วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ลิลิตตะเลงพ่าย เสียงปืนดังใกล้บ้าน ลูกหลานพระยาละแวก


1,419 ผู้ชม


พระยาละแวกเมื่อถูกจับได้ ถูกตัดหัวเอาเลือดล้างพระบาทจริงหรือ….   

เสียงปืนดังใกล้บ้าน  ลูกหลานพระยาละแวก

      วันนี้(๒๓ เมษายาน   ๒๕๕๔) เป็นวันที่สองที่มีเสียงปืนใหญ่ดังต่อเนื่องกัน
ตั้งแต่เช้า   ห่างจากบ้านเรา เพียง  ๕๐-๖๐  กิโลเมตร  
      เสียงปืนดังแต่ละครั้ง  บ้านสะเทือน   หนักบ้าง  เบาบ้าง  แยกไม่ออกว่า
                        วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ลิลิตตะเลงพ่าย เสียงปืนดังใกล้บ้าน ลูกหลานพระยาละแวก
                                    ภาพจาก : dek-d.com
              เสียงใด ที่เป็นเสียงปืนของ  ลูกหลานพระยาละแวก 
วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ลิลิตตะเลงพ่าย เสียงปืนดังใกล้บ้าน ลูกหลานพระยาละแวก
                                ภาพจาก : oknation.net
              เสียงใด ที่เป็นเสียงปืนของ  ลูกหลานพระนเรศวร
 
      เสียงปืนดังตั้งแต่เช้าตรู่ ๒ วันนี้ทำให้นึกถึงเรื่องราวของพระยาละแวก 
      วันนี้  คิดว่าเข้าใจในความรู้สึกของสมเด็จพระนเรศวรในการตัดสินใจ
ทำพิธิ  พิธี “ปฐมกรรม”    ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมในการศึกษา
ดังนี้      https://www.oknation.net , https://www.thaigoodview.com
 และ https://blog.eduzones.com
             วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ลิลิตตะเลงพ่าย เสียงปืนดังใกล้บ้าน ลูกหลานพระยาละแวก

                                       ภาพจาก : oknation.net      
     พิธี “ปฐมกรรม”ตัดหัวพระยาละแวกเอาเลือดล้างพระบาท !!!
       เรื่องจริงจากพงศาวดารหรือเป็นเพียงตำนานที่เขียนขึ้นเอง ???

        พระยาละแวกเมื่อถูกจับได้ คราวที่พระนเรศวรมหาราชทรงยกกองทัพไปได้
ถูกพระองค์นำมาตัดหัวเอาเลือดล้างพระบาทจริงหรือ….
           วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ลิลิตตะเลงพ่าย เสียงปืนดังใกล้บ้าน ลูกหลานพระยาละแวก
                             ภาพจาก : mrtiddin.blogspot.com

ประเด็นการศึกษา  ลิลิตตะเลงพ่าย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

