วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา โวหาร โวหารภาพพจน์


1,150 ผู้ชม


โวหารภาพพจน์   

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา โวหาร โวหารภาพพจน์

ปีเตอร์ เช็ก  
ที่มาของภาพ https://www.tnnthailand.com/news/details.php?id=25822

ประเด็นจากข่าว  
       ปีเตอร์ เช็ก ประตูคนเก่งของ"สิงห์บลูส์" มือกาวสาธารณรัฐเช็กวัย 29 ปี    สลัดอาการบาดเจ็บหวนมาเฝ้าเสาได้อีกครั้ง คาดว่าจะลงประเดิมเกมพบ"แมวดำ" ซันเดอร์แลนด์ ในวันเสาร์นี้ ร่วมไปถึงศึกแชมเปี้ยนส์ ลีก ในวันอังคารที่ 13 กันยายนกับ"ห้างขายยา" เลเวอร์คูเซ่น    นายทวารเบอร์หนึ่งของ"สิงโตน้ำเงินคราม "เชลซี ทีมเงินถุงเงินถังของศึก      พรีเมียร์ ลีกได้รับบาดเจ็บบริเวณเอ็นหลังหัวเข่า ระหว่างฝึกซ้อมเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ต้องพักรักษาตัวเป็นระยะเวลาร่วมเดือน 
ที่มา   
https://news.sanook.com/1053529
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๓

                 ภาพพจน์ คือกลวิธีที่ผู้แต่งใช้เรียบเรียงถ้อยคำให้มีความไพเราะ สละสลวย สัมผัสอารมณ์ของผู้อ่านหรือทำให้ผู้อ่านเกิดความกระทบใจ ความรู้สึกหรือจินตนาการ 

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา โวหาร โวหารภาพพจน์

https://www.oknation.net/blog/fantastic/2008/01/27/entry-1

         ๑. การเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่ง  โดยใช้คำเปรียบเทียบให้เห็น เช่น  เสมือน  เหมือน  เฉก  เช่น  เพียง  เพี้ยง  ราว  กล  ดั่ง  ดั่ง  ดุจ  ประดุจ  ต่าง  ภาพพจน์นี้เรียกว่า  อุปมา
เช่น
                         “ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ   ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า”  (รามเกียรติ์)
                        “พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต              ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
                     ว่าจากเรือนเหมือนนกมาจากรัง                      อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย”(พระอภัยมณี)

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา โวหาร โวหารภาพพจน์

https://www.oknation.net/blog/arekoy/2009/02/13/entry-1

         ๒. การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง  เป็นการเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งมากจนเกือบเป็นสิ่งเดียวกัน มักมีคำว่า  เป็น  คือ  เท่า  ปรากฎอยู่  ภาพพจน์นี้เรียกว่า  อุปลักษณ์
เช่น
                         “ความรักเป็นยาพิษชนิดหนึ่ง                      เป็นน้ำผึ้งจากแดนอันแสนหวาน
                    เป็นความสุขเป็นทุกข์ท้อทรมาน                     เป็นทางผ่านของใจใครบางคน” (มุทิตา)
                        “ลูกคือดวงใจของพ่อแม่                              แม่เป็นมิตรแท้ของลูกนั่น”


         ๓. การสมมุติสิ่งต่าง ๆ (ที่ไม่ใช่มนุษย์) มีกิริยาอาการเหมือนมนุษย์   ภาพพจน์นี้เรียกว่า บุคคลวัตหรือบุคคลสมมุติ
เช่น
                      “เพชรน้ำค้างค้างหล่นบนพรมหญ้า               เย็นหยาดฟ้ามาฝันหลังวันใหม่
                   เคล้าเคลียหยอกดอกหญ้าอย่างอาลัย            เมื่อแฉกดาวใบไผ่ไหวตะวัน” (วารีดุริยางค์)

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา โวหาร โวหารภาพพจน์

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skit&mont


        ๔. การกล่าวเกินจริง เพื่อให้ข้อความนั้นมีน้ำหนักมากขึ้น ภาพพจน์นี้เรียกว่า อติพจน์
 เช่น
                     “ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร                         ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
                 แม้เกิดในใต้หล้าสุธาธาร                                   ขอพบพานพิศวาสมิคลาดคลา”  (พระอภัยมณี)
        ๕. การใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง  ที่มีคุณสมบัติบางประการร่วมกัน เช่นดอกไม้แทนผู้หญิง เพราะมี
ลักษณะร่วมกันคือความสวยงาม ภาพพจน์นี้เรียกว่าสัญลักษณ์
เช่น
                   “เจ้าดอกเอ๋ยดอกขจรอาวรณ์ถวิล                นกขมิ้นเหลืองอ่อนจะนอนไหน
                เขาวางขลุ่ยข่มน้ำตาว้าเหว่ใจ                           ตอบไม่ได้ดอกหนาข้าคนจร”(เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา โวหาร โวหารภาพพจน์

https://www.oknation.net/blog/arekoy/2009/02/13/entry-1


        ๖. การใช้คำให้กระทบความรู้สึกโดยการเลียนเสียงธรรมชาติ    ภาพพจน์นี้เรียกว่าสัทพจน์
  เช่น
                    “ตุบตับฉับฉาดฉะ                                          ทำเงอะงะมิใคร่สู้ 
                  ยอมเขาก็ย่อมรู้                                                 ความพ่ายแพ้จักมาเยือน”
        ๗.  กลวิธีการแต่งที่กวีสรรหามาเพื่อให้บทประพันธ์มีความเด่นเป็นพิเศษ     ภาพพจน์นี้เรียกว่า การเล่นคำ
  เช่น
                  “หนึ่งในหล้าหนึ่งเดียวหนึ่งองค์นี้                   หนึ่งผู้มีบุญญามหาศาล
                 หนึ่งในใจประชามาเนิ่นนาน                              หนึ่งนั้นองค์ภูบาลภูมิพล”

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา โวหาร โวหารภาพพจน์

https://www.lesla.com/board/gen.php?id=19334&mode_id=4


ประเด็นคำถาม
 นักเรียนเข้าไปตอบคำถามจากประเด็นคำถาม     คลิกที่นี่   
 คำตอบข้อที่ ๑..........
 คำตอบข้อที่ ๒..........
 คำตอบข้อที่ ๓..........
 คำตอบข้อที่ ๔..........
 คำตอบข้อที่ ๕..........

กิจกรรมเสนอแนะ
 ๑.   อ่านหนังสือเพิ่มเติมหาข้อความที่ปรากฎโวหารประเภทต่าง ๆ

บูรณาการ
 
 ศิลปะ:  การแสดงหรือทัศนศิลป์  


ที่มา
https://www.tnnthailand.com/news/details.php?id=25822
https://news.sanook.com/1053529
https://www.tnnthailand.com/news/details.php?id=25822
https://www.praphansarn.com/new/forum/forum_posts.asp?TID=13225&get=last
https://www.kroobannok.com/blog/7424
https://www.oknation.net/blog/arekoy/2009/02/13/entry-1
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skit&month=04-11-2009&
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4330

อัพเดทล่าสุด