วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำสรรพนาม การใช้คำสรรพนาม


1,204 ผู้ชม


คำที่ใช้แทนนาม เราเรียนกว่า คำสรรพนาม   

คำสรรพนาม  ใช้ถาม ใช้แทน ใช้ชี้เฉพาะ

ข่าวพระราชสำนัก
พระราชทานคำขวัญวันแม่ 
                             วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำสรรพนาม การใช้คำสรรพนาม

                                      ภาพจาก : https://www.oknation.net

       เมื่อวันที่ ๔ ส.ค. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานคำขวัญวันแม่แห่งชาติ ปี ๒๕๕๓ เพื่ออัญเชิญลงหนังสือวันแม่แห่งชาติปี ๒๕๕๓ 
ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ความว่า 
     “แผ่นดินนี้แม่ของลูกใช้ปลูกข้าว     กี่แสนก้าวที่ เดินซ้ำย่ำหว่านไถ
 บำรุงดินจนอุดมสมดังใจ                   หวังนาไทยเป็นของไทยไปนิรันดร์”

                ที่มา :  เดลินิวส์ออนไลน์  วันพฤหัสบดี ที่  ๐๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๗:๓๐ น

       คำขวัญวันแม่  เป็นข้อเตือนสติของเราคนไทย  ให้รักษาสมบัติของบ้าน
สมบัติของชาติ  บางครั้ง ความอยู่ดีกินดี ของคนไทย  ก็ทำให้เกิดความประมาท  
ละเลย เรื่องสำคัญในบางเรื่อง  การเขียนความรู้สึกนอกจากจะเป็นบันทึกเหตุการณ์
ในชีวิตแล้วยังสะท้อนความคิดในยุกคสมัยนั้นได้

        และถ้าเราจะเขียนเรียงความเพื่อสื่อสารถึงแม่  การใช้คำแทนแม่  
ควรต้องเลือกคำให้เหมาะสม  จะทำให้งานเขียนก็จะมีคุณค่า  ทั้งด้านการใช้ภาษา  
และจิตวิญญาณของผู้ที่เป็นลูก ผู้อ่านจะรูัสึกซาบซึ้งไปด้วย   
คำที่ใช้แทนนาม เราเรียนกว่า  คำสรรพนาม


ประเด็นการศึกษา เรื่อง คำสรรพนาม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒


คำสรรพนาม
      คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้เรียกแทนนาม  คำสรรพนามทำหน้าที่เป็นส่วนหลักของ
นามวลีได้  เช่นเดียวกับคำนาม 
คำสรรพนามแบ่งได้.......ชนิด

 ๑)  บุรุษสรรพนาม  หรือสรรพนามบอกบุรุษ หรือคำสรรพนามแทนบุคคล
ซึ่งอาจใช้ระบุแทนคน สัตว์ ต้นไม้ วัตถุ หรือความคิดก็ได้   เพื่อใช้ในการสนทนา
สรรพนามแทนบุคคลแบ่งเป็น  ๓ ชนิด ดังนี้
      สรรพนามบุรุษที่  ๑  สรรพนามบอกบุรุษที่ใช้แทนตัวผู้พูด 
                     เช่น ..............................................
      สรรพนามบุรุษที่  ๒  สรรพนามบอกบุรุษที่ใช้แทนผู้ที่พูดด้วย เช่นผู้ฟัง ผู้อ่าน 
                     เช่น .....................................................
      สรรพนามบุรุษที่  ๓  สรรพนามบอกบุรุษที่ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง และไม่อยู่ในที่สนทนา
 
                      เช่น .....................................................

