วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา การแสดงเหตุผล ผู้มีปัญญา มักใช้ภาษาแสดงเหตุผล


2,424 ผู้ชม



คนที่่มีไหวพริบดีในการใช้ภาษา และแก้ปัญหาเก่ง จึงจะเป็นนักเจรจาที่ดี   

ผู้มีปัญญา มักใช้ภาษาแสดงเหตุผล


                      วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา การแสดงเหตุผล ผู้มีปัญญา มักใช้ภาษาแสดงเหตุผล
                                          ขอบคุณภาพจาก : https://media.thaigov.go.th

                                                

  ส่งสัญญาณ 
   
       เท่าที่ศึกษาประวัติศาสตร์ของการทำสงครามในอดีต มักจบลงหรือยุติลง
ด้วยเหตุผล ๒ ประการคือ  ยุติเพราะฝ่ายหนึ่งสามารถฆ่าฟันอีกฝ่ายหนึ่ง จนไม่เหลือสภาพ
เป็นกองทัพ หากยังคิดสู้ต่อก็จะพากันตายทั้งหมด   
      หรืออีกสาเหตุหนึ่ง ยุติเพราะมีการเจรจาสงบศึก ที่สมัย นี้ใช้คำว่า ปรองดอง z
เพื่อให้ฟังดูดี  

       ปัญหามีอยู่ว่า ความปรองดองจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่..??
    
       เพราะในบางครั้งนักการเมือง พร่ำพูดเรื่องความปรองดองก็หวังสร้างภาพเพื่อแย่งชิง
มวลชน มากกว่ายุติการต่อสู้จริง ๆ

           ขอบคุณข่าวจาก : เดลินิวส์ออนไลน์   วันศุกร์ ที่ ๑๐ กันยายน  ๒๕๕๓ เวลา ๙:๒๕ น.

         จากข่าวข้างต้นจะเห็นวิธีการเขียน เป็นการใช้ภาษาแสดงออกทางความคิดซึ่งเป็นลักษณะของการใช้ภาษาแสดงเหตุผล  สังเกตได้จากการใช้สันธานเพราะ  ซึ่งเป็นการ 
เรียงเหตุผลไว้ก่อนสรุป 
         การใช้ภาษาแสดงเหตุผล สะท้อนให้เห็นว่าผู้พูดหรือผู้เขียนเป็นผู้มีความคิด มีภูมิรู้  
จนสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือแสดงออกทางความคิดได้อย่างหลักแหลม  ชาญฉลาด  
เป็นลักษณะอันพึงประสงค์ของเยาวชนไทย  ซึ่งจะนำสู่สังคมที่สันติแบบประชาธิปไตย


                   วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา การแสดงเหตุผล ผู้มีปัญญา มักใช้ภาษาแสดงเหตุผล
                                    ขอบคุณภาพจาก : https://www.vcharkarn.com

 

ประเด็นการศึกษา  เรื่อง   การใช้ภาษาแสดงเหตุผล

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖

การใช้ภาษาแสดงออกทางความคิด

     มนุษย์สามารถใช้ภาษาแสดงออกทางความคิดของตนได้ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ คือ 
          ๑.ใช้ภาษาแสดงเหตุผล
          ๒.ใช้ภาษาแสดงทรรศนะ
          ๓.ใช้ภาษาในการโต้แย้ง
          ๔.ใช้ภาษาในการโน้มน้าวใจ 

การใช้ภาษาแสดงเหตุผล  
     เหตุผล หมายถึง ความคิดอันเป็นหลักทั่วไป  กฎเกณฑ์ รวมทั้งข้อเท็จจริง 
ที่สนับสนุนข้อสรุป   ข้อวินิจฉัย ข้อตัดสินใจ หรือข้อยุติ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 
เนื่องจากเราใช้ เหตุผล ในการสนับสนุนข้อสรุป   
      เราอาจจะเรียก เหตุผล ว่าข้อสนับสนุนก็ได้ และข้อสรุป เป็นคำกลางๆ  เป็นศัพท์เฉพาะ 
ที่เกี่ยวกับการแสดงเหตุผล ในภาษาที่ใช้กันอยู่ตามปกตินั้น  อาจเรียกว่า ข้อสังเกต,การคาดคะเน, คำวิงวอน, ข้อคิด, หรือการตัดสินใจ ก็ได้

