ป่าไม้มีคุณ เกื้อหนุนสรรพชีวิต คิดถนอมรักษา
ป่าไม้มีคุณ เกื้อหนุนสรรพชีวิต คิดถนอมรักษา
องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) และองค์การสหประชาชาติได้จัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (UNEP : United Nation Environment Programme) ขึ้น ซึ่งในปี 2554 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้กำหนดหัวข้อรณรงค์เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ให้สอดคล้องกับที่ได้กำหนดให้ปีนี้เป็นปีสากลแห่งป่าไม้ ภายใต้ทีม “Forests : Nature at Your Service หรือ ป่าไม้มีคุณ เกื้อหนุนสรรพชีวิต คิดถนอมรักษา” ดังนั้นในวันสิ่งแวดล้อมโลกปี 2554 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่มา : https://www.dailynews.co.th/
ที่มาภาพ : https://phatphong.igetweb.com/article/art_583625.jpg
ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม และมีจิตสำนึก อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
สิ่งแวดล้อม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งแวดล้อม มี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ สัตว์ป่า ฯลฯ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1)สิ่งมีชีวิต
2) สิ่งไม่มีชีวิต
2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ความรู้ความสามารถที่ได้รับการสั่งสอน สืบทอด และพัฒนากันมาตลอด ซึ่ง ได้แบ่งไว้ 2 ประเภทคือ
1) สิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือสิ่งแวดล้อมที่สามารถมองเห็นได้ เช่น บ้านเรือน เครื่องบิน โทรทัศน์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก หรือตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิต บางอย่างอาจมีความจำเป็น แต่บางอย่างเป็นเพียงสิ่งฟุ่มเฟือย
2) สิ่งแวดล้อมทางสังคม หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อความเป็นระเบียบสำหรับอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขสิ่งแวดล้อมทางสังคมได้แก่ระบอบการปกครอง ศาสนา การศึกษา อาชีพ ความเชื่อ เจตคติ กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี ระเบียบข้อบังคับ ฯลฯ
สิ่งแวดล้อมที่มองไม่เห็นจะแสดงออกมาในรูปพฤติกรรม
ที่มาภาพ : https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/793/5793/images/Nature/salanglong3.jpg
ทรัพยากรธรรมชาติ
ก. ทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะที่นำมาใช้ได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น ได้แก่
1) ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย เช่น พลังงาน จากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น ใช้เท่าไรก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่รู้จักหมด
2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น ที่ดิน น้ำ ลักษณะภูมิประเทศ ฯลฯ ถ้าใช้ไม่เป็นจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา
2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป ได้แก่
1) ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า ประชากรโลก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ปลาบางชนิด ทัศนียภาพอันงดงาม ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้
2) ประเภทที่ไม่อาจทำให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติธรรมชาติของดิน ต้นไม้ใหญ่ ดอกไม้ป่า สัตว์บก สัตว์น้ำ ฯลฯ
3) ประเภทที่ไม่อาจรักษาไว้ได้ เมื่อใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนำมายุบให้ กลับเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วนำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น โลหะต่าง ๆ สังกะสี ทองแดง เงิน ทองคำ ฯลฯ
4) ประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปนำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมันก๊าซ อโลหะส่วนใหญ่ ฯลฯ ถูกนำมาใช้เพียงครั้งเดียวก็เผาไหม้หมดไป ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้
ทรัพยากรธรรมชาติหลักที่สำคัญของโลก และของประเทศไทยได้แก่ ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ แร่ธาตุ และประชากร (มนุษย์)
สรุป มนุษย์เป็นตัวการสร้าง และทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่าธรรมชาติ ความสำคัญของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ที่มาภาพ : https://learners.in.th/file/ratchnee_sungthong/0691_0.jpg
ที่มา : https://prakeaw.igetweb.com/index.php?mo=3&art=260300
ที่มา : https://www.school.net.th/library/snet6/envi2/subwater/sub.htm
ที่มาภาพ : https://www.thairath.co.th/media/content/2010/06/05/87562/hr1667/200.png
นักเรียนมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างไรบ้าง
ครูแบ่งกลุ่มให้นักเรียนร่วมกันหาวิธีในการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนของตนเอง
สาระภาษาไทยเขียนเรียงความการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
สาระวิทยาศาสตร์ให้นักเรียนค้นคว้าทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของตนเอง
ที่มาภาพไอคอน : https://www.kriengsak.com/medias/Image/eletter/2008/080905.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4043