ความสำคัญวันลอยกระทง ภาพวันลอยกระทงแบบการ์ตูน บทความวันลอยกระทง


1,493 ผู้ชม


ความสำคัญวันลอยกระทง ภาพวันลอยกระทงแบบการ์ตูน บทความวันลอยกระทง

 

ความหมาย ความเป็นมาและคุณค่า
ความสำคัญวันลอยกระทง ภาพวันลอยกระทงแบบการ์ตูน บทความวันลอยกระทง วันลอยกระทง            หมายถึง ชื่อพิธีอย่างหนึ่งทำตรงกับคืนวันเพ็ญเดือน ๑๒ จุดธูปเทียนปักบนสิ่งที่ไม่จมน้ำ ประดิษฐ์เป็นรูปต่าง ๆ เช่น กระทงเรือ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปปล่อยลงให้ลอยไปตามลำน้ำ
ความสำคัญวันลอยกระทง ภาพวันลอยกระทงแบบการ์ตูน บทความวันลอยกระทง
ความเป็นมา

           ประเพณี ลอยกระทง เป็นประเพณีที่สำคัญ สืบทอดกันมาแต่โบราณ นิยมทำกันในกลางเดือน ๑๒ โดยมีวัตถุประสงค์หลากหลาย ขึ้นอยู่กับประเพณีความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งได้แก่การ ลอยกระทง เพื่อ
           ๑. บูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
           ๒. บูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายฝั่งแม่น้ำนัมมทา
           ๓. บูชาเทพเจ้าตามความเชื่อตน
           ๔. ขอบคุณน้ำที่อำนวยประโยชน์ต่าง แก่มนุษย์
           ๕. ขอขมาน้ำที่มนุษย์ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำ
           ๖. เป็นการลอยส่งของแก่ญาติที่อยู่ห่างไกล
           ๗. เป็นการระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
           ๘. ลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์
           ๙. อธิษฐานของสิ่งที่ตนปราถนา

ความสำคัญวันลอยกระทง ภาพวันลอยกระทงแบบการ์ตูน บทความวันลอยกระทง
คุณค่า

           ประเพณี ลอยกระทง นับเป็นประเพณีที่มีคุณค่าต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนา กล่าวคือ
           ๑. คุณค่าต่อครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การประดิษฐ์กระทง แล้วนำไปลอยน้ำเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อน้ำที่ให้คุณประโยชน์แก่เรา บางท้องถิ่นจะลอยเพื่อเป็นการแสดงความระลึกถึงบรรพบุรุษอีกด้วย
           ๒. คุณค่าต่อชุมชน ทำให้เกิดควงามสมัครสมนาสามัคคีในชุมชน เช่น ร่วมกันคิดแประดิษฐ์กระทง เป็นการส่งเสริมและสืบทอดศิลปกรรมด้านช่างฝีมืออีกด้วย ทั้งยังเป็นการพบปะสังสรรค์ สนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจร่วมกัน
           ๓. คุณค่าต่อสังคม ทำให้ความเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการช่วยกันรักษาความสะอาดแม่น้ำ ลำคลอง โดยการขุด ลอก เก็บขยะในแม่น้ำลำคลองให้สะอาด และไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไปในแม่น้ำลำคลองอีกด้วย
           ๔. คุณค่าต่อศาสนา ช่วยกันบำรุงศาสนา เช่น ทางภาคเหนือ ลอยกระทงเพื่อเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า และยังจัดให้มีการทำบุญให้ทาน การปฏิบัติธรรม และฟังเทศน์ด้วย

ปัญหาและข้อเสนอแนะ
ปัญหาในการ ลอยกระทง
ความสำคัญวันลอยกระทง ภาพวันลอยกระทงแบบการ์ตูน บทความวันลอยกระทง
           ๑. การจุดดอกไม้ไฟ ประทัด หรือพลุ โดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่น จุดเล่นกันอย่างคึกคะนองไม่เป็นที่เป็นทาง ไม่ระมัดระวัง จุดเล่นตามถนนหนทาง โดยไม่คำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดแก่ผู้คนและยวดยานที่สัญจรไปมา และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้บ้านเรือนได้
           ๒. การประกวดนางนพมาศ ให้ความสำคัญมากเกินไป ถือเป็นกิจกรรมหลักของประเพณี ซึ่งที่แท้จริงแล้วไม่ใช่แก่นแท้ของประเพณีเลย เป็นเพียงกิจกรรมที่เสริมขึ้นมาภายหลัง เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน และเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว
           ๓. การประดิษฐ์กระทง สมัยก่อนใช้วัสดุพื้นบ้านหรือตามธรรมชาติ เช่น ทำจากใบตอง หยวกกล้วย ซึ่งเป็นวัสดุย่อยสลายง่าย แต่ปัจจุบันกลับนิยมใช้วัสดุโฟม ซึ่งย่อยสลายยาก ทำให้แม่น้ำลำคลองสกปรก เน่าเหม็น เกิดมลภาวะเป็นพิษ
ข้อเสนอแนะ

           เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจถึงความเป็นมา ความหมาย คุณค่า ความสำคัญของประเพณีลอยกระทง ตลอดจนจัดกิจกรรมได้เหมาะสมมีประสิทธิภาพ
           ๑. รณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ความเข้าใจถึงความเป็นมา ความหมาย คุณค่า ความสำคัญของประเพณีลอยกระทง
           ๒. กิจกรรมที่พึงปฏิบัติ

ความสำคัญวันลอยกระทง ภาพวันลอยกระทงแบบการ์ตูน บทความวันลอยกระทง

           ๒.๑ ทำความสะอาดแม่น้ำลำคลอง ทั้งก่อนและเสร็จงานลอยกระทง เช่น การขุด ลอก เก็บขยะ ในแม่น้ำลำคลอง
           ๒.๒ ทำบุญให้ทาน การปฏิบัติธรรม การฟังเทศน์ ตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
           ๒.๓ ประดิษฐ์กระทงใหญ่ กระทงเล็ก โดยใช้วัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายง่าย
           ๒.๔ การจัดขบวนแห่กระทง
           ๒.๕ การจัดกิจกรรมการประกวดต่าง ๆ เช่น การประกวดกระทง ประกวดโคมลอย ประกวดนางนพมาศตามความนิยมในสังคมนั้น ไม่ควรให้ความสำคัญมากเกินไป
           ๒.๖ การนำกระทงไปลอยในแม่น้ำลำคลอง
           ๒.๗ การปล่อยโคมลอย ตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
           ๒.๘ การจุดดอกไม้ไฟ หรือ พลุ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองนั้น ควรจุดอย่างระมัดระวัง จุดในสถานที่ที่เหมาะสมหรือที่ที่จัดไว้เฉพาะ ซึ่งได้รับอนุญาตแล้ว ไม่ควรจุดในที่ชุมนุมชน หรือตามถนนหนทางที่มีประชาชนและยวดยานสัญจรไปมา เพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและทรัพย์สินได้
           ๒.๙ การละเล่นรื่นเริงตามความเหมาะสมในท้องถิ่นนั้น ๆ


แหล่งที่มา : culture.go.th

อัพเดทล่าสุด