วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ปากกาหัวใจ จารึกครูไว้บูชา


1,149 ผู้ชม


คุณค่าของครูอยู่ที่ความตระหนักรู้ของลูกศิษย์   


ปากกาหัวใจ  จารึกครูไว้บูชา

                  วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ปากกาหัวใจ จารึกครูไว้บูชา

                      ภาพไหว้ครู : https://www.osknetwork.com
                           วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ปากกาหัวใจ จารึกครูไว้บูชา

                                  ภาพจาก : https://www.google.co.th

บทเพลง  ครูในดวงใจ

                 ปา เจ รา จริยา โหนติ   คุนุตรา นุสา สกา

       ปากกาหัวใจ เขียนชื่อครูไว้บูชา      จารึกพระคุณสูงค่า ผู้นำวิชามาให้
เป็นศิษย์มีครู จึงยืนสู้อย่างผู้มีชัย    คุณครูชี้นำทางใจ จึงทำให้ศิษย์มีวันนี้
ภาพครูแสนดี ยังติดตรึงที่ดวงใจ     เป็นคนผู้มีแต่ให้ มีใจสู้งานเต็มที่
รักศิษย์ทุกคน ไม่เคยบ่นจนหรือมั่งมี  จับชอล์คเขียนคุณความดี จับมือชี้คุณธรรม
      ครูทำงานหนัก แต่ก็รักศักดิ์ศรี     พอใจสิ่งที่ตนมี เป็นพิมพ์ดีให้ลูกศิษย์จำ
ทุกเส้นทางสู้ ศิษย์ยึดครูนั้นเป็นผู้นำ   คำสอนทุกอย่างจดจำ ทุกการกระทำเรียนรู้
ปากกาหัวใจ เขียนชื่อครูไว้บูชา         บันทึกความดีสูงค่า นำมาเป็นแนวทางสู้
สังคมวุ่นวาย ขอส่งใจมายืนข้างครู      ครูยัง สังคมจึงอยู่ ศิษย์เชิดชู ครูในดวงใจ
      ปากกาหัวใจ เขียนชื่อครูไว้บูชา    บันทึกความดีสูงค่า มาเป็นแนวทางสู้ 
สังคมวุ่นวาย ขอส่งใจมายืนข้างครู      ครูยัง สังคมจึงอยู่ศิษย์เชิดชู ครูในดวง

                              ที่มา : https://www.songontour.com

    จากบทเพลงครูในดวงใจ  เกิดจากความซาบซึ้ง  ความรัก ความผูกพันธ์
ที่ศิษย์มีต่อครู    คุณค่าของครูอยู่ที่ความตระหนักรู้ของลูกศิษย์   ลูกศิษย์ดี
ก็สะท้อนตัวครู   ตามประเพณีไทย เมื่อจะเริ่มเรียนก็มีการไหว้ครูเพื่อให้
ประสบความสำเร็จ   จึงมีบทไหว้ครู, บทนมัสการอาจริยคุณ  และบทเพลง
อีกหลากหลายบทเพลงที่สะท้อนความกตัญญูของศิษย์

                               วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ปากกาหัวใจ จารึกครูไว้บูชา
                                                   ภาพจาก : https://www.oknation.net/blog/home


ประเด็นการศึกษา     บทนมัสการอาจริยคุณ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

บทท่องจำหลัก  เรื่องนมัสการอาจริยคุณ

ผู้แต่ง  พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร)

ที่มาของเรื่อง  เป็นบทประพันธ์รวมพิมพ์ในภาคเบ็ดเตล็ด หนังสือชุด ภาษาไทย เล่ม๒
           ของพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย  อาจารยางกูร)

ฉันทลักษณ์  พระยาศริสุนทรโวหารเรียกฉันท์นี้ว่า “อินทะวะชิระฉันท์” 
     แต่โดยทั่วไปเรียกว่า อินทรวิเชียรฉันท์

คุณค่า เป็นบทกล่าวสรรเสริญพระคุณของครูอาจารย์  ผู้เปี่ยมด้วยเมตตา กรุณา 
       ทำหน้าที่สั่งสอนให้ความรู้ในสรรพวิชา  อบรมศีลธรรม จริยธรรมให้เข้าใจ
       ในบาปบุญคุณโทษ  ผู้แต่งใช้ถ้อยคำสื่อความหมายได้ชัดเจน
                   วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ปากกาหัวใจ จารึกครูไว้บูชา
                              ภาพจาก : https://gotoknow.org/file

                                    นมัสการอาจริยคุณ

        อนึ่งข้าคำนับน้อม              ต่อพระครูผู้การุญ
   โอบเอื้อและเจือจุน                 อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
        ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ         ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
 ชี้แจงและแบ่งปัน                      ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน
       จิตมากด้วยเมตตา              และกรุณา บ เอียงเอน
 เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์         ให้ฉลาดและแหลมคม
        ขจัดเขลาบรรเทาโม-          หะจิตมืดที่งุนงม
 กังขา ณ อารมณ์                      ก็สว่างกระจ่างใจ
        คุณส่วนนี้ควรนับ               ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
 ควรนึกและตรึกใน                    จิตน้อมนิยมชม

