วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ภาษาคำยืมเป็นอย่างไร และทำไมต้องยืม


1,113 ผู้ชม


การยืมเป็นลักษณะของทุกภาษา แต่เราอยากจะรู้ว่าภาษาคำยืมมีลักษณะและที่มาเป็นอย่างไร   

             มีอะไรในข้อความที่ว่า ชี้ กระทรวงนี้ ไม่มีใครอยากทำ
        
1.    บทนำ    "ปลอดประสพ" ปฏิเสธ คำถามนั่งตำแหน่งรมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ หรือไม่
 ชี้ กระทรวงนี้ ไม่มีใครอยากทำเพราะมีปัญหาเขาพระวิหาร ระบุตำแหนง ปธ.-รองปธ.สภา
 ต้องเป็นคนเพื่อไทย 
               แหล่งที่มา:   ไทยรัฐออนไลน์   วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2554, 18:39 น.
                                                                             

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ภาษาคำยืมเป็นอย่างไร และทำไมต้องยืม

   ภาพจาก :  https://www.google.co.th/#hl=th&source=hp&q
                                         
        2.   ประเด็นข่าว    
                      จากข้อความข่าวที่ว่า  ชี้ กระทรวงนี้ ไม่มีใครอยากทำเพราะมีปัญหาเขาพระวิหาร.... 
คำว่า  กระทรวง  ที่ใช้กันอยู่ในระบบบริหารส่วนราชการไทย  เป็นภาษาคำยืม   ส่วนภาษาที่ใช้เป็น
ของตนเองตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงได้ทรงประดิษฐ์ขึ้นโดยดัดแปลงมาจากอักษรขอม
และมอญโบราณ ซึ่งได้วิวัฒนาการ มาจากอักษรปัลลวะของอินเดียฝ่ายใต้และได้มีการปรับปรุง
จนกลายเป็นอักษรไทยในปัจจุบัน
         3.   เนื้อหา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
                     มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษา  
                     การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญา  ทางภาษา
                     และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

        4.    เนื้อหา    คำว่า  กระทรวง  ที่ใช้กันอยู่ในระบบบริหารส่วนราชการไทย  เป็นภาษาคำยืม
หลายคนคงสงสัยว่า  ภาษาคำยืมเป็นอย่างไร  และทำไมต้องเป็นภาษาคำยืมด้วย  ลองศึกษารายละเอียดดูค่ะ
                      เริ่มจากความหมายของคำว่ากระทรวง
                                                                    

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ภาษาคำยืมเป็นอย่างไร และทำไมต้องยืม

      ภาพจาก:  https://th.wikipedia.org/wiki/%
                      พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน   ได้ให้ความหมายของคำว่ากระทรวงไว้ดังนี้
กระทรวง ๑ 
ความหมาย  [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง.
(ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง
ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน,
เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. 
(ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง 
เอากระทรวงสัตย์ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).

กระทรวง ๒ 
ความหมาย  [-ซวง] (กฎ) น. ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; (โบ) ส่วนราชการที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน 
เช่น ถ้าเป็นกระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไปแพ่งกระเสมพิจารณา, 
ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. (สามดวง). 
(เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย).
( แหล่งที่มา :  https://guru.sanook.com/search/ )
 
ความรู้เกี่ยวกับภาษาคำยืม
การยืมภาษา 
           การยืมเป็นลักษณะของทุกภาษา ไม่ว่าภาษาใดที่ไม่มีภาษาอื่นเข้ามาปะปน 
เมื่อแต่ละชาติต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาตั้งแต่อดีตกาลจนเกิดการนำคำหรือลักษณะทางภาษา
ของอีกภาษาเข้าไปใช้ในภาษาของตน

