โรคผิวหนังแข็ง รักษาโรคผิวหนังแข็ง สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังแข็ง


718 ผู้ชม


โรคผิวหนังแข็ง รักษาโรคผิวหนังแข็ง สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังแข็ง

 

 

โรคผิวหนังแข็ง...

 
 


          โรคผิวหนัง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน อาจเกิดเฉพาะที่ หรือลามไปยังบริเวณอื่น... โรคผิวหนังแข็ง เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความผิดปกติทางพันธุกรรม... 
1. โรคผิวหนังแข็ง คืออะไร? โรคผิวหนังแข็ง เป็นโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งที่มีอาการและอาการแสดงเด่นออกมาทางผิวหนัง กล่าวคือผิวหนังจะค่อยๆ มีการตึงและแข็งตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในบางรายอาจมีความผิดปกติของอวัยวะภายในร่วมด้วยได้ อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการมีใยพังผืดไปสะสมตามเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย 2. สาเหตุของ โรคผิวหนังแข็ง คืออะไร? สาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่าความผิดปกติทางระบบอิมมูนของร่างกาย นอกจากนี้ยังพบว่ามีความผิดปกติทางพันธุกรรมเกี่ยวข้องด้วย 3. ผู้ใดบ้างที่มีโอกาสเกิดโรคนี้? โรคนี้พบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุที่พบอยู่ในช่วงประมาณ 30-40 ปี 4. ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็งจะมีอาการอย่างไรบ้าง? ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็งจะเริ่มมีอาการนำ คือ อาการที่ปลายมือและปลายเท้าเปลี่ยนเป็นสีขาวซีดและม่วงคลํ้าเวลาโดนอากาศเย็น แต่เมื่ออากาศอุ่นขึ้นอาการเหล่านี้จะหายไป เมื่อเป็นนานๆ ผิวหนังที่บริเวณหลังมือและเท้าจะเริ่มบวมและตึงแข็ง ในบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดตามข้อต่างๆ ร่วมด้วยได้ ในรายที่มีอวัยวะภายในร่วมด้วยจะมีอาการเหนื่อยหอบง่ายจากการที่ปอดมีใยพังผืดจับ กลืนอาหารลำ บาก ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก หรือท้องเสีย ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีแรงดันเลือดในเส้นเลือดแดงของปอดสูงขึ้น เป็นผลให้หัวใจล้มเหลวได้ 5. แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร? แพทย์จะอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย เป็นหลัก ในบางรายอาจจำ เป็นต้องใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการร่วมดัวยเพื่อบ่งบอกถึงความรุนแรงของโรคและวิธีการรักษา 6. การรักษาโรคผิวหนังแข็ง ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใดๆ ที่สามารถทำ ให้โรคนี้หายขาดเป็นปกติได้ หากไม่ทำ การรักษาโรคอาจลุกลามมากทำ ให้ผิวหนังตึงแข็งทั่วตัว อ้าปากไม่ได้ ทานอาหารไม่ได้ เป็นต้น การรักษาจึงเป็นการช่วยบรรเทาความรุนแรงของโรคหรือป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปอย่างรวดเร็ว การรักษาส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาตามอาการได้แก่ การให้ยาขยายเส้นเลือดและยาป้องกันเกร็ดเลือดจับตัว เป็นการรักษาอาการมือซีดเขียว การให้ยาทาผิวหนัง การให้ยาช่วยการเคลื่อนไหวของลำ ไส้ในรายที่มีการกลืนลำ บาก ในรายที่มีกล้ามเนื้ออักเสบอย่างรุนแรงอาจจำ เป็นต้องใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ 7. ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง? ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำ แนะนำ ของแพทย์ ติดตามการรักษาและรับประทานยาอย่างสมํ่าเสมอ ควรหลีกเลี่ยงอากาศเย็นเนื่องจากอากาศเย็นสามารถกระตุ้นให้โรคอาการรุนแรงขึ้นได้ ควรใส่ถุงมือและถุงเท้าเวลาอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็น 


แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด