วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน การใช้ภาษา อนิจจลักษณะ(ไตรภูมิพระร่วง) ตอนที่ ๑


974 ผู้ชม


ไตรภูมิพระร่วง แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ความไม่แน่นอนทั้งมนุษย์และสัตว์รวมทั้งสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ความเปลี่ยนแปลงนี้กวีไทยเรียกว่า “ อนิจจลักษณะ   

         เมื่อวันที่ ๒๔ พ.ย. หลังจากได้รับแจ้งว่านายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งตับอยู่ที่ รพ.บำรุงราษฎร์ ได้ถึงแก่อนิจกรรมในช่วงเช้า ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่ รพ.บำรุงราษฎร์ ถนนสุขุมวิท พบว่าที่หน้าอาคารผู้ป่วยใน มีบรรดาสื่อมวลชนรอรายงานข่าวการเสียชีวิตของนายสมัครเป็นจำนวนมาก โดยนายเคารพ วงศ์ประเสริฐ ผู้จัดการอาวุโสแผนกสื่อสารและประชาสัมพันธ์ รพ.บำรุงราษฎร์ เปิดเผยว่า นายสมัครเสียชีวิตเมื่อเวลา ๐๘.๔๘ น. ที่ห้องไอซียู ๕ และทางญาติมีความประสงค์จะนำศพไปบำเพ็ญกุศลที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ข่าวจาก : https://th.88db.com/th

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน การใช้ภาษา อนิจจลักษณะ(ไตรภูมิพระร่วง) ตอนที่ ๑

ภาพจาก: https://talk.mthai.com

             จะเห็นว่าไม่ว่าใคร  หรือสรรพสิ่งใดๆในโลกนี้ล้วนไม่จีรังยั่งยืน  มีเกิดก็ต้องมีดับไปตามกาลเวลา  ในโอกาสนี้ก็อยากจะอโหสิกรรมให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุกท่าน  และขอมีความสุขในสัมปรายภพด้วย

            เมื่อพูดถึงเรื่องความไม่จีรัง  ยั่งยิน  ความไม่แน่นอน  ทำให้นึกถึงวรรณคดีไทยเรื่องหนึ่ง        ที่กล่าวถึงเรื่อง อนิจจลักษณะไว้อย่างน่าสนใจ  คือเรื่องไตรภูมิพระร่วง  ซึ่งเป็นเรื่องที่นักเรียนต้องเรียนรู้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๖  ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  

                ผู้แต่งคือ  พญาลิไทย หรือ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ซึ่งเป็นนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๕ แห่งราชวงศ์พระร่วง เมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๘  พญาลิไทย ทรงแต่งขึ้นเพื่อเทศนาแก่พระมารดาและสั่งสอนประชาชน
                  เนื้อหา   ไตรภูมิพระร่วง     แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง  ความไม่แน่นอนทั้งมนุษย์และสัตว์รวมทั้งสิ่งไม่มีชีวิต  เช่น  ภูเขา  แม่น้ำ  แผ่นดิน  ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  ความเปลี่ยนแปลงนี้กวีไทยเรียกว่า  “ อนิจจลักษณะ ” 
                   ไตรภูมิพระร่วง     เดิมเรียกว่า  ไตรภูมิกถา  / เตภูมิกถา  หมายถึงเรื่องราวของโลกทั้ง ๓ได้แก่
กามภูมิ  รูปภูมิ  อรูปภูมิ
                  กามภูมิ   คือ  โลกของผู้ที่ยังติดอยู่ในกามกิเลส  แบ่งออกเป็น  ๒  ฝ่าย  ได้แก่
                                   ๑.สุคติภูมิ  ๒. อบายภูมิ
                                   ๑.สุคติภูมิ   ได้แก่
                                        ๑.๑ มนุสสภูมิ  ( โลกมนุษย์ )
                                        ๑.๒ สวรรคภูมิ (ฉกามาพจรภูมิ)
                                            ๑.๒.๑ จาตุมหาราชิกา                   ๑.๒.๒ ดาวดึงส์
                                            ๑.๒.๓ ยามา                               ๑.๒.๔ ดุสิต
                                            ๑.๒.๕ นิมมานรดี                         ๑.๒.๖ ปรนิมมิตวสวัตดี
                                   ๒. อบายภูมิ  ได้แก่
                                           ๒.๑ นรกภูมิ  ( มี ๘  ขุม )             ๒.๒ ดิรัจฉานภูมิ
                                           ๒.๓ เปรตภูมิ     ๒.๔ อสูรกายภูมิ
                รูปภูมิ        เป็นดินแดนของพรหมที่มีรูป  มี   ๑๖  ชั้น  (โสฬสพรหม )  
                อรูปภูมิ    เป็นดินแดนของพรหมที่ไม่มีรูป  มีแต่จิตหรือวิญญาณ

                วันนี้เสนอไว้แค่นี้ก่อน  แล้วอ่านต่อตอนที่  ๒ คะ

            คำถาม

                ๑.     เนื้อหาในไตรภูมิพระร่วงเกี่ยวกับเรื่องใด
                         ก.       นรก  สวรรค์  บาดาล
                         ข.       กามภูมิ  สวรรค์  นรก
                         ค.       กามภูมิ  รูปภูมิ  อรูปภูมิ
                         ง.       ปฐมภูมิ  ทุติยภูมิ  ตติยภูมิ
                ๒.     ผู้แต่งคือใครและมีความสัมพันธ์กับพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอย่างไร
                         ก.       พระศรีสุนทรโวหาร- หลาน
                         ข.       พระศรีสุนทรโวหาร- เหลน
                         ค.       พญาลิไทย-หลาน
                         ง.       พญาลิไทย-เหลน
                 ๓.    ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณคดีสมัยใด
                        ก.       สุโขทัย
                        ข.       อยุธยาตอนต้น
                        ค.       อยุธยาตอนกลาง
                        ง.       อยุธยาตอนปลาย
                ๔.    เรื่องนี้แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด
                        ก.       ความเรียงร้อยแก้ว
                        ข.       ร่ายสุภาพ
                        ค.       กาพย์ยานี 11
                        ง.       กลอนสุภาพ

           กิจกรรมเสนอแนะ :  นักเรียนค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมเรื่องไตรภูมิพระร่วง

           แหล่งเรียนรู้

           https://th.88db.com/th

           https://www.thaisecondhand.com

           https://talk.mthai.com
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1803

อัพเดทล่าสุด