ประเภทของการยืม
           1. ยืมเนื่องจากวัฒนธรรม กลุ่มที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมด้อยกว่าจะรับเอาวัฒนธรรมจาก
กลุ่มที่มีความเจริญมากกว่า
           2. ยืมเนื่องจากความใกล้ชิด การที่สองกลุ่มใช้ภาษาต่างกันร่วมสังคมเดียวกันหรือมีอาณาเขต
ใกล้ชิดกัน มีความสัมพันธ์กันในชีวิตประจำวันทำให้เกิดการยืมภาษาซึ่งกันและกัน
           3. ยืมจากคนต่างกลุ่ม การยืมภาษาเดียวกันแต่เป็นภาษาของผู้ใช้ที่อยู่ในสภาพที่ต่างกัน

อิทธิพลของการยืม
           การยืมทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย มีอิทธพลต่อวงศัพท์ซึ่งการยืมทำให้
จำนวนศัพท์ในภาษามีการเพิ่มพูน เกิดวาระการใช้ศัพท์ต่างๆ กันเป็นคำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมาย
เดียวกัน แต่เราเลือกใช้ตามโอกาสและตามความเหมาะสมทั้งยังมีประโยชน์ในการแต่งบทร้องกรอง
เพราะมีหลากคำ

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ภาษาคำยืมเป็นอย่างไร และทำไมต้องยืม

 ภาพจาก :   https://olddreamz.com/inscript/sukhothai1.html
           
 ประวัติศาสตร์การยืมของประเทศไทย
           ภาษาไทยมีการยืมจากภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนเป็นเวลานานแล้ว แม้ในหลักศิลาจารึก
ของพ่อขุนรามคำแหงเมื่อปี พ.ศ. 1826 ก็ยังปรากฏคำยืมมาจากภาษาบาลีสันสกฤต และเขมรเข้ามาปะปนมากมาย
ประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างชาติมาช้านานย่อมทำให้มีภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนอยู่ในภาษา
ไทยเป็นจำนวนมาก เช่น เขมร จีน ชวา มลายู ญวน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย โปรตุเกส ฝรั่งเศส พม่า มอญ อังกฤษ


สาเหตุการยืมของภาษาไทย
           1. ความสัมพันธ์ทางถิ่นฐาน การมีอาณาเขตติดต่อหรือใกล้เคียงกันกับมิตรประเทศ
           2. ความสัมพันธ์ทางการค้า การติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับต่างประเทศ
           3. ความสัมพันธ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม การเผยแพร่ ศิลปะ วรรณคดี ของต่างประเทศ
สู่ประเทศไทย
           4. การศึกษาและการกีฬา การที่นักเรียนไทยไปศึกษาที่ต่างประเทศทำให้รับวิชาความรู้ 
และวิทยาการมากมาย
           5. ความสัมพันธ์ทางการฑูต การเจริญสัมพันธไมตรีซึ่งกันและกัน ระหว่างไทยกับต่างประเทศ
                การยืมคำเรายืมมาจากหลายภาษาดังนี้
                                                                    

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ภาษาคำยืมเป็นอย่างไร และทำไมต้องยืม

 ภาพจาก  :   https://www.google.co.th/#hl=th&source=hp&q

    ตัวอย่างคำยืมจากภาษาเขมรเช่น
          กระโถน                     ภาชนะบ้วนน้ำหรือทิ้งของที่ไม่ต้องภารลงไป
กระทรวง(กระ-ซวง)           ส่วนราชการเหนือทบวง, กรม
กระท่อม                              เรือนเล็กทำด้วยไม้หลังคามุงจาก ทำพออยู่ได้
กระบอง                              ไม้สั้นสำหรับใช้ตี
กระบือ                                 ควาย
กระเพาะ                             อวัยวะภายในรูปเป็นถุง มีหน้าที่ย่อยอาหาร
กระแส                                น้ำหรือลมที่ไหล-พัดเรื่อยเป็นแนวไม่ขาดสาย
กังวล                                   มีใจพะวงอยู่
กำจัด                                   ขับไล่, ปราบปราม
กำเดา                                  เลือดที่ออกทางจมูก
ขจร(ขะจอน)                   ฟุ้งไปในอากาศ 

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ภาษาคำยืมเป็นอย่างไร และทำไมต้องยืม

