วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน การเปลี่ยนชื่อ ตัวเหี้ย ตัวเงินตัวทอง


992 ผู้ชม


การเปลี่ยนชื่อ เนื่องจากมีเหตุผลและจะทำให้อะไรๆดีขึ้นจริงหรือ   

 เปลี่ยนชื่อ  ตัวเหี้ย   คิดได้ไง
1.    บทนำ    เปิดตัวฟร์ามเลี้ยง  เหี้ย....มก.  มุ่งหวังเป็นสัตว์เศรษฐกิจ
ช่วงเดือนกรกฎาคมปี 2552 เจ้าหน้าที่ของ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม...ได้ออกมาให้ข่าวว่าจะเปลี่ยน ชื่อ...ตัวเหี้ย เป็น “วรนัส” หรือ “วรานุ...
            ข่าวจาก :  ไทยรัฐออนไลน๋   ฉบับวันที่   6 กันยายน 2554, 05:05 น.
2.  ประเด็นข่าว :  คำใน ภาษาไทยหลายคำที่มีความหมายแตกต่างกันไปตามบริบท
หรือเป็นคำเฉพาะที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ต่างๆ   จากการอ่านข่าวพบคำว่า เหี้ย
ซึ่งถ้าคนอย่างเราๆ   ได้ยินคำว่า เหี้ยแล้วเกิดการระคายหู เนื่องติดความคิดที่ว่า 
คำว่า เหี้ย  คือสิ่งไม่ดี  ลองศึกษาดูค่ะ  (คลิกเพื่ออ่านเนื้อหาข่าวเพิ่มเติม)
3.  กลุ่มสาระภาษาไทยสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
       มาตรฐานการเรียนรู้    สาระที่ ๑ การอ่าน
       มาตรฐาน ท ๑.๑ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหา
       และสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน การเปลี่ยนชื่อ ตัวเหี้ย ตัวเงินตัวทอง


4.  เนื้อหา
ความหมายของคำ
        เหี้ย (อังกฤษ: Water monitor, ชื่อวิทยาศาสตร์: Varanus salvator) เป็นสัตว์เลื้อยคลาน
ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง      ตัวอ้วนใหญ่สีดำ ในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีลายดอกสีเหลืองพาดขวาง
 หางยาว อาศัยบริเวณใกล้น้ำ ภาคอีสานเรียก แลน
       คำว่า "เหี้ย" นั้นมักใช้เป็นคำด่าทอและเป็นคำหยาบคายที่ไม่สุภาพสำหรับสามัญชน
ทั่วไปในภาษาไทย บางครั้งจึงเลี่ยงไปใช้คำว่า ตัวเงินตัวทอง หรือ ตัวกินไก่ หรือ 
น้องจระเข้ แทน หรือบางครั้งก็ใช้คำว่า ตะกวด (ซึ่งในเชิงอนุกรมวิธานแล้วตะกวด
เป็นสัตว์คนละชนิดกับเหี้ย) คำว่า เหี้ย ในเชิงการใช้คำศัพท์แบบที่ใช้กับคน มักจะใช้
กับเพื่อนสนิทมาก ๆ พูดเป็นคำสร้อยนำหน้าชื่อก็มี สันนิษฐานว่าคำว่า "เหี้ย" มาจากภาษาบาลี "หีน" ที่แปลว่าต่ำช้า
              จากข่าวเจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะเปลี่ยนชื่อจากตัวเหี้ยเป็น "วรนัส" หรือ "วรนุส" หรือ "วรนุช" (สกุล Varanus อ่านเป็นภาษาละตินว่า วารานุส ซึ่งคล้ายกับคำว่า วรนุช) จนเกิดเป็นกระแสข่าวอยู่ช่วงหนึ่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งหลังจากที่มีกระแสข่าวนี้ออกมา คำว่าวรนุชนั้นก็ถูกนำไปใช้ในการสื่อความหมายไปในทางเสื่อมเสียบนอินเทอร์เน็ต และส่งผลกระทบแต่บุคคลที่ชื่อวรนุชไปโดยปริยาย
 5.    ประเด็นคำถาม
                    1.   นักเรียนเข้าใจความหมายของคำว่าเหี้ย อย่างไร จงเขียนอธิบาย
                    2.  สัตว์ที่เรียกกันว่าตัวเหี้ย มีลักษณะและมีประโยชน์อย่างไร
                    3. นักเรียนมีความคิดอย่างไร เกี่ยวกับที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนชื่อตัวเหี้ย
                       เป็น วรนัส" หรือ "วรนุส" หรือ "วรนุช"
6.    กิจกรรมเสนอแนะ
 จัดกิจกรรม ตั้งประเด็นการโต้วาทีเรื่องการเปลี่ยนชื่อของตัวเหี้ยว่าดีหรือไม่ดี สมควรหรือไม่โต้แย้งอย่างมีเหตุผล
7.     การบูรณาการ
                     บูรณาการกับวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีงานเกษตร เรื่องการทำฟรามเลี้ยงสัตว์
                      บูรณาการกับสังคมศึกษาเรื่องเศรษฐกิจ
   8.  แหล่งอ้างอิง  :   https://www.thairath.co.th/content/edu/199498
                               :   https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%

ที่มา ; https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4327

อัพเดทล่าสุด