สืบสานตำนานนิทานพื้นบ้าน สืบสานตำนานนิทานพื้นบ้าน
บทนำ วธ.ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี 2554 นิทานปลาบู่ทอง ตำนาน แม่นากพระโขนง สงกรานต์ ลอยกระทง ว่าวไทย และแย้ลงรูติดชื่อด้วย........................ แหล่งที่มาของข่าว : ไทยรัฐออนไลน์ ฉบับวันที่ 3 กันยายน 2554, 08:00 น.
ประเด็นจากข่าว ชีวิตคนไทยขึ้นอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นไทยๆมาช้านาน นิทาน ตำนาน การเล่น ประเพณีต่างๆ มีความสำคัญที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ควรยกย่องและสืบสาน ไว้มิให้สูญหาย ไปจากความเป็นไทย นิทานพื้นบ้านเป็นอีกภูมิปัญญาหนึ่งที่ควรสืบสานถือเป็น มรดกอันล้ำค่า ที่น่าศึกษาเรียนรู้และเป็นแบบอย่างแก่คนรุ่นหลังสืบไป กลุ่มสาระภาษาไทยสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 มาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ ๑ การอ่าน มาตรฐาน ท ๑.๑ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหา และสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน มาตรฐาน ท ๑.๑.๑ สามารถอ่านได้คล่องและอ่านได้เร็วขึ้นเข้าใจความหมายของคำ สำนวนโวหาร การบรรยาย การพรรณนา การเปรียบเทียบ การใช้บริบท เข้าใจความหมายของถ้อยคำ สำนวนและเนื้อเรื่อง และใช้แหล่งความรู้พัฒนาความสามารถการอ่าน เนื้อหา คำว่า“นิทาน” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546, หน้า 588) อธิบายความหมายไว้ว่า “นิทาน คือ เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก และนิทานอีสป เป็นต้น” นิทานพื้นบ้านมีบทบาทสำคัญต่อการถ่ายทอดการเรียนรู้ เสริมสร้างบุคลิกภาพ มีพลังโน้มน้าวความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมของแต่ละบุคคล รวมทั้งมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์และสังคมในหลายด้าน กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้ (ประยูร ทรงศิลป์, 2542, หน้า 6) การแบ่งนิทานมีวิธีการแบ่งและใช้คำแตกต่างกันไปบ้าง การจำแนกประเภทนิทาน ตามรูปแบบของนิทานออกเป็น 14 ประเภท แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงนิทานปรัมปราหรือนิทานทรงเครื่อง (fairy tale) ลักษณะที่เห็นเด่นชัด คือเป็นเรื่องค่อนข้างยาว มีเหตุการณ์ที่เป็นจุดขัดแย้งประกอบอยู่หลายเหตุการณ์ หรือหลายอนุภาค เนื้อเรื่องจะประกอบด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆซึ่งพ้นวิสัยมนุษย์ สถานที่เกิดเหตุ ไม่แน่ชัดว่ามีอยู่ที่ใด ตัวเอกของเรื่องเป็นผู้มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น มีบุญบารมี มีของวิเศษที่สามารถต่อสู้ อุปสรรคขวากหนามทำให้ศัตรูพ่ายแพ้ไปในที่สุด และจบลงด้วยความสุข เช่น เรื่องโสนน้อยเรือนงาม ปลาบู่ทอง นางสิบสอง สังข์ทอง เป็นต้น (กุหลาบ มัลลิกะมาส, 2518, หน้า 106) เนื้อหาของนิทานประเภท นี้สนุกสนานตื่นเต้น การดำเนินเรื่องอยู่ในโลกของจินตนาการ มีความมหัศจรรย์จากอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ของตัวละครที่เป็นอมนุษย์ เช่น ยักษ์ เทวดา หรือพญานาค เข้ามาเกี่ยวข้องในบางแห่งจึงเรียกนิทานประเภท นี้ว่า “นิทานมหัศจรรย์” และด้วยเนื้อเรื่องสนุกสนานดังกล่าว ปัจจุบันจึงมีผู้นำมาดัดแปลงสำหรับใช้ แสดงลิเก ละคร ภาพยนตร์ และการแสดงอื่นๆ ประเด็นคำถาม 1 นักเรียนคิดว่านิทานพื้นบ้านมีความสำคัญอย่างไรต่อคนไทย 2 ให้นักเรียนบอกชื่อเรื่องนิทานพื้นบ้านที่นักเรียนเคยได้อ่านหรือได้รับฟังมา พร้อมบอกคติสอนใจในเรื่องที่ได้อ่านหรือได้รับฟังมา 3 เขียนวิเคราะห์ตัวละครในเรื่องแบบสั้นๆได้ใจความ กิจกรรมเสนอแนะ 1. ศีกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน 2. แบ่งกลุ่มนักเรียนจัดแสดงบทบาทสมมุตินิทานพื้นบ้าน การบูรณาการ บูรณาการกับวิชาสังคมศึกษา ศาสนา เรื่องภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทย คติสอนใจ ศิลปะศึกษา เรื่องการแสดงบทบาทสมมุติ แหล่งอ้างอิง : https://www.thairath.co.th/ : https://www.thaifolk.com/Doc/literate/tales/category.htm :https://www.dek-d.com/board/view.php ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4325 |