วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การใช้ภาษา โน้มน้าวจิตใจ ใช้ภาษาโน้มน้าวได้....มัดใจคนทั้งเมือง


722 ผู้ชม


การพยายามที่จะเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติค่านิยมและการกระทำของบุคคลอื่น เป็นการโน้มน้าวใจ   

ใช้ภาษาโน้มน้าวได้ มัดใจคนทั้งเมือง


กาแฟลดความอ้วน

                              
                                      วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การใช้ภาษา โน้มน้าวจิตใจ ใช้ภาษาโน้มน้าวได้....มัดใจคนทั้งเมือง
                                       ภาพจาก : https://news.nipa.co.th

         ปัญหาสุขภาพ ทั้งโรคอ้วน เบาหวาน หัวใจ ได้ลุกลามไฟทั่วโลก เพราะผู้คนส่วนใหญ่ 
ทานอาหารที่ขาดวิตามิน เกลือแร่และใยอาหาร
ผลิตภัณฑ์ เนเจอร์กิฟ มีส่วนผสมของใยอาหาร วิตามิน เกลือแร่ หลายชนิด ที่จะช่วยเผาผลาญ 
แป้ง น้ำตาลและไขมัน ที่มากับอาหาร ถ้าเผาผลาญหมดเราก็ไม่อ้วนขึ้น
เนเจอร์กิฟ นอกจากจะช่วยบำรุงสุขภาพแล้ว ยังช่วยให้มีรูปร่างกระชับขึ้น ความอ้วนลดลง 
ซึ่งจะเห็นผลช้าหรือเร็วต่างกัน ขึ้นอยู่กับระบบการดูดซึมและระบบการเผาผลาญอาหารของ
แต่ละคนซึ่งไม่เท่ากัน  เนเจอร์กิฟ มีกาแฟร้อน (สูตรดั้งเดิม) , กาแฟเอ็กซ์ตร้า (รสเข้มข้น 
ดื่มได้ทั้งร้อนหรือทำเป็นกาแฟเย็น) , กาแฟคอลลาเจนมอคค่า , โกโก้ (หอมอร่อย 
เหมาะสำหรับ ทุกเพศ ทุกวัย)ที่
                      ที่มา : https://www.coffee.brandjira.com

         จากสรรพคุณของกาแฟลดความอ้วน จะเห็นว่า น่าซื้อ  น่าลอง ดูแล้วมีแต่ประโยชน์
มีทั้งใยอาหาร วิตามิน เกลือแร่ หลายชนิด ที่จะช่วยเผาผลาญ แป้ง น้ำตาลและไขมัน ที่มากับ
         การพยายามที่จะเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติค่านิยมและการกระทำของบุคคลอื่น เป็นการ
โน้มน้าวใจ  การพูดสรรพคุณของสินค้าดังกล่าว เป็นการกระตุ้นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
ผู้ฟังและผู้อ่านต้องใช้วิจารณญาณ

                                          วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การใช้ภาษา โน้มน้าวจิตใจ ใช้ภาษาโน้มน้าวได้....มัดใจคนทั้งเมือง
                                        ภาพจาก : https://www.hilunch.com

 

ประเด็นการศึกษา  การใช้ภาษาแสดงออกทางความคิด เรื่องการโน้มน้าวใจ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖


 การโน้มน้าวใจ 
       การโน้มน้าวใจ คือ การใช้ความพยายามที่จะเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติค่านิยม
และการกระทำของบุคคลอื่น ด้วยกลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลกระทบใจบุคคลนั้น 
จนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจต้องการ  
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์กับการโน้มน้าวใจ 
       ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เป็นแรงผลักดันให้มนุษย์สร้างทัศนคติ
ความเชื่อค่านิยม รวมทั้งกระทำพฤติกรรมอื่นๆ อีกนานัปการเพื่อสนองความต้องการ
ของตน เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ถูกเร้าจนกระจักษ์ว่าถ้าตนได้ปรับเปลี่ยนความคิดและ
การกระทำไปตามแนวทางที่ถูกรบเร้านั้นแล้ว ตนก็จะได้รับสิ่งซึ่งสนองความต้องการ
ขั้นพื้นฐาน ตามความปรารถนา เมื่อนั้นมนุษย์ก็จะตกอยู่ในสภาวะที่ถูกโน้มน้าวใจได้     

