                            แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

 เนื้อเรื่อง     โอกาสในการอ่าน  ที่พลาดไม่ได้
          การอ่านหนังสือเป็นสิ่งสิ่งจำเป็นสำหรับคนทั่วไป ในการแสวงหาความรู้  โดยเฉพาะเด็ก 
ในวัยศึกษาเล่าเรียน แต่การอ่าน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สำคัญกับบุคคลอีกหลายวัย  หลายอาชีพ
แต่จะมีความสำคัญต่อทุกคนที่มีความอยากรู้ อยากเห็น เรียกได้ว่าอยากเรียนรู้เรื่องต่างๆ ในสิ่งที่เราเอง
ไม่เคยรู้ หรือเป็นสิ่งที่รู้มาบ้างแล้วและอยากศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่สามารถทำได้ง่าย
คือการอ่านโดยเฉพาะการอ่านในใจ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการอ่านประเภทนี้ส่วนมากจะเป็นในสถานที่ชุมชน 
ที่ต้องมีมารยาท  มีกฏกติกา  เพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์  สถานที่ ที่ใช้ในการแสวงหาความรู้ 
และเนื่องจากการอ่านในใจ เป็นบทบาทเฉพาะตัวของบุคคลที่มีจุดมุ่งหมายจะจับใจความอย่างรวดเร็ว 
คือ รู้เรื่องเร็วและถูกต้องโดยไม่ใช้อวัยวะที่ช่วยในการออกเสียงเคลื่อนไหวเลยการอ่านในใจจะช่วยให้เข้าใจ
เนื้อความได้เร็วกว่าการอ่านออกเสียงและผู้อ่านจะรับรู้เรื่องราวเเต่เพียงผู้เดียว  การอ่านในใจมีวิธีดังต่อไปนี้
        ๑.  การอ่านอย่างละเอียด เป็นการอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้ ผู้อ่านจะต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่อ่าน
             พอสมควรควรอ่านรายละเอียดของเรื่องตั้งเเต่ต้นจนจบ จะทำให้มองเห็นการเชื่อมโยงระหว่าง
             ใจความสำคัญได้
        ๒.  ผู้อ่านต้องมีจุดมุ่งหมายในการอ่าน และต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่จะอ่าน ในการอ่านผู้อ่านจะต้อง
             จับใจความส่วนรวมให้ได้ว่าเป็นเรื่องอะไร เมื่ออ่านจบควรเรียบเรียงใจความสำคัญเป็นภาษาของตนเอง
        ๓.  อ่านอย่างรวดเร็ว เป็นการอ่านที่ไม่ต้องเก็บรายละเอียด แต่อ่านเพื่อให้ทราบเรื่องราวเท่านั้น นิยมใช้
             อ่านหนังสือประเภทบันเทิงคดีเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ เช่น อ่านนวนิยาย เรื่องสั้น นิตยสาร หนังสือพิมพ์
        ๔.  อ่านอย่างคร่าวๆ เป็นการอ่านอย่างรวดเร็ว เพื่อต้องการค้นหาคำตอบจากข้อความบางตอน การอ่านวิธีนี้
             เหมาะสำหรับผู้ที่มีพิ้นฐานการอ่านที่ดีพอ
        ๕.  อ่านเพื่อวิจารณ์ ผู้อ่านต้องใช้ประสบการณ์เดิมของตนให้เป็นประโยชน์ เพื่อทำความเข้าใจจุดมุ่งหมาย
             ของผู้เขียนการเสนอข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น หรือการใช้ความหมายตรง และโดยนัย

     แนวปฏิบัติในการอ่านในใจ
     การอ่านในใจต้องอาศัยความเเม่นยำในการจับตามองดูตัวหนังสือ การเคลื่อนไหวสายตา การเเบ่งช่วงวรรคตอน
ซึ่งต้องฝึกให้เกิดความเเม่นยำและรวดเร็วจึงจะสามารถเก็บได้ครบทุกคำการอ่านในใจมีเเนวปฏิบัติ ดังนี้
        ๑.  กวาดสายตามองตัวอักษณให้ได้ช่วงประมาณ ๕-๖ คำ เป็นอย่างน้อย
        ๒.  ไม่ควรทำปากขมุบขมิบในขณะอ่าน ต้องฝึกเรื่องอัตราความเร็วของตาและสมอง
        ๓.  ไม่ควรอ่านย้อนหลังจากอ่านจบ อ่านจากซ้ายไปขวาโดยตลอด
        ๔.  ทดสอบความเข้าใจหลังจากอ่านจบ โดยใช้วิธีตั้งคำถามสรุปเรื่องราวที่อ่าน

ประเด็นคำถาม
        1.   จงอธิบายถึงความสำคัญของการอ่าน
        2.   การอ่านในใจมีจุดมุ่งหมายอย่างไร

การบูรณาการ
         บูรณาการกับสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาเรื่องการอ่านข่าว


แหล่งอ้างอิง :  https://www.thairath.co.th/today  ฉบับวันที่ 25 พฤษภาคม 2554
                   :  https://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2605
                   :  https://www.kroobannok.com/blog/35092
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3998

อัพเดทล่าสุด