                               วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา การแสดงเหตุผล ผู้มีปัญญา มักใช้ภาษาแสดงเหตุผล

                                  ขอบคุณภาพจาก : https://blog.spu.ac.th

    โครงสร้างของการแสดงเหตุผลและภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผล 
     ๑. โครงสร้างของการแสดงเหตุผล ประกอบด้วย
            - ตัวเหตุผล หรือเรียกว่า ข้อสนับสนุน
            - ข้อสรุป

     ๒. ภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผล มี ๔ ลักษณะดังต่อไปนี้

           ๒.๑ใช้สันธานที่จำเป็นบางคำ มักเรียงเหตุผลไว้ก่อนสรุป โดยใช้สันธาน  จึง, เพราะ,
 เพราะว่า, เพราะฉะนั้น, เพราะ……จึง,  
          หรืออาจเรียงข้อสรุปไว้ก่อนเหตุผล โดยใช้คำสันธาน เพราะ เพราะว่า ทั้งนี้เพราะว่า ก็ได้

           ๒.๒ ไม่ใช้สันธาน แต่เรียบเรียงข้อความโดยวางส่วนที่เป็นเหตุผล หรือส่วนที่เป็น
ข้อสรุปไว้ให้เหมาะสม  ผู้ฟังก็จะรับสารได้ว่า ข้อความนั้นเป็นการแสดง เหตุผล อยู่ในตัว
เช่น ฉันจะไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใด ๆ เป็นอันขาด ฉันได้รับการสั่งสอนจากคุณแม่ให้สู้เสมอ 
      จะเห็นว่า วรรคแรก เป็นข้อสรุป  "ฉันจะไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใด ๆ เป็นอันขาด"
         วรรคที่สอง เป็นเหตุผลที่สนับสนุนข้อสรุป   "ฉันได้รับการสั่งสอนจากคุณแม่ให้สู้เสมอ"

           ๒.๓ ใช้กลุ่มคำเรียงกันบ่งชี้ว่า ตอนใดเป็นเหตุผล หรือข้อสรุป เมื่อต้องการชี้เหตุผล
และข้อสรุป ให้ชัดแจ้งลงไป ก็ระบุไปว่า ข้อสรุป  ข้อสรุปว่า   เหตุผลคือ   เหตุผลที่สำคัญคือ

           ๒.๔ ใช้เหตุผลหลาย ๆ ประกอบกันเข้า เพื่อเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่ข้อสรุปของตน
โดยแยกแยะเหตุผลเป็นข้อ ๆ ไป เพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น
                    วิชาภาษาไทย ภาษาไทย หลักการใช้ภาษา การแสดงเหตุผล ผู้มีปัญญา มักใช้ภาษาแสดงเหตุผล
                                      ขอบคุณภาพจาก : https://img.youtube.com
  
กระบวนการแสดงเหตุผลและการอนุมาน 
     การอนุมาน หมายถึงกระบวนการคิดในการหาข้อสรุปจากเหตุผลที่มีอยู่
การอนุมานมี ๒ ประเภท คือ 
           การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย และ
           การอนุมานด้วยวิธีอุปนัย

การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย
     การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย คือ การแสดงเหตุผลจากส่วนรวม ไปหาส่วนย่อยหรือ
การอนุมาน จากหลักความจริงทั่วไปกับกรณีเฉพาะกรณีหนึ่ง แล้วอนุมาน ได้ข้อสรุป 
ซึ่งเป็นกรณีเฉพาะอีกกรณีหนึ่ง เช่น 
          หลักความจริงทั่วไป - มนุษย์ทั้งปวงต้องการปัจจัยสี่ 
          กรณีเฉพาะกรณีหนึ่ง - ฉันเป็นมนุษย์ 
          กรณีเฉพาะอีกกรณีหนึ่ง - เพราะฉะนั้นฉันต้องการปัจจัยสี่

