เจ้าของธุรกิจสตรีมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในระบบเศรษฐกิจของทุกๆ ประเทศ ศักยภาพของการเป็นเจ้าของกิจการที่ถูกซ่อนเร้นของสตรีค่อยๆ เปลี่ยนแปลงทีละน้อยๆ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของบทบาทและสถานภาพทางเศรษฐกิจในสังคม ทักษะ ความรู้และความสามารถในการปรับตัวในธุรกิจเป็นเหตุผลหลักสำหรับสตรีในการปรากฎตัวในโลกธุรกิจ "ผู้ประกอบการสตรี" เป็นบุคคลที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางบทบาทและมีอิสระภาพทั้งส่วนบุคคลและทางการเศรษฐกิจ ความต้องการอย่างแรงกล้านับเป็นผลดี ซึ่งไม่ทำลายคุณภาพของการเป็นเจ้าของกิจการสตรี ผู้ซึ่งมีความสามารถในการทำงานที่มีคุณค่าทั้งสองด้าน คือทั้งครอบครัวและการดำเนินชีวิตทางสังคม กับการปรากฎตัวต่อสื่อ สตรีต่างตระหนักดีถึงคุณสถานะของตน ความเหมาะสมและสถานะการทำงาน เราจะพบว่าพวกเธอปรากฎอยู่ในทุกๆ เส้นทางของธุรกิจตั้งแต่ผ้าอ้อมไปจนถึงสายไฟฟ้าแรงสูง
ความท้าทายและโอกาสถูกหยิบยื่นสู่สตรีในยุคดิจิตอลที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จากผู้แสวงหางานได้กลายมาเป็นผู้สร้างงาน พวกเธอโด่งดังในฐานะนักออกแบบเสื้อผ้า นักออกแบบภายใน ผู้รายงานข่าว นักประชาสัมพันธ์ โรงงานเสื้อผ้า และยังคงแสวงหาเส้นทางใหม่ๆ ในพื้นที่ทางเศรษฐกิจ ในอินเดียถึงแม้ว่าสตรีจะเป็นคนส่วนใหญ่ของประชากรทั้งประเทศ แต่ในโลกผู้ประกอบการยังคงมีบุรุษเป็นคนครอบครอง สตรีในประเทศที่ก้าวหน้าจะได้รับการยอมรับและมีชื่อเสียงในโลกธุรกิจ แต่สำหรับในอินเดียเจ้าของธุรกิจสตรีกำลังเผชิญกับจำกัดที่สำคัญต่างๆ เช่น
1. ขาดความเชื่อมั่น : โดยทั่วไปสตรีจะขาดความน่าเชื่อถือในเรื่องความเข้มแข็งและความสามารถ สมาชิกในครอบครัวและสังคมลังเลที่จะยืนเคียงข้างการเติบโตในฐานะเจ้าของธุรกิจ ในระดับหนึ่งสถานการณ์เช่นนี้แสดงการเปลี่ยนแปลงของสตรีชาวอินเดียและยังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายเพื่อเพิ่มอัตราการเติบโตของการเป็นผู้ประกอบการในปัจจุบัน
2. อุปสรรคจากสังคมและวัฒนธรรม : ครอบครัวของสตรีและภาระหน้าที่ส่วนตัวในบางครั้งจะเป็นอุปสรรคต่อการประสบความสำเร็จในอาชีพธุรกิจ มีสตรีเพียงบางคนที่สามารถจัดการทั้งภาระทางบ้านและธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการอุทิศเวลาอย่างเพียงพอเพื่อแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อบทบาทหลัก
3. ความเสี่ยงด้านการตลาด : การแข่งขันอย่างดุเดือดในตลาดและความไม่สะดวกในการติดต่องานของสตรีส่งผลให้ผู้ประกอบการสตรีต้องใช้พ่อค้าคนกลางซึ่งมีความจำเป็นมาก นักธุรกิจสตรีจำนวนมากพบว่ายากที่จะครอบครองตลาดและสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่นิยม พวกเธอยังไม่ทราบถึงภาวะการตลาดที่เปลี่ยนแปลงและประสิทธิภาพของการใช้ประโยชน์จากบริการของการสื่อสารและอินเตอร์เน็ต
4. ปัจจัยด้านแรงจูงใจ : แรงจูงใจในตนเองสามารถส่งผลต่อความสำเร็จทางธุรกิจ ทัศนคติต่อการจัดการปัญหาและพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสังคมธุรกิจมีผลมาจากการแบกรับภาระรับผิดชอบต่อสังคม ปัจจัยอื่นๆ อาทิ การสนับสนุนจากครอบครัว นโยบายของภาครัฐ การช่วยเหลือทางการเงินจากภาครัฐและสถาบันทางการเงินภาคเอกชน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของสตรีต่อการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ
5. ความรู้ด้านการบริหารจัดการทางธุรกิจ : สตรีจำเป็นต้องได้รับความรู้และการอบรมอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มพูนทักษะและความรู้ในทุกๆ องค์ประกอบของการจัดการทางธุรกิจ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อสตรีในการตัดสินใจอย่างเป็นระบบและพัฒนาระบบธุรกิจที่ดี
6. ความตระหนักรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือทางธุรกิจ : มีสถาบันหลากหลายแห่งในภาคการเงินที่พร้อมเสนอให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในรูปแบบของการกระตุ้น การให้กู้ยืม แผนการเงินและอื่นๆ แม้กระนั้นเจ้าของกิจการสตรีแทบจะไม่ทราบถึงการช่วยเหลือที่สถาบันต่างๆ จัดเตรียมไว้ให้ แต่ความตั้งใจในการสนับสนุนต่อผู้ประกอบการสตรีมักเข้าไม่ถึงกลุ่มผู้ประกอบการในชนบทและพื้นที่ห่างไกล
7. การเข้าโปรแกรมฝึกอบรม : โปรแกรมการฝึกอบรมและสัมมนาเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ประกอบกิจการทุกประเภทเป็นประโยชน์ในการเข้าสู่สังคมและความสะดวกในการติดต่อรับสวัสดิการตามช่วงเวลา ทักษะและวัตถุประสงค์ของโปรแกรมการอบรม โปรแแกรมดังกล่าวเป็นไปได้และมีประโยน์ต่อผู้ประกอบการในชนบทและยังอายุน้อยที่ต้องการจัดตั้งธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางด้วยตัวของเขาเอง
8. การขอรับประโยชน์จากทรัพยากร : สตรีมักไม่แน่ใจที่จะค้นหาช่องทางจัดหาแหล่งการเงินและพื้นที่ทางการตลาดที่ต้องการ แม้จะมีการกระจายอย่างรวดเร็วของข่าวสาร สมาคมและสถาบัน รวมทั้งแผนงานต่างๆ จากภาครัฐ สตรีที่กล้าเริ่มกิจการใหม่ๆ และเต็มไปด้วยพลังและความคิดสร้างสรรค์จะนำทรัพยากรไปใช้อย่างเหมาะสมในรูปแบบของเงินทุนสำรอง ทรัพยากรบุคคล หรืออาสาสมัครทางธุรกิจ
ระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมจะช่วยส่งเสริมการบริหารจัดการธุรกิจของพวกเธอมากกว่าจะขึ้นอยู่กับเงินเดือนค่าจ้าง
ความสามารถพิเศษที่ไม่ได้ถูกสำรวจของสตรีอายุน้อยที่สามารถระบุได้ การอบรมและนำมาใช้ได้กับหลากหลายอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตในภาคอุตสาหกรรม
สภาวะแวดล้อมที่น่าพอใจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสตรีในการตอกย้ำคุณค่าของการเป็นผู้ประกอบการและเชื่อมโยงสู่การค้าขายแลกเปลี่ยนในธุรกิจ
โอกาสทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นสำหรับประประกอบการสตรีในไปปฏิบัติในปัจจุบัน คือ
- เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- เทคโนโลยีชีวภาพ
- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
- การบริหารจัดการกิจกรรมงานแสดงสินค้า
- อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- การสื่อสารโทรคมนาคม
- วัตถุดิบพลาสติก
- น้ำแร่
- เลี้ยงหม่อนทำผ้าไหม
- การปลูกพืชไม้ดอก
- สมุนไพรและการดูแลสุขภาพ
- อาหาร ผลไม้ และกระบวนการเกี่ยวกับผัก
ศักยภาพของผู้ประกอบการสตรีเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและอุปสรรคที่เป็นคอขวดจากการเติบโตก็จะถูกกำจัดให้หมดไปด้วยความร่วมกันทางธุรกิจ นอกเหนือจากโครงการอบรมต่างๆ จดหมายแจ้งข่าวสาร ที่ปรึกษาพี่เลี้ยง งานแสดงออกร้านและงานแสดงสินค้าซึ่งจะเป็นแหล่งสำหรับผู้ประกอบการได้พัฒนาตนเอง ผลลัพธ์ที่คาดหวังของธุรกิจคือความสำเร็จอย่างรวดเร็วและโอกาศสร้างกำไรทางธุรกิจ การส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีช่วยย่นระยะเวลาการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หากเราขจัดทุกรูปแบบของการแบ่งแยกทางเพศ "สตรี" จะเข้ามาเป็นผู้ประกอบการร่วมบุรุษได้
ที่มา https://www.sara-dd.com/index.php?option=com_content&view=article&id=337:women-as-entrepreneurs-in-india&catid=40:marketing-article&Itemid=71