 ๒) สรรพนามถาม (ปฤจฉาสรรพนาม) คือสรรพนามที่ใช้แทนนามและใช้แสดงคำถาม 
ในขณะเดียวกัน  ในภาษาไทยมีเพียง  ๓  คำ  ได้แก่  ใคร  อะไร  ไหน  เช่น
                      ใคร  เขียนจดหมายฉบับนี้
                      คุณต้องการจะพูดกับใคร
                      อะไรตกลงไปในน้ำ
                      แม่กำลังทำอะไรอยู่
                      ร่มอยู่ไหน
                      ไหนขนมที่เธอซื้อมา


 ๓)  คำสรรพนามชี้เฉพาะ(นิยมสรรพนาม)  คือคำสรรพนามที่ใช้บอกระยะใกล้ ไกล  
คำสรรพนามชี้เฉพาะมีเพียง ๘  คำ  ได้แก่ นี่  นั่น โน่น  นู่น   ชุดหนึ่ง  และ  
นี้  นั้น  โน้น  นู้น  อีกชุดหนึ่ง  
      คำสรรพนามชี้เฉพาะแต่ละชุดใช้บอกรยะใกล้ไกลแตกต่างกัน  จากระยะใกล้ที่สุด
ไปถึงไกลที่สุด  ๔  ระยะ  
                                   นี่  กับ  นี้  บอกระยะใกล้ที่สุด
              วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำสรรพนาม การใช้คำสรรพนาม

                                     ภาพจาก  https://www.yenta4.com

               นั่น  กับ  นั้น  บอกระยะที่ไกลออกไป
              โน่น  กับ  โน้น  บอกระยะที่ไกลออกไปอีก
               นู่น  กับ  นู้น  บอกระยะไกลที่สุด
                          วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำสรรพนาม การใช้คำสรรพนาม
                               ภาพจาก : https://www.google.co.th

           คำสรรพนามชี้เฉพาะนี้  สามารถใช้ตามหลักคำกริยาหรือใช้ขึ้นต้นประโยคก็ได้
        เมื่อใช้ขึ้นต้นประโยค  อาจตามด้วยคำนาม หรือคำกริยาก็ได้
        ถ้าใช้ตามหลักคำกริยา  เช่น   นั่งนี่ไหม ,   ร่มอยู่นั่นไง,   ดูโน่นซิ,  กระเป๋าน้องอญู่นู่น
        ใช้ขึ้นต้นประโยคและมีคำนามตามมา เช่น
        นี่กระเป๋าของใคร,  นั่นธนาคารกรุงไทย,  โน่นร้านค้าสหกรณ์โรงเรียน, นู่นโรงอาหาร
 

 ๔)  คำสรรพนามไม่ชี้เฉพาะ (อนิยมสรรพนาม) คือสรรพนามที่ไมารุบุหรือกำหนดแน่นอน
ว่าหมายถึงผู้ใด  อะไร  สิ่งใด  หรือสถานที่ใด ได้แก่  ใคร  อะไร  ไหน  เช่น
               เรื่องนี้เขาไม่ได้บอกใครเลย
               เขาจะพูดอะไรก็เรื่องของเขา
               อยู่ไหนก็ไม่สะดวกเท่าบ้านเรา
     คำสรรพนามไม่ชี้เฉพาะอาจมีรูปซ้ำกับคำสรรพนามแทนบุคคลบางคำ 
ได้แก่ ท่าน เรา เขา  แต่จะมีความหมายต่างกัน เช่น  
            ท่านว่าไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง  (ไม่ชี้ว่า ท่าน เป็นใคร)
            เขาลือกันว่าพี่ชายฉันป่วยหนัก     (ไม่ชี้ว่า เขา หมายถึงใคร)
            เทศกาลสงกรานต์เราเล่นสาดน้ำกันทั้งประเทศ  (ไม่ชี้ว่า เรา หมายถึงใคร)
      คำสรรพนามไม่ชี้เฉพาะบางคำอยู่ในรูปของคำซ้ำ  ได้แก่  ใครๆ  อะไรๆ  ใดๆ  อื่นๆ  
เช่น
               ใครๆ ก็ชอบขนมปังร้านนี้
              อะไรๆ ก็กินได้ ถ้าเป็นของฟรี
               แม่ซื้อ ผัก หมู ไก่ ผลไม้ และอื่นๆ


