วันภาษาไทยแห่งชาติ กลอนวันภาษาไทยแห่งชาติ 2555 คํากล่าวเปิดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ


9,636 ผู้ชม


วันภาษาไทยแห่งชาติ กลอนวันภาษาไทยแห่งชาติ 2555 คํากล่าวเปิดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ

 

วันภาษาไทยแห่งชาติ 2555  ประวัติ วันภาษาไทยแห่งชาติ  กลอน วันภาษาไทย

ประวัติวันภาษาไทยแห่งชาติ วันภาษาไทยแห่งชาติ 2555 วันที่ 29 กรกฎาคม นี้นะครับน้องๆ หลายๆคนก็เขียนเรียงความวันภาษาไทยส่งครู วันนี้เราเลยนำประวัติ วันภาษาไทยแห่งชาติ มาให้อ่านกันครับ เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าความเป็นมาอย่างไร นั่นเองครับ

รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันดังกล่าวเป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา

วันภาษาไทยแห่งชาติ คือ วันที่รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดช ในด้านภาษาไทย และเพื่อกระตุ้น ให้ชาวไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย และร่วมใจกันใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเพื่ออนุรักษ์ภาษาไทยให้เป็นเอกลักษณ์อยู่ คู่ชาติไทยต่อไป

ความเป็นมา วันภาษาไทยแห่งชาติ

พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการ ของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2505 พระองค์ได้แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความห่วงใยในการใช้ภาษาไทยและบรรยากาศใน การอภิปรายครั้งนี้ได้สร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมการประชุมเป็น อย่างมาก

ใน วโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพ.ศ.2542 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ตามการเสนอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย

ประเทศ ไทยเป็นชาติที่มีภาษาพูดและภาษาเขียน ตัวอักษรไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ และกษัตริย์ทุกพระองค์เล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ดังนั้นคนไทยจึงควรภาคภูมิใจและรู้จักการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องถึงแม้ วัฒนธรรมตะวันตก และเทคโนโลยีจะเข้ามามีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อภาษาไทย

ดังนั้น การมี วันภาษาไทยแห่ชาติ จะช่วยให้เกิดการรณรงค์ให้รู้จักคุณค่า และมีการยกระดับภาษาไทยให้เป็นเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของ วันภาษาไทยแห่งชาติ มีดังนี้

๑. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย

๒. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
๓. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณ ค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติ ไทยตลอดไป
๔. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้สัมฤทธิ ผลยิ่งขึ้น
๕. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ
ซึ่งพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น มีใจความว่า
“…ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้
ฉะนั้นจึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาไทย ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ…” นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยะภาพในการใช้ภาษาไทย ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่ สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่า เป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เป็นต้น



แหล่งที่มา : jamjung.com

อัพเดทล่าสุด