    หลักสำคัญที่สุดของการโน้มน้าวใจ  คือ  การทำให้มนุษย์ประจักษ์แก่ใจตนเองว่า 
ถ้าเชื่อเห็นคุณค่าหรือกระทำตามที่ผู้โน้มน้าวใจชี้แจงหรือชักนำ ก็จะได้รับผลที่
ตอบสนองความต้องการขึ้นพื้นฐานของตน  
การแสดงให้ประจักษ์ถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจ 
         ๑. การแสดงให้ประจักษ์ถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจโดยธรรมดา
บุคคลที่มีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ มีความรู้จริง มีคุณธรรม และมีความปรารถนาดี
ต่อผู้อื่น ย่อมได้รับความเชื่อถือจากบุคคลทั่วไป 
         ๒. การแสดงให้ประจักษ์ ตามกระบวนการของเหตุผลผู้โน้มน้าวใจต้องแสดงให้
ประจักษ์ว่า เรื่องที่ตนกำลังโน้มน้าวใจมีเหตุผลหนักแน่น และมีคุณค่าควรแก่การ
ยอมรับอย่างแท้จริง 
         ๓. การแสดงให้ประจักษ์ถึงความรู้สึก และอารมณ์ร่วมบุคคลที่มีอารมณ์ร่วมทัน
ย่อมคล้อยตามทันได้ง่ายกว่าบุคคลที่มีความรู้สึกปฏิปักษ์ต่อกัน 
เมื่อใดที่ผู้โน้มน้าวใจค้นพบ และแสดงอารมณ์ร่วมออกมา การโน้มน้าวใจ
ก็จะสัมฤทธิ์ผล 
         ๔. การแสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสียผู้โน้มน้าวใจต้องโน้มน้าว
ผู้รับสารให้เชื่อถือ หรือปฏิบัติเฉพาะทางที่ตนต้องการ โดยชี้ให้ว่าสิ่งนั้น
มีด้านที่เป็นโทษอย่างไร ด้านที่เป็นคุณอย่างไร 
          ๕. การสร้างความหรรษาแก่ผู้รับสารการเปลี่ยนบรรยากาศ ให้ผ่อนคลาย
ด้วยอารมณ์ขัน จะทำให้ผู้รับสารเปลี่ยนสภาพจากการต่อต้านมาเป็นความรู้สึก
กลางๆ พร้อมที่จะคล้อยตามได้ 
        ๖. การเร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า เมื่อมนุษย์เกิดอารมณ์ขึ้นอย่างแรงกล้า 
ไม่ว่าดีใจ เสียใจ โกรธแค้น อารมณ์เหล่านี้ มักจะทำให้มนุษย์ไม่ใช่เหตุผล
อย่างถี่ถ้วน พิจารณาถึงความถูกต้องเหมาะควร เมื่อมีการตัดสินใจ ก็อาจจะ
คล้อยไปตามที่ผู้โน้มน้าวใจเสมอแนะได้ง่าย 
 
น้ำเสียงของภาษาที่โน้มน้าวใจ 
       ควรใช้ภาษาในเชิงเสนอแนะ ขอร้อง วิงวอน หรือเร้าใจซึ่งในการใช้ถ้อยคำ
ให้เกิดน้ำเสียงดังกล่าว จะต้องเลือกใช้คำที่สื่อความหมายตามที่ต้องการ 
โดยคำนึงถึงจังหวะและความนุ่นนวลในน้ำเสียง 
การพิจารณาสารโน้มน้าวใจลักษณะต่างๆ 
          ๑.  คำเชิญชวน เป็นการแนะให้ช่วยกันกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง กลวิธีคือ 
การชี้ให้เห็นผู้ถูกโน้มน้าวใจเกิดความภาคภูมิใจว่า ถ้าปฏิบัติตามคำเชิญชวน
จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม

        ๒. โฆษณาสินค้าหรือโฆษณาบริการ ลักษณะสำคัญของโฆษณาสินค้าคือ
               ๒.๑จะมีส่วนนำที่สะดุดหูสะดุดตาซึ่งมีผลทำให้สะดุดใจสาธารณชน
               ๒.๒ ตัวสารจะไม่ใช่ถ้อยคำที่ยืดยาว มักเป็นรูปประโยคสั้นๆ หรือวลีสั้นๆ
               ๒.๓ เนื้อหาจะชี้ให้เห็นถึงความดีของสินค้า
               ๒.๔ ผู้โฆษณาจะโน้มน้าวใจที่มุ่งสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
               ๒.๕ เนื้อหาของการโฆษณา จะขาดเหตุผลที่หนักแน่นและรัดกุม
               ๒.๖ สารโฆษณาจะปรากฎทางสื่อต่างๆ ซ้ำๆ กัน 
 
