วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การใช้ภาษา สง่างามและดูเท่ สร้างเสน่ห์จากการพูด


793 ผู้ชม


เรียนรู้จากห้องเรียน และดูตัวอย่างที่ดี ศึกษาแบบอย่างที่สนใจแล้วฝึกอย่างสม่ำเสมอ   

                    สง่างามและดูเท่  สร้างเสน่ห์จากการพูด

    ฟื้นสัมพันธ์ซาอุดีอาระเบีย

                                         วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การพูด การใช้ภาษา สง่างามและดูเท่ สร้างเสน่ห์จากการพูด

                                          ภาพจาก : https://www.tnews.co.th/html/picture


    นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า เตรียมเดินทางไปฟื้นฟู
ความสัมพันธ์  ทางเศรษฐกิจและการค้ากับซาอุดีอาระเบีย ในวันที่  ๑-๔ มี.ค.นี้ 
โดยจะพบกับรัฐมนตรีการค้า หอการค้าและกลุ่มธุรกิจเอกชน ผลักดันการส่งออก
สินค้าไทยเพิ่มโดยเฉพาะสินค้าอาหาร ข้าว และอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งจะเชิญชวน
นักลงทุนจากซาอุฯ เข้ามาลงทุนในเมืองไทยในพื้นที่ภาคใต้

          ที่มา  : เดลินิวส์ออนไลน์   วันพฤหัสบดี ที่  ๑๘ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๓ เวลา ๗:๒๔ น
   
        นี่เป็นตัวอย่างสำหรับผู้ที่มีทักษะการพูด  ซึ่งนอกจากจะสามารถสร้าง
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแล้ว  ยังเป็นผลดีต่อประเทศชาติ  
แต่ การที่จะพูดดี พูดได้ประทับใจผู้ฟัง  และพูดได้ไพเราะน่าฟัง  ต้องเรียนรู้และ
ฝึกทักษะ....  เรียนรู้จากห้องเรียน และดูตัวอย่างที่ดี   ศึกษาแบบอย่างที่สนใจ
แล้วฝึกอย่างสม่ำเสมอ  .ใครเห็นหน้าก็นึกเสียงอันไพเราะ ท่าทีที่สง่างาม  การพูดจึง
สร้างสามารถสร้างเสน่ห์ได้

เรื่อง  การพูดให้สัมฤทธิ์ผล
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ 
พูดให้สัมฤทธิ์ผล 
        ความหมายของการพูดให้สัมฤทธิ์ผล 
        พูดให้สัมฤทธิ์ผล  หมายถึง  พูดให้สำเร็จตามจุดมุ่งหมายต่างๆ 
เช่นพูดให้มีกำลังใจ  บอกให้ทราบ  ชี้แจงให้เข้าใจ  ชักชวนให้ทำตาม  
แนะนำให้เชื่อฟัง  ซักถามให้ได้คำตอบ  เชื่อว่าทุกคนคงเคยพูดโดยมี
จุดมุ่งหมายเช่นที่กล่าวมาแล้ว  บางครั้งก็ได้ผลสมความมุ่งหมาย  
บางครั้งก็ไม่ได้ผลนัก  หรืออาจไม่ได้ผลเลยก็ได้  และก็คงไม่มีผู้ใด
ที่สามารถพูดได้สัมฤทธิ์ผลได้เสมอไปในทุกโอกาสที่พูด  
แม้จะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากก็ตาม


ข้อควรระลึกและควรปฏิบัติ

       ๑. ผู้ที่ฟังอยู่ในวัยเด็กต่างกัน  มีพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ต่างกัน  
ย่อมมีความสนใจและพร้อมที่จะฟังเรื่องราวต่างกัน    
        ดังนั้น เมื่อจะพูดควรเลือกเรื่อง และเตรียมประเด็นการพูด  ภาษาที่ใช้
ในการพูดให้เหมาะสมกับวัย  และประสบการณ์ของผู้ฟัง

       ๒.  ผู้ฟังมักพอใจและพร้อมที่จะฟังผู้พูดที่ให้เกียรติตน  ให้ความสำคัญแก่ตน
และให้ความเป็นกันเอง 
    การให้เกียรติผู้ฟัง  ทำได้โดยใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล  ท่าทีที่สุภาพ  ภาษาที่ไพเราะ
    การให้ความสำคัญแก่ผู้ฟัง ทำได้โดยการแสดงให้เห็นว่าผู้ฟังสำคัญแม้จะมีเสียง
โทรศัพท์  หรือแม้จะติดธุระอย่างไร แต่เมื่อรู้ว่าผู้ฟังเป็น... ถึงติดอย่างไรก็จะมา
(เพราะท่านคือคนสำคัญ)
     การให้ความเป็นกันเองแก่ผู้ฟัง 
คือการใช้สรรพนาม การกล่าวถึงแบบให้เกียรติ
หรือยกย่อง

       ๓. ผู้ฟังจะรับรู้ความหมายได้สมบูรณ์ก็ต่อเมื่อผู้พูดใช้ภาษาที่แจ่มแจ้ง  ชัดเจน  
ลำดับความเข้าใจง่าย
        ผู้พูดจึงควรเตรียมความพร้อมในการพูด  ฝึกพูด  ลำดับเรื่องให้ชัดเจน 
ถ้ามีข้อมูลมากอาจลำดับเป็นข้อๆ เพื่อให้ผู้ฟังจดจำได้ง่าย

       ๔.ผู้ฟังจะให้ความเชื่อถือและศรัทธาผู้พูดเมื่อเห็นว่าผู้พูดเป็นผู้รู้จริง  
ไว้ใจได้และมีเจตนาดี 
      ผู้พูดที่ดีจึงต้องสร้างความศรัทธา โดยศึกษาค้นคว้าหารายละเอียดเพิ่มเติม
ให้เพียงพอยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน และใกล้ตัว หรือเป็นตัวอย่างที่ผู้ฟังคุ้นเคย


ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
       ๑. ผู้ที่จะประสบความสำเร็จควรปฏิบัติอย่างไรบ้างเมื่อรู้ว่าจะต้องพูดนำเสนองาน
       ๒. การให้เกียรติผู้พูดทำได้อย่างไรบ้าง 


กิจกรรมเสนอแนะ
       จัดแข่งขันการเล่าเรื่อง  ประกวดผู้นำในการเล่นเกม
 
กิจกรรมบูรณาการ   
         กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ  เรื่อง การควบคุมสติเมื่อเกิดตื่นเต้น
         กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาเคมี เรื่อง ปฏิกิริยเคมีในร่างกายเมื่อเรา
อยู่ในภาวะที่ตื่นเต้น
 


ที่มา :  เพลินพิศ สุพพัตกุล แผนการจัดการเรียนรู้วิชา ท๓๑๑๐๑  ภาษาไทย ขั้น  ม.๔
          เพลินพิศ สุพพัตกุล หนังสืออ่านเพิ่มเติม วิชาภาษาไทย   ขั้น ม.๔
ที่มา  : https://www.damrong.ac.th/dstelecenter

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2019

อัพเดทล่าสุด