 ๕) คำสรรพนามแยกฝ่าย (วิภาคสรรพนาม) คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนนามหรือ
บุรุษสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าเพื่อแสดงว่ามีหลายฝ่าย หลายส่วน แต่ละฝ่าย แต่ละส่วน
แยกกันทำกริยาใด   กริยาหนึ่งหรือมากกว่า   สรรพนามแยกฝ่ายมีจำนวนเพียง ๓ คำ  
ได้แก่  ต่าง, บ้าง,  กัน

        ต่าง ใช้แทนนามข้างหน้าเพื่อแสดงว่ามีหลายฝ่าย  แต่ละฝ่ายทำกริยาเดียวกัน  เช่น
                  ชาวนาต่างไถ่หว่าน
                  นักเรียนม.๒/๒ต่างทำการบ้าน
                  เราต่างคนต่างอยู่จะดีกว่า
                เช่น จากภาพ    เด็กต่างร้องไห้

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำสรรพนาม การใช้คำสรรพนาม

                                                ภาพจาก : https://www.igetweb.com
       บ้าง ใช้แทนนามข้างหน้าเพื่อแสดงว่ามีหลายฝ่าย  แต่ละฝ่ายแยกทำกริยาต่างกัน  
หรือเป็นกรรมของคำกริยาต่างกัน  คำว่า  "บ้าง" มักใช้เป็นคู่ปรากฏในประโยคที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกัน
              เช่น   นักเรียนบ้างก็อ่านหนังสือบ้างก็ทำการบ้าน
                      เงินทองที่หามาได้ ฉันก็ใช้บ้าง เก็บบ้าง
 
        เมื่อ "บ้าง" ปรากฏหลังคำนามหรือคำบุรุษสรรพนามและปรากฏหน้าคำกริยา 
จะแสดงความหมายว่าแต่ละฝ่ายแยกทำกริยาต่างกัน  เช่น
                     คนสวนบ้างรดน้ำ  บ้างพรวนดิน
                     เด็กๆ บ้างก็ดูทีวี บ้างก็เล่นเกม

      เมื่อ "บ้าง" ปรากกฏหลังคำกริยา จะแสดงความหมายว่าแต่ละส่วนถูกกระทำไม่เหมือนกัน เช่น
                     ของที่ซื้อเก็ไว้ ก็กินบ้าง  ทิ้งบ้าง
                     เสื้อที่ซักแล้ว  ก็รีดบ้าง  ไม่รีดบ้าง ตามสะดวก
                  วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา คำสรรพนาม การใช้คำสรรพนาม
                                          ภาพจาก : https://www.mini-devil.com


          กัน  ใช้แทนคำนาม หรือคำบุรุษสรรพนามข้างหน้า เพื่อแสดงว่ามีหลายฝ่าย  
แต่ละฝ่ายทำกริยาอย่างเดียวกัน กับอีกฝ่าย เช่น
                       มวยวันนี้ต่อยกันมันทุกคู่
                       ผัวเมียคู่นี้ทะเลาะกันเกือบทุกวัน
                       เขานัดปรึกษางานกันที่โรงเรียน


ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
       ๑. คำนามมีความสำคัญในการใช้ภาษาสื่อสารอย่างไร
       ๒. ให้เขียนแผนผังความคิดความรู้เรื่องคำสรรพนาม

  
กิจกรรมเสนอแนะ
       ๑. แต่งเพลงอธิบายคำสรรพนาม 
  
คุณลักษณะที่ปลูกฝัง
       ๑. รักความเป็นไทย
       ๒. มุ่งมั่นในการเรียน

กิจกรรมบูรณาการ   
      
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  เรื่อง Pronoun


ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล  แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล  คู่มือการสอนภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3058

อัพเดทล่าสุด