 ภาพจาก :    https://www.google.co.th/#hl=th&s

  ตัวอย่างคำยืมจากภาษาจีน

ก๊ก                                    พวก, หมู่, เหล่า
ก๋วยเตี๋ยว               ชื่อของกินทำด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นเส้นๆ
กอเอี๊ยะ                 ขี้ผึ้งปิดแผลชนิดหนึ่งแบบจีน
กะหล่ำ                   ชื่อไม้ล้มลุก มีหลายพันธุ์
กุยช่าย                   ชื่อไม้ล้มลุกคล้ายต้นหอม ใบแบน กลิ่นฉุน กินได้
เก๊                           ปลอมเลียนแบบให้คิดว่าเป็นของแท้ ; ของปลอม
เก๊ก                        วางท่า ; ขับไล่ 
เกาเหลา                 แกงมีลักษณะอย่างแกงจืด ไม่ใช่แกงเผ็ดแกงส้ม
เก้าอี้                       ที่นั่งมีขา ยกย้ายได้มีหลายชนิด ลักษณนามว่า ตัว
ง่วน                       เพลิน, ทำเพลิน, เล่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 
เจ๊ง                   ล้มเลิกกิจการเพราะหมดทุน ; สิ้นสุดเลิกกันไป, 
เจ๊า                    หายกัน(ภาษาการพนัน)
โจ๊ก                  ข้าวต้มที่ใช้ปลายข้าวต้มจนเละ
เฉาก๊วย             ชื่อขนมคล้ายวุ้นสีดำกินกับน้ำหวาน
แฉ                     แบ, ตีแผ่, เปิดเผย
ชีช้ำ                     ศร้าโศก, เสียใจ
ซาลาเปา            ชื่อขนมของจีนทำด้วยแป้งสาลีเป็นลูกกลมมีไส้ข้างในทั้งหวานและเค็ม
ตะหลิว              เครื่องมือใช้แซะหรือตักของที่ทอดหรือผัดในกระทะทำด้วยเหล็กมีด้ามจับ
ตั๋ว                      บัตรบางอย่างแสดงสิทธิของผู้ใช้
เต้าเจี้ยว             ถั่วเหลืองหมักเกลือ ใช้ปรุงอาหา

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ภาษาคำยืมเป็นอย่างไร และทำไมต้องยืม

     ภาพจาก   :     https://th.wikipedia.org/wiki/%E0

ตัวอย่างคำยืมจากภาษาสันสกฤต

กรรม (กำ)                       การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบันหรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปยังอนาคต
กรรมการ (กำมะกาน)     คณะบุคคลที่ร่วมกันทำงานที่ได้รับมอบหมาย (กรฺม + การ)
กรรมฐาน (กำมะถาน)     ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบายทางใจ
กรรมพันธุ์ (กำมะพัน)      มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์, ลักษณะนิสัย-โรคที่สิบมาจากพ่อแม่ (กรฺม + พนฺธุ
กริยา                       คำที่แสดงอาการของนาม หรือสรรพนาม
กรีฑา                      กีฬาประเภทลู่และลาน ; การเล่นสนุก
กษัตริย์ (กะสัด)      พระเจ้าแผ่นดิน ใช้เต็มคำว่า พระมหากษัตริย์
กุศล (-สน)             สิ่งที่ดีที่ชอบ, บุญ ; ฉลาด
เกษม (กะเสม)      ความสุขสบาย, ความปลอดภัย
เกษียณ (กะเสียน)   สิ้นไป
คณิตศาสตร์ (คะนิดตะสาด) วิชาว่าด้วยการคำนวณ (คณิต + ศาสฺตฺรย)
ครุฑ (คฺรุด)          พญานก พาหนะของพระนารายณ์
เคารพ (เคารบ)      แสดงอาการนับถือ, ไม่ล่วงเกิน
โฆษณา (โคดสะนา)  การเผยแพร่หนังสือออกสู่สาธารณชน ; ป่าวประกาศ
จักรพรรดิ (จักกระพัด)   พระราชาธิราช, ประมุขของจักรวรรดิ 
                                                                                  
                                                                                    

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำยืม ภาษาคำยืมเป็นอย่างไร และทำไมต้องยืม

       ภาพจาก  :   https://www.google.co.th/imgres?imgurl=https://campus.