 เรื่องย่อลิลิตตะเลงพ่าย 
          เริ่มประพันธ์ด้วยการกล่าวชมบารมีและพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จ
พระนเรศวรมหาราช แล้วจึงเข้าสู่เนื้อความที่ถอดความได้ดังนี้ สมเด็จพระมหา
ธรรมราชาได้ทรงสวรรคตจึงมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ซึ่งผู้ที่ได้สืบครองราชย์
ต่อคือสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งอาจมีการรบเพื่อแย่งราชบัลลังก์ระหว่างสมเด็จ
พระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรศถ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงได้ส่งกองทัพ
           วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ลิลิตตะเลงพ่าย เสียงปืนดังใกล้บ้าน ลูกหลานพระยาละแวก
                               ภาพจาก : movie.mthai.com
มาเพื่อเป็นการเตือนว่าหากบ้านเมืองกรุงศรีอยุธยาไม่สงบ พม่าพร้อมที่จะโจมตีทันที
 ซึ่งพระดำรินี้ได้รับความเห็นชอบจากเหล่าขุนนางทั้งหลายก็มีความเห็นตามนี้ 
พระองค์จึงได้มีรับสั่งให้พระมหาอุปราชาผู้ซึ่งเป็นโอรสและพระมหาราชเจ้านคร
เชียงใหม่ไปเตรียมกองทัพร่วมกัน แต่โหรได้ทำนายว่าพระมหาอุปราชานั้น
จะมีดวงถึงฆาต แต่ด้วยความเกรงในพระบิดาพระองค์จึงไม่ทรงขัดพระทัย 
              วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ลิลิตตะเลงพ่าย เสียงปืนดังใกล้บ้าน ลูกหลานพระยาละแวก
                                       ภาพจาก : bigfuns.com
        ในระหว่างช่วงนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เตรียมกองทัพในการไปท่ำศึก
กับกัมพูชาที่ได้นำทัพมารบในขณะที่ไทยกำลังรบอยู่กับพม่า แต่เมื่อทรงทราบ
ว่าพม่าได้ยกทัพมาพระองค์จึงนำกำลังส่วนนี้ไปตั้งทัพรอรับศึกพม่าแทน
 โดยทรงบัญชาให้ทัพหน้าไปประจำที่ตำบลหนองสาหร่าย ส่วนทัพพม่านั้น
ได้นำทัพจำนวน ๕ แสนชีวิตผ่านด่านเจดีย์สามองค์ ไทรโยคลำกระเพินแล้ว
จึงเข้ามายึดเมืองกาญจนบุรี จากนั้นได้นำทัพผ่านเข้ามาทางพนมทวน 
            วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ลิลิตตะเลงพ่าย เสียงปืนดังใกล้บ้าน ลูกหลานพระยาละแวก
                                       ภาพจาก  bigfuns.com
ณ ที่แห่งนี้ได้เกิดลมเวรัมภาที่พัดจนฉัตรพระมหาอุปราชาหักลง ทรงพักค่าย
ที่ตำบลตระพังตรุ ทางฝั่งสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ
เคลื่อนทัพทางน้ำ โดยขึ้นบกที่อำเภอป่าโมกข์ ซึ่งที่นี่ได้เกิดศุภนิมิตขึ้น 
จากนั้นได้นำพลไปพักค่ายที่อำเภอหนองสาหร่าย ซึ่งได้ทรงทราบว่าทหารพม่า
มาลาดตระเวณอยู่ในบริเวณนี้จึงมีพระบัญชาให้กองทัพหน้าเข้าโจมตีทันที 
แล้วทำทีเป็นถอยร่นเข้ามาเพื่อให้ข้าศึกเกิดความประมาท ซึ่งทัพหลวงจะออก
มาช่วยหลังจากนั้น แต่บังเอิญว่าช้างทรงทั้งของสมเด็จพระนเรศวรและ
สมเด็จพระเอกาทศรถนั้นตกมัน จึงหลงเข้าไปอยู่ตรงใจกลางของทัพข้าศึก
         วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ลิลิตตะเลงพ่าย เสียงปืนดังใกล้บ้าน ลูกหลานพระยาละแวก           
                                                      ภาพจาก : oknation.net

ทำให้แม่ทัพต่างๆเสด็จตามไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรจึงได้กล่าวท้าให้
พระมหาอุปราชออกมาทำยุทธหัตถีกัน ท้ายที่สุดสมเด็จพระนเศวรทรงมีชัย
เหนือพระมหาอุปราชา เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระเอกาทศรถมีชัยเหนือมังจาชโร
 หลังจากที่กองทัพพม่าแตกพ่ายไป สมเด็จพระนเรศวรได้มีพระบัญชาให้สร้าง
สถูปเจดีย์ขึ้นที่นี่ แล้วยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ในเรื่องนี้กวีได้จบเรื่องด้วยการ
ประพันธ์โคลงสดุดีและได้ประพันธ์ถึงทศพิธราชธรรม จักรพรรดิวัตรและปิดเรื่อง
ด้วยชื่อผู้ประพันธ์และจุดประสงค์ในการประพันธ์


คุณค่า  และ คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย

๑ .ความรอบคอบไม่ประมาท
      ในเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายนี้เราจะเห็นคุณธรรมของพระนเรศวรได้อย่างเด่นชัด
และสิ่งที่ทำให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ
 มากที่สุดคือ ความรอบคอบ ไม่ประมาท