ดอกไม้วันไหว้ครู

                         วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ปากกาหัวใจ จารึกครูไว้บูชา

                                  ภาพสวยจาก : https://www.google.co.th

        หญ้าแพรก เป็นหญ้าที่เจริญงอกงาม แพร่กระจายพันธ์ ไปได้อย่างรวดเร็วมาก
หญ้าแพรกดอกมะเขือจึงมีความหมายซ่อนเร้นอยู่ คนโบราณจึงถือเอาเป็นเคล็ดว่า 
ถ้าใช้หญ้าแพรกดอกมะเขือไหว้ครูแล้ว สติปัญญาของเด็กจะเจริญงอกงามเหมือน
หญ้าแพรกและ ดอกมะเขือนั่นเอง
                           วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ปากกาหัวใจ จารึกครูไว้บูชา
                              ภาพสวยจาก : https://www.google.co.th

          ดอกเข็ม เพราะดอกเข็มนั้นมีปลายแหลม สติปัญญาจะได้แหลมคมเหมือน
ดอกเข็ม และก็อาจเป็นได้ว่า เกสรดอกเข็มมีรสหวาน การใช้ดอกเข็มไหว้ครู 
วิชาความรู้จะให้ประโยชน์กับชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสดชื่นเหมือนรสหวานของดอกเข็ม
                      วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน ปากกาหัวใจ จารึกครูไว้บูชา
                                  ภาพสวยจาก : https://gotoknow.org/file

          ข้าวตอก  เป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย แม้ว่าโดยธรรมชาติแล้วคนเรา
มักจะมีความซุกซน ความเกียจคร้าน เป็นสมบัติมากบ้าง น้อยบ้างก็ตาม 
ตาเมื่อเขามีความต้องการศึกษาหาความรู้ เขาก็ต้องรู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบ 
ในระเบียบหรือในกฎเกณฑ์ที่สถาบันได้กำหนดไว้ ใครก็ตามหากตามใจตนเอง 
ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ บุคคลนั้นก็จะเป็นเหมือนข้าวเปลือกที่ถูกคั่ว แต่ไม่มีโอกาส
ได้เป็นข้าวตอก

บทสรุป   
      ปากกา...ที่จากรึกพระคุณของครูเปรียบเหมือนปากกาหัวใจ  บันทึกสิ่งที่งดงาม
ระหว่างศิษย์กับครู    มีคนเปรียบครูว่าเป็นเรือจ้าง   แต่ครูทุกคนก็ยิ้มรับกับฐานะเรือจ้าง
เมื่อศิษย์ถึงฝั่งแล้ว  ปลอดภัย สง่างามในสังคม ครูก็ชื่นใจ   
      และยิ่งกว่าสิ่งใด เมื่อศิษย์ได้ดีแล้วบอกว่า  นี่คือครูของฉัน   เพียงเท่านี้  ก็สุขใจ 
อิ่มใจ กว่าอาหารทิพย์ทั้งสามโลก


ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
       ๑. เหตุใดสังคมไทยจึงต้องมีการไหว้ครู  และต้องเตรียมดอกไม้ธูปเทียน   
       ๒. นอกจากนักเรียนที่ต้องไหว้ครูแล้ว  นักเรี่ยนเห็นว่าอาชีพใด วงการใด
มีการไหว้ครูอีก  จงอธิบาย

กิจกรรมเสนอแนะ
       ๑. ให้นักเรียนเขียนเรียงความเชิงวิเคราะห์  เรื่อง  "ครูในดวงใจ"
       ๒. ประกวดการพูดยอวาที  เรื่องพระคุณครู 
  
คุณลักษณะที่ปลูกฝัง
       ๑. ใฝ่เรียนรู้
       ๒. รักความเป็นไทย

กิจกรรมบูรณาการ   
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ วิชาพระพุทธศาสนา การสวดสรภัญญะฃ
บทไหว้ครู
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  คำศัพท์เกี่ยวกับการไหว้ครู
        กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาเคมี เรื่องปฏิกิริยาความผูกพันระหว่าง
ศิษย์กับครู
        กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวนศิษย์ที่เพิ่มขึ้นต่ออายุราชการที่ลดลง


 ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล   แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ท๓๑๑๐๑  ชั้น ม.๔
              ที่มา:  เพลินพิศ   สุพพัตกุล   คู่มือการสอนวิชาภาษาไทย ท๓๑๑๐๑  ชั้น ม.๔

       ดอกมะเขือ เป็นดอกที่โน้มต่ำลงมาเสมอ ไม่ได้เป็นดอกที่ชูขึ้น คนโบราณจึง
กำหนดให้เป็นดอกไม้สำหรับไหว้ครู ไม่ว่าจะเป็นครูดนตรี ครูมวย ครูสอนหนังสือ 
ก็ให้ใช้ดอกมะเขือนี้ เพื่อศิษย์จะได้อ่อนน้อมถ่อมตนพร้อมที่จะเรียนวิชาความรู้ต่างๆ 
นอกจากนี้มะเขือยังมีเมล็ดมาก ไปงอกงามได้ง่ายในทุกที่ เช่นเดียวกับหญ้าแพรก
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2690

อัพเดทล่าสุด