ตัวอย่างคำยืมจากภาษาอังกฤษ

กราฟ (graph)      แผนภูมิที่ใช้เส้น จุด หรือภาพเพื่อแสดงอาการเปลี่ยนแปลงค่าตัวแปร
ก๊อก (cork)         เครื่องปิด-เปิดน้ำจากท่อ หรือภาชนะบรรจุน้ำ
ก๊อปปี้ (copy)      กระดาษที่ใช้ทำสำเนา
ก๊าซ (gas)            อากาศธาตุ
การ์ตูน (cartoon) ภาพล้อ, ภาพตลก บางทีเขียนติดต่อกันเป็นเรื่องยาว
เกรด (grade)       ระดับคะแนน, ชั้นเรียน
แก๊ง (gang)          กลุ่มคนที่ตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่า (มักใช้ความหมายไม่ดี)
ครีม (cream)       หัวน้ำนมส่วนที่ลอยขึ้นมา
คลินิก (clinic)      สถานพยาบาลของเอกชน ไม่รับผู้ป่วยพักรักษาประจำ
เคลียร์ (clear)      ทำให้ชัดเจน, ทำให้หมดสิ้น
คอนกรีต (concrete) วัสดุก่อสร้างประกอบด้วย ซีเมนต์ หิน ทราย น้ำผสมกัน เมื่อแห้งจะแข็งมาก


5.    ประเด็นคำถาม 
       แบ่งกลุ่มนักเรียนและปฏิบัติกิจกรรมดังนี้      
        กลุ่มที่ 1   ให้นักเรียนรวบรวมคำซึ่งเป็นคำพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ที่เป็นลักษณะคำยืม 
                         และนำมาแยกแยะว่าคำไหนเป็นคำยืมมาจากชาติใด พร้อมอธิบายเหตุผล จากความรู้ที่ศึกษา
       กลุ่มที่ 2    ให้นักเรียนนำคำที่เป็นลักษณะคำยืมมาแต่งประโยคเพื่อแสดงความหมายของคำ
                         รายงานเพื่อแบ่งปันความรู้
                         ( การจัดกิจกรรมอยู่ในดุลพินิจของครูผู้สอน)
6.     กิจกรรมเสนอแนะ
         6.1   นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปเป็นการสร้างองค์ความรู้เรื่อง สาเหตุของการยืมคำจากภาษาอื่น
          6.2  นำผลงานทุกชิ้นตามขั้นตอนของกิจกรรมติดแสดงป้ายนิเทศน์เพื่อเป็นการเผยแพร่
                 ความรู้แก่นักเรียนชั้นอื่นๆ

7.      การบูรณาการ
         บูรณาการกับสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  เรื่องการอธิบายแสดงความคิดเห็น 
         และฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม   การแบ่งปันความรู้  การฝึกระดมความคิด และสร้างองค์ความรู้
          ฝึกการยอมรับการเปรียบเทียบทางเหตุ ผลและการอ้างอิง


8.      แหล่งที่มาของข้อมูล :  https://www.thairath.co.th/pol
                                   :   https://www.st.ac.th/bhatips/thaiword02.htm
                                   :   https://guru.sanook.com/search/ )
             ขอขอบคุณ  ;    คุณครูภาทิพ ศรีสุทธิ์ 
              ภาพจาก      :   https://www.google.co.th/#hl=th&source=hp&q
                                   :   https://th.wikipedia.org/wiki/%
                                   :   https://olddreamz.com/inscript/sukhothai1.html
                                   :   https://www.google.co.th/#hl=th&source=hp&q
                                   :   https://th.wikipedia.org/wiki/%E0
                                   :   https://www.google.co.th/imgres?imgurl=https://campus.
                                   :  
 https://fws.cc/krooboonsongs/index.php

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4214

อัพเดทล่าสุด