ดั่งโคลงสี่สุภาพตอนหนึ่งกล่าวว่า

             ๖๒(๑๖๔) พระห่วงแต่ศึกเสี้ยน       อัสดง
                     เกรงกระลับก่อรงค์               รั่วหล้า
                     คือใครจักคุมคง                   ควรคู่ เข็ญแฮ
                      อาจประกันกรุงถ้า                ทัพข้อยคืนถึง

หลังจากที่พม่ายกกองทัพเข้ามาพระองค์ก็ทรงสั่งให้พ่ายพลทหารไปทำลายสะพาน
เพื่อว่าเมื่อฝ่ายไทยชนะศึกสงคราม พ่ายพลทหารของฝ่ายพม่าก็จะตกเป็นเชลย
ของไทยทั้งหมด นั่นแสดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีทัศนคติ
ที่กว้างไกล ซึ่งมีผลมาจากความรอบคอบไม่ประมาท
            วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ลิลิตตะเลงพ่าย เสียงปืนดังใกล้บ้าน ลูกหลานพระยาละแวก
                                      ภาพจาก : oknation.net

๒ .การเป็นคนรู้จักการวางแผน

จากการที่เราได้รับการศึกษาเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเราจะเห็นได้ชัดเจนว่าในช่วงตอนที่
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเปลี่ยนแผนการรบเป็นรับศึกพม่าแทนไปตีเขมร 
พระองค์ได้ทรงจัดการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างไม่รอช้า 
ทรงแต่งตั้งให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพหน้าและพระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพหน้า
ตามด้วยแผนการอื่นๆอีกมากมายเพื่อทำการรับมือ และพร้อมที่จะต่อสู้กับข้าศึกศัตรู
ทางฝ่ายพม่า ยกตัวอย่างโคลงสี่สุภาพที่แสดงให้เราเห็นถึงการรู้จักการวางแผน
ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

                      ๖๓(๑๖๕) พระพึงพิเคราะห์ผู้        ภักดี ท่านนา
                              คือพระยาจักรี                   กาจแกล้ว
                               พระตรัสแด่มนตรี              มอบมิ่ง เมืองเฮย
                               กูไกลกรุงแก้ว                  เกลือกช้าคลาคืน

     เมื่อเราเห็นถึงคุณธรรมทางด้านการวางแผนแล้วเราก็ควรเอาเยี่ยงอย่างเพื่อใช้
ในการดำเนินชีวิตให้เป็นไปอย่างมีระเบียบ มีแบบแผน ซึ่งจากคุณธรรมข้อนี้ก็อาจช่วย
เปลี่ยนแปลงให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน ให้กลายเป็นบุคคลที่มีคุณภาพชีวิตทางด้าน
การวางแผนในการดำเนินชีวิตก็เป็นได้ถ้าเรารู้จักการวางแผนให้กับตัวเราเอง

๓. การเป็นคนรู้จกความกตัญญูกตเวที

จากบทการรำพึงของพระมหาอุปราชาถึงพระราชบิดานั้น แสดงให้เราเห็นอย่างเด่นชัด
เลยทีเดียวว่าพระมหาอุปราชาทรงมีความห่วงใย อาทร ถึงพระราชบิดาในระหว่างที่
ทรงออกรบ ซึ่งแสดงให้เราเห็นถึงความรักของพระองค์ที่มีต่อพระราชบิดา 
โดยพระองค์ได้ทรงถ่ายทออดความนึกคิด และรำพึงกับตัวเอง ดั่งโคลงสี่สุภาพ
ที่กล่าวไว้ว่า

                              ๕๑(๑๕๒) ณรงค์นเรศด้าว           ดัสกร
                                   ใครจักอาจออกรอน               รบสู้
                                   เสียดายแผ่นดินมอญ              มอด ม้วยแฮ
                                   เหตูบ่มีมือผู้                           อื่นต้านทานเข็ญ

ซึ่งเมื่อแปลจะมีความหมายว่า เมื่อยามที่สงครามขึ้นใครเล่าจะออกไปรบแทนท่านพ่อ 
จากโคลงนี้ไม่ได้แสดงให้เราเห็นถึงความกตัญญูที่มีต่อพระราชบิดาของพระมหา
อุปราชาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีความกตัญญู ความจงรัก ภักดี ต่อชาติบ้านเมืองอีก
               วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ลิลิตตะเลงพ่าย เสียงปืนดังใกล้บ้าน ลูกหลานพระยาละแวก
                                    ภาพจาก : campus.sanook.com

