วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน การอ่านจับใจความ อ่านมีระดับ อ่านจับใจความ


770 ผู้ชม


อ่านมาก รู้มาก อ่านน้อย รู้น้อย ไม่อ่าน โง่   

อ่านมีระดับ อ่านจับใจความ
                                   วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน การอ่านจับใจความ อ่านมีระดับ อ่านจับใจความ
                                             ภาพจาก : learners.in.th

                              วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน การอ่านจับใจความ อ่านมีระดับ อ่านจับใจความ             
                                                          ภาพจาก : campus.sanook.com
        อ่านมาก รู้มาก อ่านน้อยรู้น้อย  การอ่านแต่ละครั้งจึงเป็นการเสพความรู้
ผู้อ่านที่มีจุดมุ่งหมาย ยิ่งทำให้ได้ความรู้มาก  การอ่านจับใจความ เป็นการค้นหา
สาระของเรื่องที่อ่าน อาจอยู่ตอนต้น ตอนกลาง ตอนท้าย หรือผู้อ่านต้องสรุปเอง
ผู้ที่ฝึกอ่านเป็นประจำ จะเป็นผู้ที่สามารถสรุปสาระความรู้ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

                                         วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน การอ่านจับใจความ อ่านมีระดับ อ่านจับใจความ
                                                                  ภาพจาก : campus.sanook.com
ประเด็นการเรียนรู้   การอ่านจับใจความสำคัญ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔  (๑-๖)


การอ่านจับใจความสำคัญ

       การอ่านจับใจความสำคัญ หมายถึง การอ่านที่มุ่งค้นหาสาระของเรื่องหรือของหนังสือ
แต่ละเล่มที่เป็นส่วนใจความสำคัญ และส่วนขยายใจความสำคัญของเรื่อง
                            วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน การอ่านจับใจความ อ่านมีระดับ อ่านจับใจความ
                                             ภาพจาก : my.dek-d.com
       ใจความสำคัญ หมายถึง ข้อความที่มีสาระคลุมข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้าหรือ
เรื่องนั้นทั้งหมด(ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเรื่องได้ง่าย) โดยมีข้อความอื่น ๆ เป็นเพียง
ส่วนขยายใจความสำคัญเท่านั้นข้อความหนึ่งหรือตอนหนึ่งจะมีใจความสำคัญที่สุด
เพียงหนึ่งเดียวนอกนั้นเป็นใจความรอง
        พลความหรือส่วนขยายใจความ หมายถึง  ประโยคที่ช่วยขยายเนื้อความ
ของใจความสำคัญเพื่อสนับสนุนหรือแสดงตัวอย่าง เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจมากขึ้น
 ซึ่งใน แต่ละย่อหน้าอาจมีพลความอยู่หลาย ๆ ประโยคได้
                              วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน การอ่านจับใจความ อ่านมีระดับ อ่านจับใจความ
                                      ภาพจาก : education.kapook.com

          การอ่านจับใจความสำคัญให้เข้าใจง่ายและรวดเร็วผู้อ่านควรมีแนวทาง
และพื้นฐาน
แนวทาง และพื้นฐานการอ่านจับใจความสำคัญ
๑. การมีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของหนังสือ
     เช่น ชื่อเรื่อง คำนำ สารบัญ ฯลฯ ก็สามารถทำให้จับใจความสำคัญของเรื่องได้
๒. ตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านเพื่อเป็นแนวทางใช้กำหนดวิธีอ่านให้เหมาะสม 
     และจับใจความหรือหาคำตอบได้รวดเร็วขึ้น
๓. มีทักษะในการใช้ภาษาสามารถเข้าใจความหมายของคำศัพท์ต่าง ๆ
๔. มีประสบการณ์หรือภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน  มีความเข้าใจลักษณะของหนังสือ 
     เพราะหนังสือแต่ละประเภทมีรูปแบบการแต่งและเป้าหมายของเรื่องที่แตกต่างกัน
                        วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน การอ่านจับใจความ อ่านมีระดับ อ่านจับใจความ
                                            ภาพจาก : learners.in.th

จุดมุ่งหมายของการจับใจความสำคัญ 
๑. สามารถบอกรายละเอียดของเรื่องราวที่อ่านได้อย่างชัดเจน
๒. สามารถปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำได้
๓. เพื่อฝึกการอ่านเร็วและสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง
๔. สามารถสรุปหรือย่อเรื่องที่อ่านได้
๕. อ่านแล้วสามารถคาดการณ์ และหาความจริง แสดงข้อคิดเห็นได้
                                วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน การอ่านจับใจความ อ่านมีระดับ อ่านจับใจความ
                                          ภาพจาก : bookandreading.com

หลักในการอ่านจับใจความสำคัญ  ควรปฏิบัติดังนี้
๑. ตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านให้ชัดเจน
๒. อ่านเรื่องราวอย่างคร่าวๆ พอเข้าใจ และเก็บใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้า
๓. เมื่ออ่านจบให้ตั้งคำถามตนเองว่า เรื่องที่อ่านมีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร
๔. นำสิ่งที่สรุปได้มาเรียบเรียงใจความสำคัญใหม่ด้วยสำนวนของคนเอง
     เพื่อให้เกิดความสละสลวย
                                                         

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน การอ่านจับใจความ อ่านมีระดับ อ่านจับใจความ
    ภาพจาก : thaicinema.org 

ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
        ๑. การฝึกอ่านจับใจความสำคัญ มีประโยชน์อย่างไร


กิจกรรมเสนอแนะ
       ๑.  ให้วิธีอ่านจับใจความของนักเรียนที่ปฏิบัติแล้วได้ผลดี บอกเป็นข้อๆ

สรรถนะที่ต้องการเน้น
       ๑. มีความสามารถในการคิด
       ๒. มีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

กิจกรรมบูรณาการ   
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ  เรื่อง สมาธิ

          ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล   แผนการจัดการเรียนรู้  ภาษาไทย  ชั้นม.๔
          ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล  คู่มือการสอนภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3624

อัพเดทล่าสุด