        ๓. โฆษณาชวนเชื่อ เป็นการพยายามโดยจงใจเจตนา ที่จะเปลี่ยนความเชื่อ
และการกระทำของบุคคล ให้เป็นไปในทางที่ตนต้องการ ด้วยวิธีต่างๆ 
โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องของเหตุผลและข้อเท็จจริง ผู้โฆษณามีเป้าหมาย
ที่จะเปลี่ยนความเชื่อและอุดมการณ์ของคน ให้นิยมเลื่อมใสในอุดมการณ์
ฝ่ายตน และกระทำพฤติกรรมต่างๆ ตามที่ฝ่ายโฆษณาชวนเชื่อต้องการ  
 
กลวิธีในการโฆษณาชวนเชื่อ
       ๑. การตราชื่อ เป็นการเบนความสนใจและผู้รับสารไปจากเหตุผลและข้อเท็จจริง 
ผู้รับสารควรพิจารณาหลักการและเนื้อหาต่างๆ ให้รอบคอบเสียก่อน 
โดยไม่ใช้ความคิดหรือเหตุผลตรวจสอบ 
      ๒. การกล่าวสรุปรวมๆ ด้วยถ้อยคำหรูหรา ผู้โน้มน้าวใจมักจะใช้ถ้อยคำที่ผูกพัน
ความคิด หลักการ บุคคล สถาบันและอุดมการณ์ ทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ 
เลื่อมใสด้วยความคิด บุคคลและสถาบัน  
      ๓. การอ้างบุคคลหรือสถาบัน ผู้โฆษณาจะเน้นการใช้วิธีอ้างถึงสถาบันหรือบุคคล
ที่ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดทัศนคติที่ดี หรือเกิดความนิยมชมชอบนโยบาย 
หลักการหรืออุดมการณ์ของตน 
      ๔. การทำเหมือนชาวบ้านธรรมดา ผู้โฆษณาจะเชื่อมโยงตนเองและหลักการ
หรือความคิดของตน ให้เข้าไปผูกพันกับชาวบ้านเพื่อแสดงตนว่า 
ตนเป็นพวกเดียวกับชนเหล่านั้น 
      ๕. การกล่าวแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน ผู้โฆษณาจะเลือกนำแต่เฉพาะแง่
ที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตนมากล่าวโดยพยายามกลบเกลื่อนแง่อื่นที่เป็นโทษ 
      ๖. การอ้างคนส่วนใหญ่ ผู้โฆษณาชวนเชื่อพยายามชักจูงให้ผู้รับสาร
เกิดความตระหนักว่าคนส่วนใหญ่ประพฤติปฏิบัติเช่นนี้  
       การโน้มน้าวใจจะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ ก็ต่อเมื่อ ผู้โน้มน้าวใจมีเจตนา
ที่ลวง กลบเกลื่อน หรือปิดบังไม่ให้ผู้รับการได้รับรู้ความจริงและเหตุผล
ที่จะเป็นต้องรู้ 


ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
       ๑. การใช้ภาษาโน้มน้าวใจ  เป็นผลดี และผลเสียอย่างไรบ้าง ยกตัวอย่าง
ประกอบให้ชัดเจน
       ๒. กำหนดให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม พูดโน้มใจให้เพื่อนๆ ในห้องตระหนักถึง
วัฒนธรรมการไหว้...และโน้มน้าวใจให้ทุกคนอยากที่จะปฏิบัติตามการโน้มน้าวใจ

  
กิจกรรมเสนอแนะ
       ๑. ประกวดคำขวัญเพื่อโน้มน้าวใจให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการศึกษา
หรือการอ่าน หรือประเด็นอื่นๆ ที่ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนด
 
  
คุณลักษณะที่ปลูกฝัง
       ๑. ใฝ่เรียนรู้
       ๒. รักความเป็นไทย

กิจกรรมบูรณาการ   
     
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  เรื่อง การพูด   
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ เรื่อง คุณธรรมของการพูดและเขียน
     
      

ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล  แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล  คู่มือการสอนภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
ขอบคุณ : https://www.nawama.ac.th

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3189

อัพเดทล่าสุด