๔. การเป็นคนช่างสังเกตและมีไหวพริบ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถทางด้านการมี
ความสติปัญญาและมีไหวพริบเป็นเลิศ ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่สมเด็จพระนเรศวร
มหาราชจะทรงมีคุณธรรมทางด้านการเป็นคนช่างสังเกตและมีไหวพริบ 
ด้วยเหตุนี้ทำให้พระองค์ทรงสามารถแก้ไขสถานการณ์อันคับขันในช่วงที่ตกอยู่
ในวงล้อมของพม่าได้ ซึ่งฉากที่แสดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงมีคุณธรรมทางด้านนี้คือ

                         ๑๓๐(๒๙๖) โดยแขวงขวาทิศท้าว       ทฤษฎี แลนา
                               บัด ธ เห็นขุนกรี                        หนึ่งไสร้
                               เถลิงฉัตรจัตุรพิรีย์                     เรียงคั่ง ขูเฮย
                               หนแห่งฉายาไม้                       ข่อยชี้เฌอนาม

                         ๑๓๑(๒๙๗) ปิ่นสยามยลแท้ท่าน           คะเนนึก อยู่นา
                               ถวิลว่าขุนศึกสำ-                          นักโน้น
                               ทวยทับเทียบพันลึก                     แลหลาก หลายแฮ
                               ครบเครื่องอุปโภคโพ้น                  เพ่งเพี้ยงพิศวง

สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้วิธีการสังเกตหาฉัตร5ชั้นของพระมหาอุปราชา 
ทำให้พระองค์ทรงทราบว่าใครเป็นพระมหาอุปราชาทั้งๆที่มีทหารฝ่ายข้าศึก
ร่ายล้อมพระองค์จนรอบ แต่ด้วยความมีไหวพริบพระองค์จึงตรัสท้ารบเสียก่อน
เพราะถ้าพระองค์ไม่ทรงตรัสท้ารบเสียก่อนพระองค์อาจทรงถูกฝ่ายข้าศึกรุมโจมตี
ก็เป็นได้ ดังนั้นเมื่อเราเห็นคุณธรรมของพระองค์ด้านนี้แล้วก็ควรยึดถือ
และนำไปปฏิบัติตามเพราะสิ่งดีๆเหล่านี้อาจก่อให้เกิดผลดีต่อตนเอง 
และต่อประเทศชาติได้

๕. ความซื่อสัตย์
จากเนื้อเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่าบรรดาขุนกรีและทหารมากมายทั้งฝ่ายพม่า
และฝ่ายไทยมีความซื่อสัตย์และความจงรักภักดี ต่อประเทศชาติของตนมาก
เพราะจากการที่ศึกษาเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเรายังไม่เห็นเลยว่าบรรดาทหาร
ฝ่ายใดจะทรยศต่อชาติบ้านเมืองของตน ซึ่งก็แสดงให้เราเห็นว่าความซื่อสัตย์
ในเราองเล็กๆน้อยๆก็ทำให้เราสามารถซื่อสัตย์ในเรื่องใหญ่ๆได้ซึ่งจากเรื่องนี้
ความซื่อสัตย์เล็กๆน้อยๆของบรรดาทหารส่งผลให้ชาติบ้านเมืองเกิดความเป็น
ปึกแผ่นมั่นคงได้
    เราก็เช่นเดียวกัน....ถ้าเรารู้จักมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองดั่งเช่นบรรดาขุนกรี
 ทหารก็อาจนำมาซึ่งความเจริญและความมั่นคงในชีวิตก็เป็นได้ซึ่งสิ่งนี้อาจ
ส่งผลประโยชน์ต่อตนเอง ต่อครอบครัวและชาติบ้านเมือง

๖. การมีวาทศิลป์ในการพูด
จากเรื่องนี้มีบุคคลถึงสองท่านด้วยกันที่แสดงให้เราเห็นถึงพระปรีชาสามารถ
ทางด้านการมีวาทศิลป์ในการพูด ท่านแรกคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 
ในโคลงสี่สุภาพที่ว่า

