เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ 2554 ความเป็นมาวันภาษาไทยแห่งชาติ ความหมายของวันภาษาไทยแห่งชาติ


826 ผู้ชม


เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ 2554 ความเป็นมาวันภาษาไทยแห่งชาติ ความหมายของวันภาษาไทยแห่งชาติ

 

 


ความเป็นมาของ "วันภาษาไทยแห่งชาติ"


เมื่อวานนี้ นอกจากจะเป็นวันอังคารที่แสนจะธรรมดาแล้ว ยังเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งด้วยนะคะ นั่นก็คือ "วันภาษาไทยแห่งชาติ" ค่ะ ภาษาไทยเป็นภาษาที่ไพเราะ สละสลวย และน่าภาคภูมิใจมากที่สุด วันนี้ พี่ปาล์มมีสาระดีๆ เกี่ยวกับ "วันภาษาไทยแห่งชาติ" มาฝากค่ะ

ทำไมต้องกำหนดวันที่ 29 กรฎาคม เป็น "วันภาษาไทยแห่งชาติ"


วันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ทรงเปิดการอภิปรายในหัวข้อ ปัญหาการใช้คำไทย” ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปรายอย่างดีเยี่ยม แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทย เป็นที่ประทับใจผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว

และในโอกาสต่อๆ มาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส เช่น ได้พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับปัญหาในการใช้ ภาษาไทย ของประชาชนชาวไทยในปัจจุบัน ในโอกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการและองค์กรเอกชนเข้าเฝ้าถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๓๕

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ำให้ประชาชนชาวไทยตระหนักถึงความสำคัญของ ภาษาไทย และพระราชทานแนวความคิดในการอนุรักษ์ภาษาไทยในโอกาสต่างๆ อยู่เสมอ

ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ คือ เป็นที่ประจักษ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็น ภาษาไทย ที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าเป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่สุดมิได้แก่วงการ

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่  ได้มีพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งว่า “ ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์แน่นแฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น และไม่มีสิ่งไรที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันแน่นอนยิ่งไปกว่าพูดภาษาเดียวกัน  คนไทยเราแม้จะต่างเผ่าพันธุ์ ต่างเชื้อชาติ ต่างท้องถิ่นหรือต่างศาสนา แต่เมื่อใดก็ตามที่เราต่างพูด “ ภาษาไทย ” ทุกคนย่อมรู้สึกได้ทันทีถึงความเป็นพวกเดียวกัน ความเป็นชาติเดียวกัน ดังนั้น “ ภาษา ” จึงเป็นสิ่งที่จะร้อยรัด และ ผูกพันคนในชาติให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ยิ่งหากอาศัยอยู่ในต่างประเทศ หรือแม้แต่ไปเที่ยว ถ้าได้ยินใครก็ตามพูด “ ภาษาไทย ” ขึ้นมา เชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะเกิดความรู้สึกยินดีว่าเจอพวกเดียวกันแล้ว เจอคนไทยด้วยกันแล้ว

การที่ “ ภาษา ” เป็นสิ่งสำคัญก็เพราะว่า ภาษาเป็นสื่อเสียงและสื่อสัญลักษณ์ของมนุษยชาติที่เกิดจากการสร้างสรรค์ และสั่งสมของบรรพบุรุษสืบทอดมาสู่ลูกหลาน เป็นเครื่องมือที่ทำให้คนในชาตินั้นๆติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ และเป็นเหตุให้วัฒนธรรมในด้านอื่นๆเจริญขึ้นด้วย หากไม่มี “ ภาษา ” มนุษย์ก็คงไม่สามารถสืบทอดวิชาการความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง และไม่อาจพัฒนาหรือรักษา “ ความเป็นชาติ ” ของตนไว้ได้ “ ภาษา ” จึงเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่ายิ่งของแต่ละชาติ

พี่ปาล์มเป็นคนหนึ่งที่รักและภูมิใจในภาษาไทยของเรามากๆ และก็อยากจะให้น้องๆ ทุกคน ร่วมมือกันอนุรักษ์ ภาษาไทย ของเราด้วยนะคะ เพื่อที่เราจะได้มีภาษาประจำชาติที่น่าภูมิใจตลอดไปค่ะ

 


แหล่งที่มา : dek-d.com

อัพเดทล่าสุด