ชฎานี้น่าสวมใส่
ชฎา ตามควาในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ให้ความหมายของชฎาว่า เครื่องสวมศีรษะ
รูปคล้ายมงกุฎ หรือผมที่เกล้าเป็นมวยสูงขึ้น
เนื้อหาสำหรับสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ระดับช่วงชั้นที่ ๑-๔
สาระที่ ๑.การอ่าน
สวยงามยามสวมใส่
ชฎาใหญ่อยู่บนผม
คนต่างกล่าวชื่นชม
คนนิยมสวมชฎา
ชฎานี้งามนัก
อนุรักษ์และสรรหา
แต่ก่อนครั้งนานมา
สวมชฎาดูงดงาม
ทุกวันนั้นหายาก
หาลำบากคนกล่าวถาม
แดนดินในเขตคาม
ทุกผู้นามอยากดูชม
ชฎาน่าสวมใส่
ชาวโขนใหญ่ต่างนิยม
กาลก่อนครั้งนานนม
ความเหมาะสมสวมแสดง
(บัวกันต์ วิลามาศ-ประพันธ์)
สาระที่ ๒.การเขียน
ให้นักเรียนค้นหาคำที่เขียนด้วยพยัญชนะ ฎ ชฏา
สาระที่ ๓.การฟัง การดู และการพูด
สนทนาเกี่ยวกับการสวมชฎา แสดกงความคิดเห็นตามแนวคิดของตนเอง
สาระที่ ๔.หลักการใช้ภาษาไทย
ให้นักเรียนสนทนาถึงลักษณะนามของชฎา
สาระที่ ๕.วรรณคดีและวรรณกรรม
ศึกษาวรรณกรรมที่ตัวละครมีการสวมชฎาว่าใช้กันอย่างไร
ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
ชฎา ใช้และมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนไทย อย่างไร
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
๑.สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ตั้งโจทย์ปัญหาโดยใช้ชฎาเป็นสื่อ
๒.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ศึกษาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาผลิตเป็นชฎา
๓.สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ศึกษาขนบธรรมเนียมของประเพณีเกี่ยวกับการสวมชฎาว่ามีความเป็นมาอย่างไร ใช้อย่างไร
๔.สาระการเรียนรู้ศิลปะ
จัดกิจกรรมแสดงละครพื้นบ้านโดยให้มีการแต่งตัวด้วยการสวมชฎา
๕.สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ศึกษาเกี่ยวการสวมชฎาว่ามีผลต่อร่างกายอย่างไร เช่น น้ำหนักของชฎาที่สวมใส่
๖.สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ศึกษาเกี่ยวกับอาชีพผลิตชฎา ถึงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
๗.สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ศึกษาคำที่ใช้เกี่ยวกับชฎาในภาษาต่างประเทศ
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลภาพประกอบ
www.bankhonthai.com
www.t-pageant.com
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=711