           ๑๗๗(๓๐๓) พระพี่พระผู้ผ่าน   ภพอุต-ดมเอย

                   ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด      ร่มไม้

                    เชิญการร่วมคชยุทธ์       เผยอเกียรติ ไว้แฮ

                    สืบว่าสองเราไซร้           สุดสิ้นฤามี

เราจะเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงใช้วาจาที่ไพเราะมีความสุภาพน่าฟังต่อ
พระมหาอุปราชาซึ่งเป็นพี่เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่ทางฝ่ายพม่า

 ท่านที่สองคือ สมเด็จพระวันรัต เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงมาขอพระราชทาน
อภัยโทษจากพระนเรศวร ให้กับบรรดาทหารที่ตามเสด็จพระนเรศวร
ในการรบไม่ทัน ซึ่งอยู่ในโคลงสี่สุภาพที่ว่า

             ๑๗๗(๓๕๗) พระตรีโลกนาถแผ้ว     เผด็จมาร

                   เฉกพระราชสมภาร                  พี่น้อง

                   เสด็จไร้พิริยะราญ                    อรินาศ ลงนา

                   เสนอพระยศยินก้อง                 เกียรติก้องทุกภาย

การมีวาทศิลป์ในการพูดของสมเด็จพระวันรัตครั้งนี้ทำให้บรรดาขุนกรี 
ทหารได้รับการพ้นโทษดังนั้นจากคุณธรรมข้อนี้ทำให้เราได้ข้อคิดที่ว่า 
การพูดดีเป็นศรีแก่ตัวเมื่อเราทราบเช่นนี้แล้วเราทุกคนก่อนที่จะพูดอะไร
ต้องคิดและไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะพูด

ข้อคิดจากเรื่อง

๑. ลิลิตตะเลงพ่ายสะท้อนให้เห็นความรักชาติ ความเสียสละ ความกล้าหาญ
 ของบรรพบุรุษ ซึ่งคนไทยควรภาคภูมิใจ

๒. แผ่นดินไทยต้องผ่านการทำศึกสงครามอย่างมากมายกว่าที่จะมารวมกัน
เป็นปึกแผ่นอย่างปัจจุบันนี้

๓. พระราชภารกิจของกษัตริย์ไทยในสมัยก่อน คือการปกครองบ้านเมือง
ให้ร่มเย็นเป็นสุขและรบเพื่อปกป้องอธิปไตยของไทย

 

คุณค่าจากเรื่อง

๑. เป็นวรรณคดีชั้นสูงของชาติซึ่งถือได้ว่าเป็นแบบอย่างที่ดีของวรรณคดีอื่นๆ

๒. ให้คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์หลายประการ เช่น การเล่นคำ การแทรกบทนิราศ
คร่ำครวญ การใช้โวหารต่างๆ

การพรรณนาฉากที่ทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมและเกิดความรู้สึกคล้อยตาม

๓. ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และลักษณะผู้ฟังที่ดี

๔. ปลุกใจให้คนไทยรักและเทิดทูนแผ่นดินไทยจนพร้อมที่จะเสียสละเพื่อบ้านเมืองได้

                                          ศึกษาเพิ่มเติม ๑
                                          ศึกษาเพิ่มเติม ๒
                                          ศึกษาเพิ่มเติม ๓


ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
        ๑. สิ่งใดบ้างที่นักเรียนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเราได้
        ๒. ทำอย่างไร เพื่อให้สังคมไทยสงบ และมีพลังเข้มแข็ง

กิจกรรมเสนอแนะ
       ๑.  ให้นำเนื้อเรื่องแต่งเพลงกลุ่มละ  ๑  เพลง

สรรถนะที่ต้องการเน้น
       ๑. มีความสามารถในการคิด
       ๒. มีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

กิจกรรมบูรณาการ   
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์

          ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล   แผนการจัดการเรียนรู้  ภาษาไทย  ชั้นม.๕
          ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล  คู่มือการสอนภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
          ขอบคุณ : https://www.thaigoodview.com
          ขอบคุณ :  https://www.thaigoodview.com

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3656

อัพเดทล่าสุด