       หรืออาจจะใช้วิธีนิรนัยอย่างย่อเป็น  ฉันเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้น ฉันต้องการปัจจัยสี่ 
       หรือจะใช้ข้อมูล หรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เป็นกรณีเฉพาะกี่กรณี ก็ได้ เป็นข้อสนับสนุน
 เพื่อหาข้อสรุปที่เป็นหลักหรือกฎเกณฑ์ทั่วไป 
       วิธีอุปนัยนี้อาจจะใช้แนวเทียบในการหาข้อสรุปก็ได้  
        ข้อควรสังเกต ข้อสรุปด้วยวิธีนิรนัย ต้องเป็นเช่นนั้น ,
        ข้อสรุปด้วยวิธีอุปนัย น่าจะเป็นเช่นนั้น

ความหมายของคำ เหตุ และ ผล 
    เหตุ หรือ สาเหตุ หรือมูลเหตุ คือ สิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งอื่นตามมา
    ผล หรือ ผลลัพธ์ คือ สิ่งที่เกิดตามมาจากเหตุ

     การอนุมานโดยพิจารณา สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน การอนุมานด้วยวิธีนี้คือ 
การอนุมานแบบวิธีอุปนัยนั่นเอง แบ่งได้ ๓ ประเภทด้วยกันคือ
      ๑. การอนุมานจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์ เป็นการอนุมานโดยอาศัยความรู้   
ความเข้าใจหาข้อสรุปว่าปรากฏการณ์นั้นทำให้เกิดผลลัพธ์อะไร เช่น 
    ขยันดูหนังสือ (สาเหตุ) -> อนุมาน -> สอบได้ (ผลลัพธ์)

     ๒. การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ เป็นการอนุมานจากปรากฎการณ์หรือเหตุการณ์
 โดยอาศัยความรู้และเข้าใจของเรา เพื่อสืบหาสาเหตุ เช่น 
          ผลการสอบ ไม่เป็นที่พอใจ -> อนุมาน -> ความไม่ประมาท ไม่เอาใจใส่

    ๓. การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาผลลัพธ์ เป็นการอนุมานจากปรากฎการณ์หรือ
เหตุการณ์อย่างหนึ่ง          ว่าเป็นผลลัพธ์ของสาเหตุใด แล้วพิจารณาต่อไปว่า 
สาเหตุนั้น อาจจะก่อให้เกิดผลลัพธ์อื่นๆ อีก  ตัวอย่างอนุมาน
เช่น ตกคณิต (ผลลัพธ์) -> อ่อนคณิต (สาเหตุ) -> ตกฟิสิกส์ (ผลลัพธ์)

     การรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลนี้ ช่วยให้รู้จักพิจารณาสังเกตและทำสิ่งต่าง ๆ
 ได้อย่างมีระเบียบ

 

   ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
       ๑. การรู้จักใช้ภาษาในการแสดงออกทางความคิดมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างไร
       ๒. ให้เขียนข้อความที่แสดงเหตุผล  ทั้ง  ๔  ลักษณะ พร้อมอธิบายโครงสร้างหรือ
ลักษณะของการอธิบายเหตุผลของข้อความที่เขียน

  
กิจกรรมเสนอแนะ
       ๑. จัดกิจกรรมโต้วาที โดยให้นักเรียนช่วยกันเสนอญัตติที่น่าสนใจเพื่อฝึกการใช้ภาษา
ที่แสดงเหตุผล
  
คุณลักษณะที่ปลูกฝัง
       ๑. ใฝ่เรียนรู้
       ๒. รักความเป็นไทย

กิจกรรมบูรณาการ   
     
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  เรื่อง การพูด   
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ เรื่อง คุณธรรมของการพูดและเขียน
     
      

ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล  แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล  คู่มือการสอนภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3152

อัพเดทล่าสุด